อยากสอบถามความแตกต่างระหว่างการทรมานของโยคีกับวิธีโมเนยยะครับ
อยากสอบถามความแตกต่างระหว่างการทรมานกับวิธีโมเนยยะ ต่างกันอย่างไรบ้าง จิตที่พิจารณาต่างกันอย่างไร ครับ
ขอบคุณและสาธุ สาธุ สาธุครับ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
โมเนยยะ เป็นข้อปฏิบัติมักน้อยอย่างยิ่งที่จะต้องมีปัญญา ความเข้าใจถูกในหนทางดับกิเลส คือ รู้ลักษณะของสภาพธรรมในขณะนี้ ต่างจากพวกโยคี ที่เดินทางมิจฉาปฏิทา คือ ทางผิด เช่น ทรมานตน สำคัญผิดว่าเป็นทางบรรลุ ครับ
โมเนยยะ เป็นเรื่องของปัญญา
[เล่มที่ 65] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 235 คำว่า มุนี มีความว่า ญาณ เรียกว่าโมนะ ได้แก่ ปัญญา ความรู้ทั่ว ฯลฯ
ข้อความบางตอนจากการสนทนาธรรมโดยท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์..
จะมีท่านที่สะสมอบรมมาที่จะประพฤติโมเนยยปฏิบัติ คือ เป็นผู้ที่มีความพอใจในอารมณ์ที่ปรากฏ เพราะฉะนั้นท่านก็ตัดเรื่องวุ่นวายต่างๆ ได้โดยที่ไม่คบหาสมาคมกับใครเพราะเหตุว่าการคบหาสมาคมจะมีเรื่องเดือดร้อนวุ่นวายทางตาบ้าง ทางหูบ้าง นี่เป็นเรื่องแน่นอนที่สุดเพราะเหตุว่าเรื่องที่ทำให้วุ่นวาย ก็คงจะเป็นเรื่องของคำพูดที่ไม่เข้าใจความหมายของผู้พูดบ้าง หรือว่าเข้าใจเจตนาผิดบ้าง แม้ว่าจะเป็นคำพูดที่หวังดี แต่ว่าถ้าฟังผิด เข้าใจผิด ก็จะทำให้เกิดความเดือดร้อนวุ่นวาย .... ผู้ที่สามารถประพฤติ โมเนยยปฏิบัตินี้ เป็นท่านที่มีปัญญามาก มีคุณธรรมมาก มี ความเพียร สูงมาก มีหนึ่งเดียวหรือองค์เดียวในหมู่สาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ ท่านมีความเคารพนอบน้อมต่อพระผู้มีพระภาคมาก ถ้าท่านรู้ว่าพระองค์เสด็จประทับอยู่ ณ ที่ใด ก่อนนอนท่านจะหันหน้าไปทางทิศที่พระพุทธองค์ทรงประทับ แล้วกราบด้วยความเคารพนอบน้อมยี่ง
ขออนุโมทนา
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ถ้าเป็นไปกับความเห็นผิดแล้ว ไม่ใช่หนทางที่จะทำให้ปัญญาเจริญขึ้นได้เลย มีแต่จะพอกพูนกิเลส อกุศลธรรมทั้งหลายให้มากขึ้น การทรมานตนให้ลำบากเดือดร้อนด้วยความเห็นผิดว่าจะทำให้ตนเองหมดจากกิเลส ไม่ใช่หนทางที่ถูกต้อง ซึ่งจะตรงกันข้ามกับผู้ที่น้อมประพฤติในโมเนยยปฏิปทา ซึ่งในกาลสมัยของพระพุทธเจ้านั้น จะมีเพียง ๑ เท่านั้น ซึ่งก็เป็นไปตามการสะสมของผู้นั้น และเป็นเรื่องของปัญญาความเข้าใจถูกเห็นถูกเท่านั้น ไม่ใช่ด้วยความอยากความต้องการหรือความเห็นผิด ครับ
...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...