หลงทำกาละ

 
ใหญ่ราชบุรี
วันที่  12 พ.ย. 2558
หมายเลข  27203
อ่าน  5,694

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

หลงทำกาละ ทำกาละ คือ ตาย หรือ มรณะ หรือ ถึงแก่ความตาย หรือ สิ้นชีวิต หรือ จุติจิตดับ หรือ ฯ ใช่ไหมคะ ขอทราบคำบาลี ของ คำ "หลง" "ทำกาละ" "หลงทำกาละ" หลง คือ ไม่มีสติสัมปชัญญะ ใช่ไหมคะ ตรงข้ามกับ"หลงทำกาละ" ใช้คำอะไรคะ หรือเพียงเติมคำ เป็น "ไม่หลงทำกาละ" ตายอย่างไร จึงเป็น "หลงไม่หลง"

ขอบพระคุณที่อนุเคราะห์ให้ความรู้ความเข้าใจค่ะ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 12 พ.ย. 2558

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ผู้หลงทำกาละ คือ หลงตาย หมายถึง เวลาใกล้ตายไม่สามารถยึดถือความดีเป็นที่พึ่งได้ตายอย่างไม่สงบ มีนิมิตที่ไม่ดีมาปรากฏ ดังตัวอย่างในอรรถกถาที่ยกมา

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 465

บทว่า สมฺมูฬโห กาลํ กโรติ ความว่า ก็การยึดถือทุศีลกรรมประพฤติแล้ว ย่อมปรากฏแก่เธอผู้นอนบนเตียงมรณะ เธอลืมตาขึ้นเห็นโลกนี้หลับตาก็เห็นโลก หน้า อบาย ๔ ย่อมปรากฏแก่เธอ เธอเป็นดุจถูกหอก ๑๐๐ เล่ม ประหารที่ศีรษะ เขาส่งเสียงร้องมาว่า ท่านทั้งหลายช่วยห้ามทีท่านทั้งหลายช่วยห้าม ที ก็ตาย ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า สมฺมูฬฺโห กาลกโรติ

จบอรรถกถาสีลสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 770

บทว่า สมฺมุฬฺโห กาลํ กโรติ ความว่า จริงอยู่ เมื่อบุคคลผู้ทุศีลนอนอยู่บนเตียงเป็นที่ตาย ฐานะที่ตนสมาทานกรรม คือ ความเป็นผู้ทุศีลย่อมมาปรากฏ เขาลืมตาเห็นโลกนี้ หลับตาเห็นโลกหน้า อบาย ๔ ย่อมปรากฏแก่เขาตามสมควรแก่กรรม ย่อมเป็นเหมือนถูกทิ่มแทงด้วยหอก ๑๐๐ เล่ม และเหมือนถูกลวกด้วยเปลวไฟ เขาพลางร้องครวญครางว่า ขอเถอะ ขอทีเถอะ ดังนี้ จนตาย. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า หลงทำกาละดังนี้เป็นต้น.

ขออนุโมทนา
 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
ปาริชาตะ
วันที่ 12 พ.ย. 2558

อนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
khampan.a
วันที่ 12 พ.ย. 2558

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

หลงกระทำกาละ คือ ตายอย่างไม่มีที่พึ่ง สิ่งที่ควรจะได้พิจารณา ก็คือ ชีวิตของแต่ละบุคคลที่เกิดมาแล้วล้วนมีความตายเป็นเบื้องหน้าด้วยกันทั้งนั้น เมื่อมีชาติ คือ มีการเกิดแล้ว ชราย่อมติดตาม พยาธิก็ครอบงำและท้ายที่สุดก็ถูกมรณะคือความตายห้ำหั่น ทำให้เคลื่อนจากความเป็นบุคคลนี้ไม่สามารถกลับมาเป็นบุคคลนี้ได้อีก ขณะที่ตาย เป็นจิตขณะสุดท้ายของภพนี้ชาตินี้ที่เกิดขึ้นทำกิจเคลื่อนจากความเป็นบุคคลนี้ทันทีแล้วดับไป
ขณะที่ตาย ไม่สำคัญ ไม่ใช่เรื่องใหญ่ แต่สิ่งที่สำคัญอยู่ที่ก่อนจะตาย (คือ ก่อนจุติจิตเกิดขึ้น) ต่างหากว่า จะเป็นอย่างไร กุศลจิต หรือ อกุศลเกิดก่อนตาย นี่คือสิ่งที่ควรจะได้พิจารณาจริงๆ

เพราะฉะนั้นแล้ว เมื่อยังมีชีวิตอยู่ ควรอย่างยิ่ง ที่จะเป็นผู้ไม่ประมาท คือ ไม่ประมาทกำลังของอกุศลและไม่ประมาทในการเจริญประการต่างๆ ซึ่งรวมถึงการอบรมเจริญปัญญาเพื่อความเข้าใจถูก เห็นถูกยิ่งๆ ขึ้นไปด้วย เพราะเมื่อวาระสุดท้ายของชีวิตในภพนี้ชาตินี้มาถึง ต้องบ่ายหน้าไปสู่ความตาย ไม่มีใครสามารถที่จะขอร้อง หรือ ผัดเพี้ยนได้เลย ดังนั้นจึงควรเจริญกุศลทันที เพราะไม่รู้ว่าความตายจะมาถึงเมื่อใด ซึ่งถ้าเป็นอย่างนี้ได้ คือ เป็นผู้ไม่ประมาทอยู่เสมอ โอกาสที่กุศลจิตจะเกิด ก็ย่อมจะเกิดได้แม้ก่อนตาย แต่สำหรับผู้ที่ประมาทมัวเมาในชีวิต ก็จะเป็นผู้หลงกระทำกาละ (ตาย) ซึ่งก็คือตายอย่างไม่มีที่พึ่ง นั่นเอง ครับ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
tanrat
วันที่ 13 พ.ย. 2558

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
ํํญาณินทร์
วันที่ 24 ก.พ. 2559

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
papon
วันที่ 3 ก.พ. 2561

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับน

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
chatchai.k
วันที่ 7 มิ.ย. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
talaykwang
วันที่ 25 มิ.ย. 2563

กราบขอบพระคุณและขออนุโมทนาในกุศลค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
Jarunee.A
วันที่ 25 ก.ค. 2566

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ