การลงทุนในทางโลก ไม่ว่าจะลงทุนใดๆ ก็ทำไปเพราะความโลภใช่ไหม

 
DjPut
วันที่  19 ก.พ. 2559
หมายเลข  27467
อ่าน  1,183

จะโลภมาก โลภน้อย โลภแอบแฝงไม่รู้ตัว แต่จริงๆ ยังไงก็มีความโลภ จะรุนแรงหรือเบาบางก็ตามการลงทุนใดๆ ย่อมหวังผลคือกำไร แม้จะไม่ได้มีการหวังผลกำไรเป็นอารมณ์เด่นก็ตาม แตกต่างกับการซื้อเพียงเพราะต้องการอาศัย เพียงเพราะเป็นพื้นฐาน เช่นอาหาร ที่อยู่อาศัย เงินทองเพียงเพื่อการดำรงชีวิต เพราะการหามาซึ่งปัจจัย เพื่อการอาศัยในโลก เป็นการแสวงหาเพื่อเพียงพออย่างพอเพียง และการลงทุน ก็แตกต่างจากการออม เพราะการออม

* การออม

* การลงทุน

ทั้ง 2 อย่าง มีระดับความรุนแรงของความโลภไม่เท่ากัน และแตกต่างกัน การหามาเพียงเพื่อดำรงชีพในโลก

ขอท่านวิทยากรโปรดอธิบายให้ผมมีความเข้าใจที่คมคายชัดเจนหน่อยครับ นอกจากนี้ ผมเข้าใจว่า เพราะการออมและการลงทุน นี้เป็นโทษของเพศคฤหัสถ์ ซึ่งไม่มีในเพศบรรพชิต อันเป็นคุณและวินัย ตามพระวินัยสั่งสอนไว้

กราบอนุโมทนากับทุกๆ ท่านครับ


  ความคิดเห็นที่ 2  
 
paderm
วันที่ 19 ก.พ. 2559

การพิจารณาตัดสินในเรื่องสภาพธรรม เช่น เรื่อง โลภะ ความติดข้อง ไม่ใช่ด้วยเอาเรื่องราวมาตัดสิน แต่ต้องเป็นการรู้สภาพจิตในขณะนั้น แม้แต่เรื่องการออม ลงทุน ก็ไม่ได้หมายความว่าจะต้องมีโลภะมีกำลังมากกว่าหรือน้อยกว่าการหาเลี้ยงชีพ เพราะแล้วแต่จิตของแต่ละบุคคลและแล้วแต่ขณะของบุคคลนั้น เพราะแม้การเลี้ยงชีพก็ทำด้วยโลภะ ความติดข้องต้องการมากก็ได้ น้อยก็ได้ เช่นเดียวกับการออม ลงทุน ทำด้วยจิตที่มีโลภะมากก็ได้ น้อยก็ได้ หากแต่ว่า หากเป็นการทำด้วยทุจริต ล่วงศีล มีการทุจริต คดโกงในการลงทุน เป็นต้น ก็แสดงถึงกำลังของโลภะมากที่มีกำลังมาก ถึงกับทำทุจริต ล่วงศีลออกมาทางกาย วาจา ครับ

ส่วนโทษของการออม ลงทุน ที่เป็นโลภะของคฤหัสถ์ หากเข้าใจถูกในเรื่องการอบรมปัญญาแล้ว ก็เป็นปกติของปุถุชนที่มีกิเลส แม้ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เป็นพระโสดาบันแล้ว ท่านก็เก็บออม ท่านก็ลงทุน ท่านก็ทำงานหาเลี้ยงชีพ ท่านก็มีโลภะเป็นปกติ แต่จะต้องเข้าใจถูกว่ากิเลสจะต้องละไปตามลำดับ กิเลสอันดับดับแรก คือ ละความเห็นผิดที่ยึดถือว่าเป็นเราเป็นสัตว์ บุคคล ไม่ใช่ละความติดข้องในรูป เสียง กลิ่น รส สิ่งที่กระทบสัมผัส แต่เพราะเป็นเราที่สำคัญว่าเป็นเราที่มีโลภะ เป็นเราที่มีกิเลส ก็พยายามละกิเลส ละโลภะ อันเหลือวิสัย แต่ผู้ที่เข้าใจหนทางการอบรมปัญญาที่ถูกต้อง เข้าใจหนทางการดับกิเลส คือ อยู่กับกิเลสด้วยความเข้าใจ คือ เข้าใจถูกแม้ในชีวิตประจำวันที่มีโลภะ ว่าโลภะ กิเลส ไม่ใช่เราเป็นธรรม นี่คือหนทางการละกิเลส อริยมรรคมีองค์แปด ครับ ดังนั้น เรามักเห็นโทษของโลภะ แต่ลืมโทษที่แท้จริง คือ ความไม่รู้ โมหะ อวิชชา คือ ไม่รู้ความจริงในสภาพธรรมในขณะนี้ว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา ไม่รู้ว่าโลภะ ในขณะที่ทำงาน ลงทุนก็เป็นธรรมไม่ใช่เรา และเป็นปกติเป็นไปอย่างนั้น ครับ ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
DjPut
วันที่ 19 ก.พ. 2559

อนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
khampan.a
วันที่ 19 ก.พ. 2559

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ปกติธรรมดาของผู้ที่ยังมีกิเลส ก็ยากที่จะพ้นไปจากกิเลส เมื่อได้เหตุปัจจัยก็เกิดขึ้นทำกิจหน้าที่ ชีวิตของคฤหัสถ์ ไม่ใช่บรรพชิต เพราะฉะนั้นความเป็นไปของคฤหัสถ์ ก็มีการประกอบอาชีพการงาน มีการเก็บออมรักษาทรัพย์ เพื่อใช้ในทางที่เป็นประโยชน์ ประคับประคองให้ชีวิตเป็นไปอย่างไม่เดือดร้อน ซึ่งก็เป็นธรรมดา โลภะ ก็มี แต่กุศลธรรมก็เกิดขึ้นเป็นไปได้ กล่าวคือ ไม่กระทำอกุศลกรรม เว้นจากการแสวงหาทรัพย์ในทางที่ผิด ไม่ทุจริตคดโกง เป็นต้น เมื่อได้ทรัพย์มาโดยชอบธรรมแล้ว ทรัพย์นั้น ยังสามารถใช้จ่ายให้เป็นประโยชน์สุขแก่ผู้อื่นได้ด้วย เพราะฉะนั้น ชีวิตก็ยังต้องเป็นไป สิ่งที่จะเป็นเครื่องอุปการะเกื้อกูลที่ดีในชีวิต นั่นก็คือ ความเข้าใจพระธรรม ปัญญา ความเข้าใจถูกเห็นถูกก็จะคอยประคับประคองให้ชีวิตเป็นไปในทางที่ถูกที่ควร ครับ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
ํํญาณินทร์
วันที่ 20 ก.พ. 2559

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
Patchanon
วันที่ 22 ก.พ. 2559

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
j.jim
วันที่ 22 ก.พ. 2559

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
ปาริชาตะ
วันที่ 25 ก.พ. 2559

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
chatchai.k
วันที่ 11 ม.ค. 2564

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ