สุทินนัง วะตะ เม ทานัง อาสะวักขะยาวะหัง โหตุ

 
ใหญ่ราชบุรี
วันที่  5 พ.ย. 2558
หมายเลข  27183
อ่าน  94,770

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

๑. ขอทราบ คำแปล การใช้ ที่มา ของ “สุทินนัง วะตะ เม ทานัง อาสะวักขะยาวะหัง โหตุ”

๒. ขอทราบ ลักษณะที่เป็นกุศลจิต ขณะที่ใช้ข้อความดังกล่าว เป็นอย่างไร

ขอบพระคุณที่อนุเคราะห์ให้ความรู้ความเข้าใจค่ะ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
khampan.a
วันที่ 5 พ.ย. 2558

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

-สุทินนัง วะตะ เม ทานัง อาสะวักขะยาวะหัง โหตุ (แปลเป็นไทยได้ว่า ทาน อันข้าพเจ้าให้ดีแล้วหนอ ขอทานของข้าพเจ้า จงเป็นสภาพที่นำมาซึ่งความสิ้นไปแห่งอาสวกิเลส) จริงๆ แล้วเป็นคำที่นำมาต่อกัน เนื่องจากมาจากต่างที่กัน แต่ก็สามารถ เทียบเคียงได้จากอรรถกถาอังคุตตรนิกาย เอกนิบาต ที่แสดงถึงความเป็นผู้ตั้งจิตไว้ชอบในการเจริญกุศล ที่ปรารถนาเพื่อออกจากวัฏฏะ จึงมีการเจริญกุศลประการต่างๆ น้อมไปเพื่อการออกจากวัฏฏะ ก็เป็นไปเพื่อการสิ้นอาสวกิเลสได้ เพราะเป็นไปเพื่อการกำจัดขัดเกลาละคลายกิเลส หรือ แม้กระทั่งปฏิปทาความประพฤติเป็นไปของพระโพธิสัตว์ ที่ปรากฏในชาดกต่างๆ ที่พระองค์ได้ให้ทานเพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่นแล้ว ก็เกิดปีติโสมนัส ว่า ทานของเรา อันเราให้ดีแล้วหนอ (ตรงกับภาษาบาลีว่า สุทินฺนํ วต เม ทานํ) เป็นต้น

ข้อความจากอรรถกถาที่กล่าวถึงในตอนต้น คือ

[เล่มที่ 32] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ ๙๘

"เมื่อบุคคลปรารถนาวิวัฏฏะอย่างนี้ว่า ขอทานของเรานี้ จงนำมาซึ่งความสิ้นอาสวะ ชื่อว่าตั้งไว้ชอบด้วยอำนาจวิวัฏฏะ ย่อมสามารถให้ทั้งพระอรหัต ทั้งปัจเจกโพธิญาณทีเดียว"

[เล่มที่ 64] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ ๗๒๓

พระมหาสัตว์ ทรงบำเพ็ญบุตรทาน (ให้บุตรเป็นทาน) แล้ว ยังพระปีติให้เกิดขึ้นว่า โอ ทานของเรา เราได้ให้ดีแล้วหนอ แล้วทอดพระเนตรดูพระกุมารกุมารีประทับยืนอยู่.


-ประโยชน์คือความเข้าใจธรรมตามความเป็นจริง แม้จะไม่ได้กล่าวคำอย่างนั้น แต่อยู่ที่สภาพจิตของผู้ที่เจริญกุศลเป็นสำคัญอย่างเช่นการให้ทาน ก็เพื่อประโยชน์คือการขัดเกลากิเลสของตนเอง ขัดเกลาความตระหนี่ ขัดเกลาความติดข้อง น้อมไปเพื่อสิ้นกิเลส ขณะนั้น เป็นทานกุศลที่ประกอบด้วยปัญญา และเป็นทานบารมีด้วย เพราะเป็นไปพร้อมปัญญาที่เข้าใจถูกเห็นถูก ซึ่งตรงตามพระธรรมคำสอนที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง ว่า กุศลทั้งหมด เป็นไปเพื่อขัดเกลากิเลส ไม่ใช่เพื่อได้ หรือติดข้องต้องการผล แต่เป็นไปเพื่อประโยชน์ คือ การสละกิเลสของตนเองอย่างแท้จริง เพราะฉะนั้น จึงไม่ได้สำคัญที่คำ แต่สำคัญอยู่ที่สภาพจิต, ในทางตรงกันข้าม ถ้าไม่มีความเข้าใจอะไรเลย แต่ก็กล่าวคำดังกล่าวนั้น ก็ย่อมไม่ตรงตามความเป็นจริง มีแต่ความต้องการผล ก็เป็นการเพิ่มกิเลส เพิ่มโลภะและความไม่รู้ให้มากขึ้น ไม่ได้เป็นไปเพื่อขัดเกลากิเลสเลยแม้แต่น้อย ครับ

ขอเชิญคลิกอ่านข้อความเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ

บารมีในชีวิตประจำวัน [ทานบารมี]

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
paderm
วันที่ 6 พ.ย. 2558

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
Guest
วันที่ 7 พ.ย. 2558

กราบขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
tanrat
วันที่ 7 พ.ย. 2558

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
wannee.s
วันที่ 7 พ.ย. 2558

ขณะที่ให้ทาน รักษาศีล การฟังธรรม อบรมปัญญา กุศลที่เจริญตั้งความปรารถนาเพื่อเป็นปัจจัยให้สิ้นกิเลส เป็นกุศลที่ประกอบด้วยปัญญาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
peem
วันที่ 7 พ.ย. 2558

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
nopwong
วันที่ 8 พ.ย. 2558

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
ํํญาณินทร์
วันที่ 23 ก.พ. 2559

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
chatchai.k
วันที่ 23 ต.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ