ถ้าเข้าใจแล้ว ไม่มีอะไรปิดกั้นปัญญาได้

 
kanchana.c
วันที่  6 ม.ค. 2559
หมายเลข  27354
อ่าน  1,976

สนทนาธรรมที่ไซ่ง่อน 5/1/2559

หลังจากสนทนาธรรมติดต่อกัน 3 วัน ตั้งแต่ 1 ม.ค. 59 ถึง 3 ม.ค. 59 ทั้งเช้าบ่ายแล้ว ลูกหลานเวียดนามก็จัดให้ไปพักผ่อนนั่งเรือชมบรรยายกาศของสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงที่น่ารื่นรมย์ น้ำใสสะอาด ลมพัดเย็น มองไปทางไหนก็เขียวขจีด้วยต้นจากและมะพร้าว ปากแม่น้ำกว้างใหญ่มาก เป็นสายย่อยของแม่โขงที่มีต้นกำเนิดที่จีน ไหลผ่านพม่า ไทย ลาว และกัมพูชา 6 สาย และเป็นสายย่อยของแม่น้ำในเวียดนามเองอีก 3 สาย รวมเป็นแม่น้ำสายย่อยที่ไหลลงทะเล 9 สาย มองจากอากาศเหมือนมังกร 9 ตัว ทำให้พื้นที่ปากแม่น้ำอุดมสมบูรณ์มาก ไปคราวนี้ถนนหนทางสร้างใหม่ มีทางด่วน ตึกรามบ้านช่องใหญ่โตเกิดขึ้นมากมาย

เดินทางจากโรงแรมไปท่าเรือใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง แล้วลงจากรถบัสนั่งเรือไปทานอาหารกลางวันที่เกาะ หลังอาหารกลางวันให้เลือกว่า จะพักผ่อนนอนกลางวันที่ร้านอาหารที่ทำเป็นโฮมสเตย์ด้วย หรือจะลงเรือพายชมบรรยายกาศหมู่บ้านไปตามคลองเล็กๆ คงเดาถูกว่า จะเลือกอย่างไหน เลือกนอนกลางวัน เพราะเคยนั่งเรือพายมาแล้ว 2 ครั้ง แม้จะมาเกาะใหม่ แต่คิดว่าคงไม่ต่างกันนัก คราวนี้โลภะไม่ย้ายที่ แต่เป็นไปตามการสะสมที่ชอบนอนพักมากกว่า

ระหว่างนั่งเรือไปและกลับ ท่านอาจารย์สนทนาธรรมกับชาวเวียดนามตลอดทาง เมื่อมีผู้ถามว่า เหนื่อยไหม ท่านตอบว่า ทำไมจะเหนื่อย อยู่ที่ไหนก็ต้องนั่ง ต้องเดิน ต้องยืน ต้องพูดเหมือนกัน ยิ่งพูดธรรมมีคนสนใจฟังเข้าใจ ยิ่งไม่เหนื่อย ท่านบอกว่าเวลาเหลือน้อย ควรทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ด้วยการทำให้คนอื่นเข้าใจความจริงดีกว่าจะมาคิดเรื่องเหนื่อยหรือไม่

ท่านเป็นตัวอย่างของผู้อุทิศตนเพื่อเผยแพร่พระธรรมอย่างแท้จริง ท่านเคยพูดว่า ผู้ที่ศึกษาธรรมเข้าใจแล้ว โดยเฉพาะผู้ที่เคยได้ลาภ ยศ สักการะ สรรเสริญจากพระศาสนา แล้วไม่เผยแพร่ต่อเหมือนผู้ที่ทรยศต่อพระพุทธเจ้า กราบเท้าท่านอาจารย์ที่มุ่งมั่นในการเผยแพร่พระพุทธศาสนา แม้จะฝืนกระแสความเห็นผิดที่มีมากมายก็ตาม

หลังจากหยุดสนทนาธรรมเพื่อพักผ่อน 1 วัน ก็เริ่มต้นวันใหม่ด้วยการสนทนาธรรมนอกรอบแต่เช้า คิดว่าวันนี้เริ่มทำงาน คนจะมาน้อย แต่ก็ยังมากเหมือนเดิม คำถามก็เข้ารูปเข้าร่างมากขึ้น แสดงถึงความสนใจปรมัตถธรรม อย่างถามว่า จิตเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส ที่เกิดแล้วสะสมอยู่ในปฏิสนธิจิตซึ่งจะให้ผลขณะต่อไปได้อย่างไร ท่านอาจารย์ตอบว่า จิตเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้สิ่งที่กระทบสัมผัสเป็นวิบากจิต เป็นจิตที่เป็นผล เมื่อเกิดขึ้นทำกิจเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้สิ่งที่กระทบสัมผัสเพียงขณะเดียวแล้วก็ดับหมดไป ไม่กลับมาเกิดอีก สิ่งที่จะสะสมต่อไปคือ กุศล อกุศลซึ่งเป็นเหตุให้เกิดผลข้างหน้า

วันนี้ท่านอาจารย์เป็นเจ้าภาพถวายภัตตาหารกลางวันแก่พระภิกษุและแม่ชีเกือบ 30 ท่าน และเลี้ยงอาหารกลางวันแก่ทีมงานชมรมบ้านธัมมะเวียดนาม ท่านเป็นตัวอย่างในการเจริญกุศลทุกประการ ไม่ใช่เฉพาะธรรมทานซึ่งเป็นปัญญาเท่านั้น แต่ยังมีทาน การให้ มีความเมตตา เจรจาอ่อนหวานเป็นวาจาของชาวเมือง มีความอดทน ไม่บ่นเมื่อได้รับสิ่งที่ไม่น่าพอใจ จะร้อน จะเหนื่อย จะปวดขา ปวดหลัง หลายครั้งที่ผู้ติดตามอดทนไม่ได้ คอยไปจัดแจงวุ่นวายให้ท่านเดือดร้อนใจยิ่งกว่าที่ได้รับ บางครั้งสายตาของท่านที่มองมาเตือนให้รู้ว่า ยังไม่ได้ประโยชน์จากการศึกษาธรรม เพราะยังไม่เมตตาและอดทน ไม่ต้องถึงระดับที่รู้ว่า เป็นเพียงธรรมแต่ละหนึ่งที่เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย เกิดแล้วดับแล้ว ไม่ต้องเดือดร้อนใจถึงกับบ่นออกมาให้คนอื่นต้องเดือดร้อนด้วย

หลังอาหารกลางวัน แม่ชีถามว่า ในครั้งพุทธกาลท่านพระสีวลีเป็นผู้มีลาภมาก เพราะทำบุญไว้แล้ว เมื่อพระภิกษุเดินทางในที่กันดาร ไม่มีมนุษย์ถวายทาน ถ้าท่านพระสีวลีเดินทางไปด้วยก็จะมีเทวดามาถวาย สมัยนี้ยังมีพระพุทธศาสนา ยังมีเทวดามาถวายทานหรือไม่ เพราะมาร่วมสนทนาธรรมครั้งนี้มีผู้ใจบุญมาถวายภัตตาหารทุกวัน คิดว่าคงเป็นเทวดาดลใจ พอดีวันนี้ท่านอาจารย์ถวายพอดี วันก่อนคุณเล็กจิราพรก็ถวายในวันเกิด ท่านอาจารย์ตอบว่า ไม่เห็นเทวดา แต่เห็นผู้มาถวายที่เป็นมนุษย์ซึ่งคุณธรรมของเทวดา จึงสามารถทำกุศลเสียสละทรัพย์ได้

ชมรมบ้านธัมมะเวียดนามพิมพ์หนังสือ บารมีในชีวิตประจำวัน ซึ่ง ท่านอาจารย์บรรยายไว้และคุณนีน่าแปลเป็นภาษาอังกฤษ ตอนนี้แปลเป็นภาษาเวียดนามแล้ว ผู้ร่วมสนทนาอ่านแล้ว คำถามส่วนใหญ่จึงเป็นเรื่องเกี่ยวกับบารมี เช่นถามว่า เมื่อพระพุทธเจ้าทรงนั่งใต้ต้นโพธิ์ในคืนตรัสรู้ทรงอธิษฐานว่า ถ้าไม่รู้แจ้งอริยสัจธรรม จะไม่ลุกจากจากที่นั่ง เป็นอธิษฐานบารมี คือความตั้งใจมั่นด้วยปัญญา หรือด้วยโลภะ

ส. พระพุทธเจ้าต้องทรงเคยฟังธรรมมาแล้วในกัปก่อนๆ ก่อนทรงรู้แจ้ง ต้องทรงประกอบด้วยปัญญาที่รู้ว่า อะไรเป็นกุศล หรือเป็นโลภะ ไม่มีใครตรัสรู้โดยไม่รู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏตามความเป็นจริง
ขณะนี้ตั้งใจมั่นหรือไม่ ต้องฟังและพิจารณาจนเป็นความเข้าใจของตัวเองจึงจะเป็นอธิษฐานบารมี ถ้ายังไม่เข้าใจความเป็นอนัตตายังไม่ใช่อธิษฐานบารมี
ตั้งใจมั่นที่จะฟังธรรม พิจารณาธรรมจนเข้าใจมั่นคงในความเป็นอนัตตาของสิ่งที่กำลังปรากฏเดี๋ยวนี้ ขณะที่เข้าใจ ยังเป็นเราเข้าใจ จึงยากจะละคลายความเป็นเราได้ง่ายๆ ต้องค่อยๆ เข้าใจขึ้นในสิ่งที่กำลังปรากฏเดี๋ยวนี้

ถ. เมื่อทรงแสดงธรรมครั้งแรก ทรงแสดงธัมมจักกัปปวตนสูตร เมื่อมีผู้เริ่มเข้าใจแล้ว หลังจากนั้นทรงสอน 2 รูป ที่เหลือไปบิณฑบาต สลับกันไปทำไมไม่สอนทั้งหมด อาจารย์ช่วยอธิบาย
ส. ต้องเข้าใจสิ่งที่กำลังปรากฏเพราะเหตุปัจจัย ที่เกิดด้บ ทรงแสดงการ อบรมเจริญปัญญา ไม่มีวิธีเฉพาะ เช่นการนั่งสมาธิ ถ้าไม่เข้าใจสิ่งที่ กำลังปรากฏ ไม่ใช่คำสอน
สุนดารา ภาวนาไม่ใช่นั่งสมาธิ ภาวนา คือ อบรมเจริญปัญญา หลายคนสับสนระหว่างภาวนากับสมาธิ
ส. คำสอนทั้งหมด คือ สภาพธรรมที่เกิดด้บในชีวิตประจำวัน ฟังให้เข้าใจมั่นคงว่า ทุกอย่างเป็นธรรมะ
ถาม สามารถอบรมเจริญปัญญาโดยสมถะได้ไหม
ส.สมถะไม่ใช่วิปัสสนา เมื่อเข้าใจก็สงบด้วย สัมมาทิฏฐิกับสัมมาสังกัปปะ คือ ปัญญาหรือวิปัสสนา อีกมรรคอีก 6 องค์ที่เหลือเป็นสมถะ เมื่อเข้าใจแล้ว การอบรมเจริญปัญญาในชีวิตประจำวันเป็นทั้งสมถะและวิปัสสนา ไม่ต้องแยกว่าต้องเจริญสมถะก่อน แต่สมาธิอาจไม่ใช่สมถะก็ได้ จนกว่าจะรู้ว่าไม่มีะไรนอกจากสิ่งที่กำลังปรากฏเดี๋ยวนี้ เป็นสัจญาณ ไม่เปลี่ยนไปทำอย่างอื่น ถ้าไม่ถึงพร้อมด้วยบารมี ไม่สามารถถึงสัจญาณได้

มีศรัทธาว่า ฟังให้เข้าใจเท่านั้นเอง เมื่อพิจารณาจนเป็นความเข้าใจของตัวเองแล้ว ก็จะระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏตามความเป็นจริง เป็นกิจญาน จนรู้แจ้งเป็นกตญาณ
เมื่อเข้าใจแล้ว ไม่มีสิ่งใดปิดกั้นปัญญาไม่ให้รู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏตามความเป็นจริงได้ จนรู้แจ้ง ไม่อย่างนั้นพระพุทธเจ้าไม่ทรงสอน


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
ปาริชาตะ
วันที่ 6 ม.ค. 2559

ขอขอบพระคุณ และอนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
ปาริชาตะ
วันที่ 6 ม.ค. 2559

ขอขอบพระคุณ และอนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
peem
วันที่ 6 ม.ค. 2559

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
napachant
วันที่ 6 ม.ค. 2559

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
Boonyavee
วันที่ 6 ม.ค. 2559

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพยิ่ง
ขอกราบอนุโมทนาในกุศลจิตของทุกท่านด้วยค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
khampan.a
วันที่ 6 ม.ค. 2559

ขอขอบพระคุณ และอนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
ํํญาณินทร์
วันที่ 6 ม.ค. 2559

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
j.jim
วันที่ 6 ม.ค. 2559

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
panasda
วันที่ 6 ม.ค. 2559

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
กมลพร
วันที่ 7 ม.ค. 2559

ยิ่งอ่านก็ยิ่งซาบซึ้งในเมตตาของท่านอาจารย์ ที่ไม่เหนื่อยที่จะสนทนาธรรม ชี้แจงพระธรรม เพื่อประโยชน์ของผู้ฟัง และด้วยเห็นว่าเวลาเหลือน้อยก็ยิ่งไม่เหนื่อยที่จะพร่ำสอนพระธรรมเพื่อผู้อื่นเกิดปัญญา. กราบอนุโมทนาท่านอาจารย์ผู้เป็นดั่งบุพการี

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
puukii
วันที่ 7 ม.ค. 2559

ขอกราบอนุโมทนา สาธุการพระคุณของท่าน อ.สุจินต์...ผู้ชี้ทางอันหมดจด ด้วย ความประพฤติทั้งกายวาจา จิต ..พร้อมเหลือเกิน

ลูกรู้สึกได้ว่าตัวเองมีบุญที่ได้อ่าน ได้ฟัง ได้ฝึกจิตตาม

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
s_sophon
วันที่ 7 ม.ค. 2559

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
siraya
วันที่ 7 ม.ค. 2559

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
Guest
วันที่ 7 ม.ค. 2559

กราบขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
JANYAPINPARD
วันที่ 7 ม.ค. 2559

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 16  
 
รัฐกานต์
วันที่ 7 ม.ค. 2559

กราบขอบพระคุณ และขออนุโมทนาบุญครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 17  
 
Wisaka
วันที่ 7 ม.ค. 2559

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 18  
 
mon-pat
วันที่ 8 ม.ค. 2559

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 19  
 
thilda
วันที่ 9 ม.ค. 2559

กราบขอบพระคุณและขออนุโมทนาในคุณความดีของท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนากับทุกท่านด้วยค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 20  
 
lokiya
วันที่ 9 ม.ค. 2567

ขออนุโมทนาในกุศลทุกประการที่ท่านอาจารย์และคณะได้เจริญครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ