ธนาคารกับคนที่ปล่อยเงินให้คนกู้ต่างกันไหม
ในเบื้องต้นควรทราบก่อนว่าคำว่า บาป หมายถึง อกุศลกรรม สภาพจิตที่ไม่ดีทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนไม่ว่าใครทำก็เป็นบาปทั้งสิ้นไม่มียกเว้น เรื่องการปล่อยเงินกู้หรือให้ยืมเงินก็เช่นกัน ถ้าหากให้ผู้อื่นยืมเงินเพื่อการลงทุนและคิดดอกเบี้ยพอสมควรไม่มากเกินไป หรือไม่คิดดอกเลย การให้ยืมเงินอย่างนี้ไม่เป็นบาป แต่ถ้าคิดดอกเบี้ยแพงเกินไป เอารัดเอาเปรียบผู้กู้ยืม อย่างนี้เป็นอกุศล
อยู่ที่เจตนาของคนที่ให้ยืม ถ้าคิดดอกเบี้ยถูกไม่บาปแถมเป็นบุญอีกได้ช่วยเหลือ คนไม่มีแต่ถ้าคิดแพงถึงจะไม่ผิดศีลแต่ทำให้คนอื่นเดือนรัอนไม่ดี ถ้าเป็นญาติกันหรือเพื่อนกันไม่คิดดอกเบี้ยก็จะดีมาก สงเคราะห์ญาติเป็นบุญเป็นกุศล ถ้าญาติยืมแล้ว เราก็ไม่ควรจะท้วงเงินจากเขา
แม้พระโสดาบัน เช่น ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ก็ยังให้กู้ ซึ่งเป็นไปเพื่อการอนุเคราะห์ซึ่งสำคัญที่เจตนาครับ
[เล่มที่ 42] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 16
๔. เรื่องอนาถบิณฑิกเศรษฐี [๙๘]
ในกาลต่อมา เศรษฐีย่อมถึงความสิ้นไปแห่งทรัพย์. ทั้งพวกพาณิช ก็กู้หนี้เป็นทรัพย์ ๑๘ โกฏิจากมือเศรษฐีนั้น. เงิน ๑๘ โกฏิแม้เป็นสมบัติแห่งตระกูลของเศรษฐีที่ฝังตั้งไว้ใกล้ฝั่งแม่น้ำ เมื่อฝั่งพังลงเพราะน้ำ (เซาะ) ก็จมลงยังมหาสมุทร. ทรัพย์ของเศรษฐีนั้นได้ถึงความหมดสิ้น ไปโดยลำดับ ด้วยประการอย่างนี้
แต่ที่สำคัญที่สุด เรารู้ตัวไหมว่าเรากู้หนี้และเป็นหนี้โดยไม่รู้ตัว ขณะใดที่ทำอกุศลทางกาย วาจา ใจ ขณะนั้นก็กู้หนี้แล้ว เป็นหนี้ด้วย เป็นคนจนเข็ญใจ อีกต่างหาก
ลองอ่านข้อความในพระไตรปิฎกที่เราเป็นหนี้ดูครับ (หนทางที่จะพ้นจากหนี้คือการอบรมสติปัฏฐานในชีวิตประจำวัน)
[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 665
ข้อความบางตอนจาก
อิณสูตร
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนจนเข็ญใจยากไร้นั้นแล เมื่อไม่มีศรัทธาในกุศลธรรม ไม่มีหิริในกุศลธรรม ไม่มีโอตตัปปะในกุศลธรรม ไม่มีวิริยะในกุศลธรรม ไม่มีปัญญาในกุศลธรรม ย่อมประพฤติทุจริตด้วยกาย วาจา ใจ เรากล่าวการประพฤติทุจริตของเขาว่า เป็นการกู้ยืม
เราลองมาดูความคิดของพระโพธิสัตว์เมื่อท่านเป็นพญานกแขกเต้า ว่าท่านคิดเรื่องการกู้หนี้ การเปลื้องหนี้ ว่าเป็นอย่างไรครับ ลองอ่านดูนะ
เชิญคลิกอ่านที่นี่
การกู้หนี้และการใช้หนี้ [สาลิเกทารชาดก]
แต่คนที่ไม่ใช้หนี้ก็เป็นคนถ่อย
[เล่มที่ 46] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 327
ข้อความบางตอนจาก ...
วสลสูตรที่ ๗
๕. คนที่กู้หนี้มาใช้แล้วกล่าวว่า หาได้เป็นหนี้ท่านไม่ หนีไปเสีย พึงรู้ว่าเป็น คนถ่อย