การรักษาศีล 5

 
litarn
วันที่  29 ม.ค. 2550
หมายเลข  2737
อ่าน  2,017

เคยตั้งใจอยากรักษาศีล 5 ให้ได้ เมื่อพิจารณาถึงศีลทั้ง 5 ข้อ อันได้แก่ ห้ามฆ่า สัตว์ ห้ามลักทรัพย์ ห้ามพูดปด ห้ามดื่มสรา และเสพของมึนเมา และห้ามประพฤติ ผิดในกาม ดูเหมือนทุกข้อจะสามารถทำได้ ยกเว้นเพียงข้อห้ามพูดปด ที่มันช่าง ซับซ้อนกับการดำเนินชีวิตจริง ยกตัวอย่างว่า ดิฉันมีเพื่อนที่ชอบ ขอยืมเงิน แต่ไม่ ค่อยใช้คืน บางครั้งพอทวงถามก็ทำเป็นลืมบ้าง ปฏิเสธว่าจะใช้คืนให้วันหลัง แล้วก็ ลืมไปเลย จนทำให้ดิฉันเหนื่อยใจ พอระยะหลังที่เขามาขอยืมเงิน ทำให้ต้องโกหก ว่าไม่มี เป็นอย่างนี้ ดิฉันก็ไม่สบายใจที่ต้องโกหกเขาเสมอ ที่สำคัญต้องเจอเขาทุกวัน และเขาก็ตื๊อมากๆ เพราะทำงานที่เดียวกัน เป็นอย่างนี้ทำให้การรักษาศีล 5 เป็นอัน ต้องขาดไป คำถาม คือ การโกหกบางอย่าง เพื่อให้ตัวเองพ้นจากความทุกข์ใจบาง ประการ จะเป็นบาปไหม และดิฉันควรแก้ไขปัญหานี้อย่างไร


Tag  ศีล 5  
  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 29 ม.ค. 2550

เรื่องศีลข้อที่สี่ มุสาวาท การพูดคำไม่จริง เป็นเรื่องที่หลายคนรักษายากและ ลำบากใจแต่ทางออกไม่ใช่การโกหกเพื่อให้พ้นจากความทุกข์ใจบางประการ ควรเป็น ผู้สะสมการมีสัจจะ คือการพูดจริง ส่วนการแก้ไขเหตุการณ์เฉพาะหน้าในเรื่องการถูก เพื่อนขอยืมเงินอาจมีวิธีหลายๆ วิธี แต่ไม่ควรพูดเท็จ เช่น การบอกไปว่ามีไว้สำหรับใช้ ไม่มีให้ยืม หรือเขาถ้าขอจะยืมจริงๆ เราอาจให้เขาเขียนเป็นลายลักอักษรมาเพื่อเก็บ ไว้เป็นหลักฐาน ถ้าภายหลังมาขอยืมอีก เราก็บอกว่าหนี้เก่ายังไม่ได้ใช้ จะให้ยืมของใหม่ไม่ได้ เป็นต้น สรุปคือ ไม่ควรโกหก ควรพูดคำจริง พระอริยบุคคลทั้ง หลายท่านไม่พูดโกหกแม้เนื่องด้วยชีวิต คือท่านไม่กลัวเสียทรัพย์ ไม่กลัวเสียสิ่ง ของหรือเสียชีวิต แต่ท่านกลัวเสียศีล

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 29 ม.ค. 2550

ธรรมทั้งหลายมีเหตุปัจจัยให้เกิด

ต้องเข้าใจเสียก่อนว่า ไม่มีเรา แต่มี ธัมมะไม่ใช่เรา เป็นธัมมะ ธรรมทั้งหลายก็ต้อง มี เหตุให้เกิดมีเหตุปัจจัยดังนั้นจึงไม่มีตัวตนจะไปบังคับ ให้เป็นไปตามใจชอบ เพราะเป็นธัมมะไม่ใช่เรา การล่วงศีล ก็ต้องมีเหตุปัจจัย การจะรักษาศีล 5 ได้ ก็ต้องมีเหตุ ปัจจัยการที่จะไม่ล่วงศีล 5 เลย ก็ต้องดับกิเลสเบื้องต้น คือความเห็นผิดว่าเป็นเรา นั่นคือ เป็นพระโสดาบัน นั่นเองจึงจะมี ศีล 5 สมบูรณ์ แต่เรายังเป็นปุถุชน เมื่อเหตุ ปัจจัยพร้อมก็พร้อมที่จะล่วง จึงเป็นอนัตตา บังคับไม่ได้ เป็นธัมมะ ต้องเข้าใจพื้นฐานตรงนี้ครับ ไม่เช่นนั้น เรื่องการปฏิบัติ ก็จะผิดไปด้วย เพราะคิดว่าทำได้ แต่ธัมมะ ต่างหากที่ทำหน้าที่ ดังนั้น การฟังธัมมะที่ถูก นั่นเองจะเป็นเหตุปัจจัย ที่ปัญญาเจริญ ขึ้น และทำให้ดับกิเลสได้ แต่ต้องไม่ลืมว่าปัญญาขั้นการฟัง ทำอะไรกิเลสที่นอน เนื่องภายในไม่ได้เลย แต่เป็นเบื้องต้นที่จะบรรลุธรรม ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
wannee.s
วันที่ 29 ม.ค. 2550

ศีลมีที่สุด ศีลไม่มีที่สุด เช่น บางคนยอมเสียทรัพย์เพื่อรักษาศีล บางคนยอม เสียอวัยวะและชีวิตเพื่อรักษาศีล แต่บางคนยอมเสียศีลเพื่อรักษาทรัพย์ บางคนยอม เสียศีลเพื่อรักษาอวัยวะและชีวิต ถ้าได้พูดโกหกไปแล้ว ก็ให้ตั้งต้นใหม่ด้วยการสำรวม ระวังไม่พูดโกหกอีก

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
spob
วันที่ 29 ม.ค. 2550

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
กุมารน้อย
วันที่ 30 ม.ค. 2550

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
medulla
วันที่ 31 ม.ค. 2550
ขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
muja
วันที่ 1 ก.พ. 2550

การจะตั้งตนอยู่ในศีล 5 นั้น อาจไม่ง่าย เฉพาะเพียงบางคนเท่านั้น เพราะก็แล้ว แต่การสั่งสมมาแต่อดีตชาติคงมิใช่เพียงชาตินี้ชาติเดียวแน่นอน สำหรับบางคน อาจตั้งตนอยู่ในศีล 5 ตั้งแต่จำความได้ก็มี ดังนั้นการอบรมประพฤติปฏิบัติสม่ำเสมอเป็นประจำ หมั่นทำให้เป็นนิสัยไว้ น่าจะเป็นเรื่องง่ายต่อไปในภพชาติหน้า ต่อๆ ไป

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
suntarara
วันที่ 6 มิ.ย. 2550
อนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
olive
วันที่ 16 ก.ค. 2550

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
ajarnkruo
วันที่ 18 ก.ค. 2550

การสั่งสมอุปนิสัยการเป็นผู้ตรง มั่งคงในธรรมะฝ่ายดี พร้อมทั้งเจริญปัญญา เป็นประโยชน์อย่างยิ่งเมื่อปัญญาเกิด ขณะนั้นปัญญาจะทำหน้าที่กั้นไม่ให้บุคคลทุศีลใด ศีลหนึ่งทำให้เป็นผู้มีปิยวาจา คิดก่อนพูด กลั่นกรองคำพูดที่ดีและเป็นความจริงมีประโยชน์ มีเหตุผล ไม่เพ้อเจ้อ ไม่ไร้สาระ ไม่เลื่อนลอย ไม่ทำให้ผู้ฟังเกิดโทสะ ไพเราะด้วยน้ำเสียงทีเป็นมิตร ไม่ทำร้ายจิตใจ

ส่วนการเอาตัวรอดโดยสัญชาตญาณ (รักตัว ไม่อยากให้ตัวเดือดร้อน) มีแต่จะ เป็นเหตุให้อกุศลที่มีกำลังสั่งสมในจิตอยู่แล้ว กำเริบหนักขึ้นไปอีก เหตุนี้ควรที่จะได้ เจริญสติระลึกถึงอกุศลธรรมในตัวเอง หรือผู้อื่นว่า ก็เป็นธรรมอย่างหนึ่งที่ไม่ควร ปล่อยเลยตามเลย คิดหาเหตุผลให้ตัวเองสบายใจตามลำพัง เพราะอกุศลธรรมแม้ เพียงนิดหน่อยก็ให้โทษมากในภายหลังได้ ถ้ามีกำลังกล้าแข็งขึ้น

ถ้ายังมีเรา เป็นเรา ที่รักตัวเรา ก็ยังคงยึดอยู่ ยังไม่ยอมสละ ก็จะพบแต่ความ เหนื่อยใจ หนักใจ ทุกข์ใจ แต่เมื่อละเรา ไม่เป็นเรา เข้าใจผู้อื่นเหมือนที่เข้าใจว่าเรา ก็รักตัวเรา จึงไม่เบียดเบียน เริ่มที่จะสละความรักตัวเราได้ สามารถแบ่งปัน เกิด เมตตาทั้งคนและสัตว์ อันจะนำมาซึ่งความคลาย นำมาซึ่งความเบา นำมาซึ่งความ สุข ขออนุโมทนา ผู้รักษาศีลทุกท่าน ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
ไรท์แจกแล้วไง
วันที่ 21 ก.ค. 2550
ควรพูดความจริงว่า ไม่มีให้ยืม
 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
chatchai.k
วันที่ 17 ม.ค. 2564

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ