กำหนดการเดินทางไป สังเวชนียสถานเฉพาะ พุทธคยา-พาราณสี 17-23 พฤศจิกายน 2559 กลุ่ม 3
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา และ ชมรมบ้านธัมมะ มศพ.
ร่วมเดินทางไปสังเวชนียสถาน ประเทศอินเดีย เฉพาะ พุทธคยา-พาราณสี พบกับคณะท่านอาจารย์สุจินต์
กำหนดการกิจกรรม นมัสการสังเวชนียสถานและอบรมธรรมะตามพระไตรปิฎก ณ ประเทศอินเดีย กลุ่มที่ 3
17 พฤศจิกายน – 23 พฤศจิกายน 2559 7 วัน 6 คืน (สายการบินอินดีโก รวม 4 เที่ยวบิน)
กรุงเทพ – โกลกาตา – ปัตนะ– พาราณสี - โกลกาตา - กรุงเทพ
วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 กรุงเทพ - โกลกาตา
13.00 น. พร้อมกันที่ สนามบินสุวรรณภูมิ ชั้น 4 ประตู 5 เคาน์เตอร์ K
กรุณา ติดป้ายชื่อ และ ป้ายผูกกระเป๋า เมื่อมาถึงที่สนามบิน เพื่อความสะดวกในการดูแลสมาชิก
15.45 น. ออกเดินทางสู่ เมืองโกลกาตา ประเทศอินเดีย โดยสายการบิน INDIGO 6E-76
16.50 น. เดินทางถึงสนามบินนานาชาติ เมืองโกลกาตา ประเทศอินเดีย
หลังจากนั้นเดินทางเข้าที่พักโรงแรม SONNET KOLKATA HOTEL และ รับประทานอาหารค่ำที่โรงแรม
กรุณาจัดกระเป๋าให้เรียบร้อย เพื่อเดินทางไปเมือง ปัตนะ-พุทธคยา
วันศุกร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 โกลกาตา – ปัตนะ- พุทธคยา
06.00 น. รับประทานอาหารเช้าที่โรงแรม SONNET KOLKATA HOTEL
07.00 น. เดินทางไปสนามบินโกลกาตา
09.25 น. เดินทางโดยสายการบินอินดีโก 6E 339
10.25 น. เดินทางถึงสนามบินปัตนะ เมืองปัตนะ
11.00 น. รับประทารอาหารกลางวันที่โรงแรม MAURYA
12.00น. ออกเดินทางไปพุทธคยา ระหว่างทางแวะพิพิธภัณฑ์เมืองปัตนะ เป็นพิพิธภัณฑ์ ที่แสดงถึงประวัติศาสตร์ในอดีต
มากมาย รวมทั้ง เรื่องราวของพระพุทธศาสนา และ ที่สำคัญ ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุอันงดงาม ที่เจ้าลิจฉวีเคย
ครอบครองและขุดค้นพบ และนำมาประดิษฐาน ณ พิพิธภัณฑ์เมืองปัตนะ
17.00 น. เดินทางถึง พุทธคยา เข้าที่พักโรงแรม Imperial Hotel Bodhgaya และ รับประทานอาหาร
วันเสาร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ.2559 พุทธคยา
07.00 น. รับประทานอาหารเช้าที่โรงแรม Imperial Hotel Bodhgaya หรือ เทียบเท่า
09.00 น. สนทนาศึกษาพระธรรม หรือ เดินทางไปนมัสการต้นพระศรีมหาโพธิ์ หรือ พักผ่อนตามอัธยาศัย
11.00 น. ถวายภัตตาหารเพลพระภิกษุ ที่มหาโพธิสมาคมพุทธคยา (กรุณาเตรียมของทำบุญของตนเองด้วย)
12.00 น. รับประทานอาหารกลางวันที่โรงแรม
14.30 น. นมัสการพระบรมสารีริกธาตุ และ พระธาตุพระอัครสาวก ที่มหาโพธิสมาคม พุทธคยา หลังจากนั้น ร่วมกันขอขมา
พระรัตนตรัย ที่ต้นพระศรีมหาโพธิ์
19.00 น. รับประทานอาหารเย็นที่โรงแรม
กรุณาจัดกระเป๋าให้เรียบร้อย เพื่อเดินทางไปเมือง พาราณสี
วันอาทิตย์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ.2559 พุทธคยา – พาราณสี
07.00 น.รับประทานอาหารเช้าที่โรงแรม
09.00 น. สนทนาธรรม หรือไปบ้านนางสุชาดา และ สถานที่ลอยถาด ที่แม่น้ำเนรัญชรา
11.00 น.รับประทานอาหารกลางวันที่โรงแรม
12.00 น.ออกเดินทางไปเมืองพาราณสี โดยรถยนต์ (โดยรถยนต์ไม่เสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม)
(13.30 น. ออกเดินทางไปสนามบินพุทธคยา สำหรับผู้เดินทางโดยเครื่องบิน เสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม 3,500.- บาท ผู้มีความประสงค์จะ
บิน พุทธคยา – พาราณสี กรุณาติดต่อสำรองที่นั่ง ที่นั่งมีจำนวนจำกัด)
18.00 น. เดินทางถึง เมืองพาราณสี เข้าที่พักโรงแรม AMAYA HOTEL
วันจันทร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 พาราณสี
06.00 น .รับประทานอาหารเช้าที่โรงแรม AMAYA HOTEL
07.00 น. เดินทางไปสารนาถ นมัสการพระบรมสารีริกธาตุ ณ มูลคันธกุฎีวิหาร เมือง พาราณสี
11.00 น. ถวายภัตตาหารเพลพระภิกษุสงฆ์ที่มหาโพธิสมาคม สารนาถ เมืองพาราณสี
12.00 น. รับประทานอาหารกลางวันที่โรงแรม AMAYA HOTEL
15.00 น. เดินทางไปที่ธัมเมกขสถูป สถานที่แสดงปฐมเทศนา สนทนาธรรม และประทักษิณ (เวียนเทียน) รอบพระสถูป
18.00 น. รับประทานอาหารเย็น ที่โรงแรม AMAYA HOTEL
กรุณาจัดกระเป๋าให้เรียบร้อย เพื่อเดินทางไป เมือง kolkata
วันอังคารที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 พาราณสี – โกลกาตา
05.00 น. ล่องเรือแม่น้ำคงคา ซึ่งชาวฮินดูเชื่อถือว่าเป็นแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ จากนั้นเดินทางกลับที่พัก
07.30 น. รับประทานอาหารเช้า ที่โรงแรม AMAYA HOTEL
09.00 น. สนทนาธรรม ที่โรงแรม หรือ พักผ่อนตามอัธยาศัย
11.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน ที่โรงแรม
14.00 น. เดินทางไปสารนาถอีกครั้ง
16.00 น.รับประทานอาหารเย็นที่ วัดไทยสารนาถ
17.00 น. เดินทางไปสนามบินเมืองพาราณสี
19.30 น. ออกเดินทางไปเมือง โกลกาตา โดยสายการบิน INDIGO 6E716
20.50 น. ถึงสนามบินโกลกาตา เดินทางเข้าที่พักโรงแรม SONNET KOLKATA HOTEL
วันพุธที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 โกลกาตา – กรุงเทพฯ
06.00 น. รับประทานอาหารที่โรงแรม
06.45 น.ออกเดินทางไปสนามบิน
10.10 น.เดินทางกลับกรุงเทพ โดยสายการบิน INDIGO
14.40 น.เดินทางถึงกรุงเทพโดยสวัสดิภาพ
ผู้จัดขอสงวนสิทธิ์ ในการปรับเปลี่ยนโปรแกรม เพื่อความเหมาะสม
ติดต่อ คุณ ผเดิม (เต้ย) 090-5568963 คุณสุรภา (เล็ก) 086-7885373
เอกสารที่ต้องการ พร้อมการชำระเงิน งวดแรก 20,000.- บาท
1. หมายเลขโทรศัพท์ หรือ อีเมล หรือ ID LINE ที่ติดต่อได้
2. สำเนาทะเบียนบ้าน รับรองสำเนาถูกต้อง 1 ชุด
3. สำเนาบัตรประชาชน รับรองสำเนาถูกต้อง 1 ชุด
4. สำเนาหน้าพาสปอร์ต รับรองสำเนาถูกต้อง 2 ชุด
5. รูปถ่าย 2 คูณ 2 นิ้วใหญ่ๆ 2 ใบ เขียนชื่อหลังรูป (ดูรายละเอียดรูปถ่าย ที่ถูกต้องด้านหลังใบรายการได้)
6. เอกสารกรอกรายละเอียด จะมอบให้ ในวันชำระเงิน และกรุณา กรอกส่งให้ด้วยในวันนั้น
หมายเหตุ พาสปอร์ตตัวจริง ส่ง วันที่ 1 มิถุนายน 2559 และมีการนัดหมายทำวีซ่าอินเดีย เดือนมิถุนายน ที่สถานที่ทำวีซ่าอโศก
โดยเจ้าตัวต้องไปปั๊มลายนิ้วมือด้วย
รายละเอียดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง
พักห้องคู่ ท่านละ 44,000.- บาท
หมายเหตุ
- เงินที่เก็บงวดแรก สำหรับ จ่ายเงินค่ามัดจำห้องพัก ที่จองเป็นจำนวนมาก และ ค่ามัดจำตั๋วเครื่องบิน
- คำนวณราคาตามอัตราแลกเปลี่ยนดอลลาร์ ปัจจุบันโดยเฉลี่ย ณ เดือนกุมภาพันธ์ 2559 เท่ากับ 35.77 บาท (เทียบปี 2557 เท่ากับ 32.50 บาท) (ผู้จัดต้องจ่ายเป็นสกุลดอลลาร์ให้กับทัวร์อินเดีย) ค่าใช้จ่ายนี้รวมค่าทิป ไกด์ คนขับรถ ผู้ดูแลรถ และ พนักงานโรงแรม (500.- บาท)
- ตั๋วเครื่องบินชั้นประหยัด ไป และ กลับระหว่างประเทศ และ ภายในประเทศ โดยสายการบินอินดีโก และ สไปร์ทเจ็ท รวม
4 เที่ยวบิน
- ค่ารถโค้ช ปรับอากาศขนาด 35 ที่นั่ง และ น้ำดื่ม ตลอดการเดินทาง / ค่าภาษีสนามบินทุกแห่งตลอดรายการ
- ค่าวีซ่าประเทศอินเดีย
- ค่าโรงแรมที่พักตามที่ระบุไว้ในรายการ / ค่าอาหารทุกมื้อตามที่ระบุไว้ในรายการ
- ค่าธรรมเนียมผ่านประตูสถานที่ต่างๆ ตามระบุไว้ในรายการ
- ค่าประกันอุบัติเหตุการเดินทาง วงเงิน ท่านละ 1,000,000 บาท (เงื่อนไขตามกรมธรรม์)
- ค่าขนกระเป๋าเดินทาง (กรุณานํากระเป๋าเดินทางไปไม่เกินท่านละ 20 กิโลกรัม และ ไม่ควรเกิน 1 ใบ เพื่อสะดวกในการดูแลในกรุ๊ปใหญ่ และ ความปลอดภัยในเรื่องการสูญหาย ที่ประเทศอินเดีย ทางทัวร์ไม่ขอรับผิดชอบการสูญหายของกระเป๋าใบที่เพิ่มมา)
ค่าใช้จ่ายนี้ไม่รวมถึง
- ค่าอาหารที่นอกเหนือจากรายการที่กำหนด
- ค่าใช้จ่ายส่วนตัว เช่น ค่าอินเตอร์เน็ท ค่าโทรศัพท์ โทรสาร ค่าซักรีด ค่าเครื่องดื่ม ค่าทิปพนักงาน ไกด์ คนขับรถ
พนักงานคนรถ และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่สั่งนอกเหนือจากที่ระบุในรายการ ค่าทำพาสปอร์ต และ ค่าทำวีซ่าเร่งด่วน
ระเบียบ และเงื่อนไขในการจองทัวร์
การชำระเงิน ชำระเงินครั้งที่ 1 20,000.- บาท ภายในวันเสาร์ที่ 19 มีนาคม 2559 และ ขอเอกสารเบื้องต้น คือ สำเนาพาสปอร์ต สำเนาทะเบียนบ้าน สำเนาบัตรประชาชน รับรองสำเนาถูกต้องทั้งหมด และ กรุณากรอก ใบเอกสารกรอกวีซ่าที่มอบให้ชำระเงินงวดสุดท้าย 24,000.- บาท ภายในวันเสาร์ที่ 13 สิงหาคม 2559
สามารถชำระเงินสดได้ที่ คุณวรรณี แซ่โง้ว ณ มูลนิธิ ฯ หรือ โอนทางธนาคาร ธนาคารกสิกรไทย สาขา เอนเนอร์ยี คอมเพล็กซ์ ชื่อบัญชี สุรภา ภวนานันท์ บัญชีเลขที่ 943-2-00131-5 เมื่อโอนเงินแล้ว กรุณาส่งสำเนาหลักฐานการโอนเงินมาด้วยที่ FAX 02-8779693 และ โทรแจ้งที่ คุณวรรณี แซ่โง้ว โทร. 02 -4680239 หรือแจ้งหลักฐานที่
ติดต่อสอบถามรายละเอียดที่ คุณวรรณี แซ่โง้ว 02-4680239
คุณสุรภา ภวนานันท์ (หัวหน้าทัวร์) 086-7885373
: ยกเลิกทัวร์ หลังวันที่ 1 พฤษภาคม 2559 เสียค่าใช้จ่าย 10,000 บาท
: ยกเลิกทัวร์ หลังวันที่ 13 สิงหาคม 2559 จะหักเงิน 50 % จากราคาทัวร์
: ยกเลิกทัวร์ก่อนวันเดินทาง 20 วัน หรือ ณ วันเดินทาง จะไม่คืนเงินทั้งหมด
- รูปถ่ายสี ขนาด 2 นิ้ว มีอายุไม่เกิน 6 เดือน จํานวน 2 ใบ
สำหรับรูปถ่าย รูปถ่ายสี พื้นหลังสีขาว ขนาด 2 คุณ 2 นิ้ว ใหญ่ๆ ช่วงหน้า คาง ถึง ศีรษะ มีความยาว 1 นิ้ว 2 ใบ ห้ามใช้รูปปริ้นเอง นอกจากรูปที่ถ่ายจากร้านถ่ายรูป สามารถบอกกับทางร้านถ่ายรูปได้ หากรูปถูกต้อง จะทำวีซ่าได้ และ ต้องบอกกับทางร้านว่า 2 คูณ 2 นิ้ว ไม่รวมขอบ ใหญ่ๆ เป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส และ เขียนชื่อหลังรูป
เอกสารที่ต้องให้กับทางทัวร์ ภายในวันที่ 1 มิถุนายน 2559
- พาสปอร์ตตัวจริงที่มีอายุเหลือมากกว่า 6 เดือน วันหมดอายุ อย่างน้อยเกิน วันที่ 24 พฤษภาคม 2560 [Date of expirey 124MAY 2017]
- ขอหนังสือเดินทาง พาสปอร์ต ตัวจริง ภายในวันที่ 1 มิถุนายน 2559
หมายเหตุ นัดวันประชุมก่อนการเดินทางในวันอาทิตย์ที่ 6 พฤศจิกายน 2559 ที่ มูลนิธิศึกษาและ เผยแพร่พระพุทธศาสนา เวลา 16.00 น.
ข้อมูลการเตรียมตัวไปอินเดีย
(ขอความกรุณาอ่านอย่างละเอียดนะครับ และ พกไปประเทศอินเดียด้วย)
การเดินทางไปประเทศอินเดียนั้นไม่ได้โหดร้ายและทุรกันดารอย่างที่เคยได้ยินกันมา เพียงแต่เราต้องเตรียมตัวให้พร้อมที่จะพบกับสถานการณ์ต่างๆ ที่เราไม่สามารถควบคุม หรือสั่งการได้ดังที่ใจเราปรารถนา ซึ่งสิ่งเหล่านี้กลับกลายเป็นเสน่ห์หรือเอกลักษณ์ของประเทศอินเดียเลยทีเดียว และ เป็นการแสดงถึงความเข้าใจขั้นพื้นฐาน ที่ว่า ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา บังคับบัญชาไม่ได้สิ่งที่ต้องเตรียมเป็นอย่างยิ่ง คือ การเตรียมความเข้าใจในพระธรรมก่อนไป
ประการแรกคือ ไปอินเดียทำไม อินเดีย เป็นสถานที่พระพุทธเจ้าทรง ประสูติ ตรัสรู้ แสดงพระธรรมเทศนา และ ปรินิพพาน ดังนั้น การไปอินเดีย ก็เพื่อน้อมระลึกถึงพระคุณ ในสถานที่ที่ควรแก่การมีศรัทธา ความเลื่อมใส อันเป็นการตามรอยบาทพระศาสดา ที่
จะนำมาซึ่งกุศลธรรม ย่อมจะเป็นปัจจัยให้สนใจ ศึกษาพระธรรมต่อไป ซึ่งเป็นจุดประสงค์สูงสุด ที่พระพุทธเจ้า ทรงตรัสรู้ คือ ให้สัตว์โลกมีปัญญา ความเข้าใจถูก มิใช่เพียงศรัทธาเลื่อมใสเท่านั้น เมื่อไปด้วยจุดประสงค์ที่ถูกต้อง ที่จะมีศรัทธา เลื่อมใสในสถานที่ควรเลื่อมใสแล้ว การบูชาสังเวชนียสถานอันสูงสุด คือ ปฏิบัติบูชา ธรรมบูชา คือ การประพฤติตามพระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง การปฏิบัติบูชา คือ ธรรมที่ดีปฏิบัติหน้าที่ในขณะนั้น คือ ธรรมที่ดีเกิด เช่น เมตตา ความอดทน ความเข้าใจถูก นี่คือการปฏิบัติบูชาที่ถูกต้องในชีวิตประจำวัน
การไปประเทศอินเดีย จึงควรไปด้วยความเคารพ ที่จะนึกถึงว่า เรากำลังจะเดินทางไปหาบุคคลที่เลิศที่สุด ไปหาสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้า ควรไปด้วยความเคารพ นั่นคือ ด้วยความมีเมตตาต่อกัน ไปด้วยความอดทน เพราะ ไม่มีอะไรแน่นอนสำหรับประเทศอินเดีย อุปสรรคต่างๆ ย่อมเกิดได้ ควรระลึกถึง พระพุทธเจ้า ผู้ทรงโปรดสัตว์โลก ทรงเสด็จด้วยฝ่าพระบาทเสด็จเดินทางระยะไกล เราทั้งหลาย
กำลังเดินทางด้วยเครื่องบิน ด้วยรถโดยสาร แม้จะหลายชั่วโมง แต่ เทียบไม่ได้เลย กับการเดินทางไกลของพระพุทธเจ้า ด้วยพระบาท ที่มุ่งประโยชน์กับสัตว์โลกด้วยความอดทน และ เมตตา ควรอย่างยิ่งที่จะน้อมระลึกถึงพระคุณ ที่เราจะกำลังเดินทางเข้าไปหา เข้าไปนั่งใกล้อีกครั้ง ใน ช่วงหนึ่งของสังสารวัฏฏ์ที่เป็นช่วงเวลาที่ประเสริฐมีค่า ประเสริฐ เพราะเป็นช่วงเวลาที่จะได้เกิดกุศล ศรัทธาในพระรัตนตรัยในสถานที่นั้น จึงควรเป็นผู้อดทน ในอุปสรรค น้อยใหญ่ และเข้าใจในความไม่แน่นอนของอินเดีย เปรียบเหมือน ผู้ที่จะไปรับสมบัติกลับบ้าน แม้ระหว่างทาง จะเจออุปสรรค ก็ไม่ย่อท้อ กับ ยินดี และ อดทนที่จะก้าวเดินไป เพื่อให้ได้ทรัพย์สมบัติ ฉันใด ผู้ที่แสวงหา ทรัพย์สูงสุด คือ อริยทรัพย์ กำลังก้าวเดินทางไป ย่อมพบอุปสรรคต่างๆ บ้าง แต่ คงเทียบไม่ได้กับ ผู้คนที่ในสมัยพุทธกาล มีพระเจ้าปุกกุสาติเป็นต้น ที่แสวงหา อริยทรัพย์ เมื่อได้อ่านพระราชสาส์น ที่พระเจ้าพิมพิสาร กล่าวถึง พระรัตนตรัยอุบัติขึ้นแล้วในโลก เกิด ปิติโสมนัสเป็นอย่างยิ่ง ทรงสละราชสมบัติ ออกบวช และ ตั้งใจเดินทางไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า ทรงถอดฉลองพระบาท ด้วยคิดว่าเราละอาย ใน
พระพุทธองค์ที่ทรงไม่ใส่ฉลองพระบาทเลย เราก็ควรเป็นอย่างนั้น ปุกกุสาติกุลบุตร เดินทางไปได้ สักพักหนึ่งด้วยเท้าเปล่า เพราะ ความที่เป็นผู้มีผิวละเอียดอ่อน เท้าก็แตก กลัดหนอง แต่ ด้วยความอดทน หยุดพัก และเดินทางต่อไป เป็นระยะทาง 120 โยชน์ หรือ 1920 กิโลเมตร ด้วยตั้งใจว่า จะไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า เพื่อแสวงหาอริยทรัพย์ จนได้พบพระพุทธเจ้า ทรงแสดงธรรม ได้บรรลุธรรม ได้ อริยทรัพย์ ตามที่ตั้งใจไว้ ดังนั้น ผู้ที่เดินทางไปอินเดีย นั่งเครื่องบิน นั่งรถยนต์ แม้จะเจออุปสรรคบ้าง แต่ เมื่อเข้าใจถูกว่า กำลังจะไปแสวงหาทรัพย์ที่ประเสริฐ คือ กุศลธรรม ความเลื่อมใส และ ปัญญา ก็จะเป็นผู้อดทน เพราะ เข้าใจถูกว่า เมื่อใดที่เป็นอกุศล ก็ถูกโจรปล้นอริยทรัพย์ไประหว่างเดินทางแล้ว
การไปอินเดีย หากขาดความเข้าใจพระธรรมแล้ว ก็เป็นเหมือนดั่งสถานที่ท่องเที่ยว ควรที่จะเป็นผู้ศึกษาพระธรรม และ น้อมประพฤติปฏิบัติตามพระธรรม ตามสมควรกับปัญญาในการเดินทางไปประเทศอินเดีย ครั้งนี้ นี่คือ การเตรียมทำความเข้าใจพระธรรมก่อนไป เพราะ เป็นเรื่องของใจ ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด
การเตรียมความเข้าใจประการที่สอง คือ การไปพบกับระบบการทำงานที่เวลาไม่มีความหมาย นั่นคือ ไม่มีความรีบร้อนในการทำงานในทุกๆ เรื่อง เริ่มตั้งแต่เมื่อลงจากเครื่องบิน ผ่านการตรวจคนเข้าเมืองที่ค่อยทำค่อยไป ไม่ได้ดูว่าจะมีคนคอยมากน้อยเท่าไหร่ ดังนั้นอาจต้องใช้เวลากว่าจะผ่านไปรับกระเป๋าได้นานพอสมควรคนอินเดียเป็นนายของเวลา ไม่ใช่เวลาเป็นนายเขา ต้องอาศัย ความอดทนและความเข้าใจ
การเตรียมความเข้าใจประการที่สาม คือ เตรียมใจเข็นกระเป๋าเอง เวลาออกจากสนามบินและวันเดินทางกลับที่จะเข้าสู่อาคารผู้โดยสาร ทั้งนี้เนื่องจากทางการอินเดียเข้มงวดมากในเรื่องการป้องกันวินาศภัย จึงต้องให้เจ้าของกระเป๋าเข็นกระเป๋าเองพร้อมโชว์ตั๋วเครื่องบิน จึงจะให้ผ่านเข้าไปได้ เจ้าหน้าที่ที่จัดบริการท่องเที่ยวให้ไม่สามารถเข้าไปในตัวอาคารได้เลยยกเว้นผู้ที่มีบัตร ซึ่งมีน้อยคนที่จะได้
การเตรียมความเข้าใจประการที่สี่ คือ เตรียมถูกตรวจค้นกระเป๋าเป็นรายทางหลายจุดก่อนที่จะขึ้นเครื่องบินได้และขอเตือนให้ท่านเก็บของเหล่านี้เข้ากระเป๋าใหญ่ทั้งขาไปและขากลับ คือ มีดทุกชนิดของมีคมต่างๆ รวมถึงกรรไกรตัดเล็บ ที่เปิดกระป๋อง ถ่านไฟฉาย เพราะทางการอินเดียจะไม่อนุญาตให้เอาขึ้นเครื่องโดยเด็ดขาด
การเตรียมความเข้าใจประการที่ห้า คือ การเตรียมไปพบการระบบการขายที่มีความทรหดอดทนเป็นที่สุด ท่านจะถูกเสนอขายสินค้าในรูปแบบต่างๆ กัน ซึ่งสามารถนำไปใช้ในการทำงานของท่านหรือไปสอนลูกน้องของท่านได้อย่างหลากหลาย และท่านจะเห็นถึงความเพียรพยายาม และการช่วงชิงโอกาสที่ไม่น่าเชื่อ ต้องไปพิสูจน์ด้วยตัวท่านเอง
การเตรียมความเข้าใจประการที่หก คือ เรื่องนี้ต้องเตรียมทั้งใจและเตรียมทั้งหู เนื่องจากประเทศอินเดียจะนิยมการบีบแตรในขณะขับรถเป็นอย่างมาก ท่านจะสามารถสังเกตเห็นตามท้ายรถบรรทุกทุกคันจะเขียนไว้ว่า “HORN PLEASE” (โปรดบีบแตร) ท่านจะได้ยินเสียงแตรรถตลอดเวลาและท่านที่นั่งด้านหน้า จะได้รับความสนุกตื่นเต้นไปกับการขับรถของชาวอินเดียเป็นอย่างยิ่ง
นอกจากเตรียมความเข้าใจกันแล้ว สิ่งที่ต้องเตรียมโดยทั่วไปได้แก่
1. แฟ้มเอกสารการเดินทาง (ใบโปรแกรมการเดินทาง,ใบรายชื่อ,ใบจัดที่นั่งในรถ ของเหล่านี้ทางทีมงานจะแจกให้ก่อนเดินทาง)
2. ป้ายชื่อ (กรุณาติดเมื่อถึงสนามบิน และ ตลอดการเดินทาง เพื่อความสะดวกในการดูแลสมาชิก ซึ่งจะแจกให้ก่อนการเดินทาง)
3. ป้ายผูกกระเป๋า (กรุณาติดกระเป๋าของท่านมาก่อนถึงสนามบิน จะแจกให้ก่อนการเดินทาง)
4. โคมเทียน (จะแจกให้ก่อนการเดินทาง)
5. ย่ามพระ พร้อม ของทำบุญถวายพระ (ย่ามพระจะแจกให้ก่อนเดินทาง สมาชิก เตรียมของทำบุญของตนเอง เพื่อถวายพระ
ไม่ควรถวายเงิน เพราะทำให้พระต้องอาบัติ เป็นโทษกับตัวของพระภิกษุ)
6. รองเท้าใส่สบาย
7. เสื้อกันหนาว อากาศที่ประเทศอินเดีย พ.ย. กลางวัน 25 องศา กลางคืน 15 องศา
8. เงิน สามารถใช้เงินบาทไทย ไปแลกรูปีที่อินเดียได้กับไกด์อินเดีย
9. ไฟฉาย สำหรับ ยามฉุกเฉิน ไฟดับได้ที่อินเดีย
10. ยารักษาโรคประจำตัว
สิ่งที่ควรทราบและควรปฏิบัติในการเดินทางไปสังเวชนียสถาน ประเทศอินเดีย
* กรุณาเงียบเสียง เมื่อถึงพุทธสถาน และ ขณะที่ร่วมพิธีถวายที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ และนมัสการ อันเป็นการแสดง
ความเคารพในพระรัตนตรัย
- การโหลดสิ่งของ ของมีคม ถ่านไฟฉาย ผลิตภัณฑ์ของเหลว ที่มีปริมาณมาก ต้องโหลดเข้ากระเป๋าใหญ่
- น้ำหนักกระเป๋าแต่ละท่าน ไม่เกิน 20 กิโลกรัม หากเกินจะเสียค่าธรรมเนียมได้ และ ควรมี 1 ใบเท่านั้น ไม่ควรมีมากกว่า 1 ใบ หรือ มีใบเสริมออกมาต่างหาก เพราะ โอกาสที่สูญหายมีได้ เพราะ จำนวนกระเป๋า มีมากในกลุ่มใหญ่ ขอความกรุณาท่านสมาชิกมา ในข้อนี้ด้วย เพื่อความเป็นระเบียบของส่วนรวม
- การรับกระเป๋าที่สายพานที่สนามบิน ลูกทัวร์แต่ละท่านไม่ต้องมารับกระเป๋าที่สายพานเอง จะมีไกด์ ทีมงาน จะยกกระเป๋าให้โดยให้ลูกทัวร์รอที่บริเวณที่อาสาสมัครของรถแต่ละคันที่ตนเองอยู่ เมื่อไกด์และทีมงานยกกระเป๋าของท่านใดได้แล้ว จะเรียกชื่อให้มารับกระเป๋า
- ขอความกรุณา นั่ง ที่นั่งในรถ ตามที่จัดให้ ตามใบจัดที่นั่งในรถ เพื่อความสะดวก และ เหมาะสมในการจัดการ และ ดูแลสมาชิก
- ขอความกรุณาเชื่อฟัง ไกด์และหัวหน้าทัวร์ ไม่ทำนอกเหนือคำสั่ง หรือ ทำสิ่งที่มิใช่หน้าที่ เพื่อความเรียบร้อยของส่วนรวม
* การแจ้งข่าวสารบนรถ ข่าวสาร รายละเอียดเดินทางในแต่ละวัน จะแจ้งกันในขณะอยู่บนรถ ซึ่งขอให้ฟังข่าวสารที่ถูกต้อง จาก
ไกด์เท่านั้น หรือ ถามจากหัวหน้าทัวร์ คือ คุณสุรภา (เล็ก) หรือ คุณ ผเดิม (เต้ย)
- ระบบไฟฟ้า ประเทศอินเดียใช้ไฟ 220 แต่ปลั๊กไฟจะเป็นแบบรูกลม 3 ขา ซึ่งอาจลำบากกับผู้เดินทางบ้างในกรณีที่ต้อง ชาร์จแบตเตอรรี่ แต่สามารถขอสะพานสายต่อได้ที่โรงแรมที่พัก หรือ หากท่านสามารถเตรียมไปได้ก็จะเป็นการดี
สิ่งที่ไม่ควรทำ
1. อย่าแลกเงินตามร้านแลกเงิน
2. อย่าให้เงินหรือสิ่งของแก่ขอทาน ขณะที่ขอทานมีจำนวนมาก ท่านอาจจะโดนรุมได้ ต้องตามโอกาสที่เหมาะสม และ ไม่ควรโยน ของ ให้ขอทาน ขณะที่รถกำลังแล่นอยู่ เพราะ อาจเป็นอันตรายกับพวกเขาได้
* 3. กรุณาอย่าไปในสถานที่อื่น โดยลำพัง หรือ ไปเป็นกลุ่ม โดยไม่ได้แจ้งหัวหน้าทัวร์ หรือ ผู้ดูแลประจำรถ ควรแจ้งให้ทราบก่อนเสมอไม่ควรฝากคนอื่นให้บอก เพราะ คนมีจำนวนมาก มีโอกาสหลงได้
4. ไม่ควรรับประทานน้ำแข็งเพราะอาจเสี่ยงต่อการท้องร่วงหรือท้องเสียได้ง่าย ถ้าอยากดื่มน้ำเย็นๆ ควรซื้อน้ำที่แช่เย็นจากตู้แช่ เครื่องดื่ม น้ำเปล่า ต้องดื่มน้ำขวดที่มีการบรรจุขวดอย่างดี
* 5. ไม่ควรมีกระเป๋าเพิ่มออกมา มากกว่า 1 ใบ เพราะหลุ่มใหญ่มีโอกาสหายได้
* 6. ไม่ควรถวายเงินกับพระภิกษุ เพราะ ทำให้พระต้องอาบัติ หรือ รวบรวมเงินให้กับทางวัด เพราะ เอื้อต่อการที่พระรับเงิน
ธรรมเตือนใจ ในการเดินทางไปประเทศอินเดีย
คำบรรยายจากท่านอ.สุจินต์ ชุด บารมีในชีวิตประจำวัน
นอกจากนั้น ถ้าจะพิจารณา ขันติ ความอดทนเป็นมารยาทสากลซึ่งทุกคนต้องชื่นชอบคนที่มีความอดทน ในการเดินทางร่วมกัน ก็ต้องมีอุปสรรคตั้งแต่เรื่องที่นั่ง ที่พัก เรื่องของยานพาหนะ เรื่องเวลานัดหมายต่างๆ เพราะฉะนั้น คนที่ไม่บ่น และไม่กล่าวคำตำหนิใดๆ เลย แต่มีความเห็นใจ มีความเข้าใจ ช่วยเหลือคนอื่น ขณะนั้นก็ต้องเป็นที่นิยม เป็นที่สรรเสริญของบุคคลอื่น เพราะว่าทุกท่านก็คงจะทราบนะคะว่า อกุศลธรรมทั้งหมดนั้นไม่อดทน