รูป กับ อารมณ์

 
นิคม
วันที่  12 ก.พ. 2559
หมายเลข  27451
อ่าน  2,445

รูป กับ อารมณ์ ต่างกันหรือเหมือนกันหรือไม่อย่างไร ครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 12 ก.พ. 2559

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ประโยชน์ของการฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม ก็เพื่อเข้าใจสภาพธรรมที่มีจริง ที่กำลังปรากฏในขณะนี้ว่าเป็นธรรม ไม่ใช่เรา ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน เมื่อได้ฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรมสะสมความเข้าใจถูก เห็นถูกไปตามลำดับ ก็จะเข้าใจได้ว่า แต่ละคนเป็นแต่ละหนึ่ง เมื่อว่าโดยสภาพธรรมแล้ว ก็ไม่พ้นไปจาก ความเกิดขึ้นเป็นไปของสภาพธรรม ที่เป็นนามธรรม (จิต และเจตสิก) และสภาพธรรม ที่ไม่ใช่สภาพรู้ คือ รูปธรรม ไม่พ้นจากสภาพธรรมที่มีจริงเหล่านี้เลย

รูปธรรม เป็นสภาพธรรมที่มีจริง ไม่ใช่สภาพรู้ ตัวอย่างรูป เช่น ตา หู จมูก ลิ้น กาย รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เป็นต้น อารมณ์หมายถึงสิ่งที่ถูกจิตและเจตสิกรู้ ซึ่งจิตและเจตสิก สามารถรู้ หรือมีอารมณ์ได้ทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นนามธรรมและรูปธรรม คือ รู้จิต เจตสิก รูป และนิพพานได้ รวมทั้งจิตก็สามารถรู้บัญญัติได้ด้วยครับ เพราะฉะนั้น อารมณ์กว้างกว่ารูปเพราะอารมณ์หมายถึง สิ่งที่ถูกจิตรู้ ซึ่งมีทั้ง จิต เจตสิก รูป นิพพานและบัญญัติ ส่วน รูปไม่มีรู้อะไร และเป็นอารมณ์ประเภทหนึ่งด้วยครับ เช่น รูปารมณ์ เป็นต้นครับ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
peem
วันที่ 12 ก.พ. 2559

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
khampan.a
วันที่ 12 ก.พ. 2559

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ก็ต้องตั้งต้นจริงๆ ว่า สิ่งที่มีจริงทุกอย่างทุกประการ เป็นธรรม เช่น เห็น เป็นธรรม ได้ยิน เป็นธรรม โกรธ เป็นธรรม ติดข้อง เป็นธรรม ความละอาย เป็นธรรม ความเข้าใจ เป็นธรรม สี เป็นธรรม เสียง เป็นธรรม เป็นต้น เพราะมีจริง เป็นสภาพธรรมที่ทรงไว้ซึ่งลักษณะของตนๆ ซึ่งไม่มีใครจะไปเปลี่ยนแปลงลักษณะของสภาพธรรม ไม่ว่าจะมีชื่อว่าอย่างไร ธรรม ย่อมไม่เปลี่ยนแปลงลักษณะ เมื่อกล่าวถึง ธรรม แล้ว ก็เข้าใจว่า เป็นสิ่งที่มีจริง สำหรับสิ่งทีมีจริงนั้น ก็แยกเป็น ๒ ประเภทใหญ่ๆ คือ สภาพธรรมที่เป็นนามธรรม (จิต เจตสิกและพระนิพพาน) และ รูปธรรมธรรม เมื่อว่าโดยความหมายแล้ว นามธรรม เป็นสภาพธรรมที่น้อมไปสู่อารมณ์ (อารมณ์ คือ สิ่งที่จิตรู้) เช่น เห็น เป็นนามธรรม เพราะเป็นสภาพรู้ ธาตุรู้ ในขณะนั้น มีจิตเห็น พร้อมทั้งเจตสิก เกิดขึ้น ตามเหตุตามปัจจัยแล้วดับไป เป็นต้น ซึ่งได้แก่ จิต (สภาพธรรมที่เป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้แจ้งอารมณ์) และ เจตสิก (สภาพธรรมที่เกิดพร้อมกับจิต ดับพร้อมกับจิต รู้อารมณ์เดียวกันกับจิต และในภูมิที่มีขันธ์ ๕ ก็อาศัยที่เกิดที่เดียวกันกับจิต ตัวอย่างเจตสิก เช่น โลภะ โทสะ โมหะ ผัสสะ เวทนา เจตนา เป็นต้น)

[นอกจากนั้น ก็ยังมีนามธรรม อีกประเภทหนึ่ง คือพระนิพพาน เป็นสภาพธรรมที่มีจริง เป็นนามธรรมที่ไม่รู้อารมณ์]

ส่วน รูปธรรม เป็นสภาพธรรมที่มีจริง แต่ไม่รู้อะไร ไม่รู้อารมณ์เหมือนอย่างนามธรรม รูปธรรม มีทั้งหมด ๒๘ รูป มี สี เสียง กลิ่น รส เย็นร้อน อ่อนแข็ง ตึงไหว เป็นต้น ธรรมซึ่งเป็นสิ่งที่มีจริง นั้น ไม่ต้องไม่หาที่ไหนเพราะมีจริงทุกขณะ ทุกขณะเป็นธรรม ไม่พ้นไปจากธรรม กล่าวคือ จิต เจตสิก และ รูป แต่ละอย่างแต่ละประการ เป็นธรรมแต่ละหนึ่ง ไม่ปะปนกัน หาความเป็นสัตว์ เป็นบุคคลในสภาพธรรมเหล่านั้นไม่ได้เลยจริงๆ

ดังนั้น อารมณ์ เป็นสิ่งที่จิตรู้ ครอบคลุมสิ่งที่มีจริงทั้งหมด อันจิตสามารถรู้ได้โดยความเป็นอารมณ์ของจิต รวมถึงบัญญัติด้วย ส่วนรูป ก็หมายถึงเพียงสภาพธรรมที่ไม่รู้อะไร ถ้า รูป คำเดียว บางแห่งกล่าวถึงรูปธรรมทั้งหมด บางแห่งก็กล่าวเจาะจงเพียง สี หรือ สิ่งที่ปรากฏทางตา เท่านั้น ก็จะต้องค่อยๆ ฟัง ค่อยๆ ศึกษาไป ไม่ขาดการฟังพระธรรม ครับ

ขอเชิญคลิกศึกษาเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ

อารมณ์ ๖ - ๑. รูปารมณ์

อารมณ์ ๖ - ๒. สัททารมณ์

อารมณ์ ๖ - ๓. คันธารมณ์

อารมณ์ ๖ - ๔. รสารมณ์

อารมณ์ ๖ - ๕. โผฏฐัพพารมณ์

อารมณ์ ๖ - ๖. ธัมมารมณ์

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
นิคม
วันที่ 12 ก.พ. 2559

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
ํํญาณินทร์
วันที่ 13 ก.พ. 2559

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
doungjai
วันที่ 13 ก.พ. 2559

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
ปาริชาตะ
วันที่ 15 ก.พ. 2559

ขอบพระคุณ และอนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
chatchai.k
วันที่ 11 ม.ค. 2564

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
Sea
วันที่ 26 ม.ค. 2565

กราบขอบพระคุณและขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
apichet
วันที่ 17 ธ.ค. 2565

สาธุครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
ก.ไก่
วันที่ 6 มี.ค. 2566

สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ