ลักษณะนี้คือนิวรณ์ใช่หรือไม่คะ

 
olive
วันที่  2 ก.พ. 2550
หมายเลข  2759
อ่าน  1,193

มีครั้งหนึ่ง เราศึกษาพุทธวจนะถึง บทที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสถามพระภิกษุทั้งหลายว่า "ภิกษุทั้งหลายแม้สวรรค์ ก็มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความไม่แน่นอน เป็นของไม่เที่ยง พวกเธอเห็นอย่างนี้แล้ว เธอจะพึงปราถนาอยู่อีกหรือ" พระภิกษุทั้งหลายได้ทูลตอบพระผู้มีพระภาคว่า "ไม่ควรเลยพระเจ้าค่ะ" อยู่ๆ เราก็รู้สึกว่าสวรรค์ที่เราปราถนาก็ยังต้องเสื่อมไป แล้วก็ปลงอนิจจังว่ายังต้องเสื่อมเลยหนอ เกิดความเบื่อหน่ายอยู่ในใจ แต่อยู่ๆ ก็เหมือนมีอะไรบอกเราในใจว่า "ยังไม่ถึงเวลา" แล้วเราก็ปิดหนังสือเล่มนั้นทันที แล้วก็ไม่อ่านมันอีกเรารู้สึกลังเลทุกครั้งที่คิดจะอ่าน มันเป็นความรู้สึกที่อธิบายได้ยาก เราเหมือนกลัวรู้สึกเหมือนจะต้องสูญเสียหรือพลัดพรากจากอะไรบางอย่าง เหมือนมันมีอะไรติดค้างอยู่ในใจของเรา เรารู้สึกไม่ดีเลย ว่าเป็นคนไม่ดีรึปล่าว ทำไมเรารู้สึกแบบนี้ แบบนี้เราเคยได้ฟังมาว่าพระท่านเรียกว่านิวรณ์ แต่เราไม่ได้ศึกษาเรื่องนิวรณ์นี้อย่างละเอียด และยังไม่เข้าใจจึงอยากสอบถามท่านผู้รู้ค่ะ ขอความกรุณาด้วยนะคะ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 2 ก.พ. 2550

นิวรณ์คือธรรมเป็นเครื่องกั้นความดี สภาพธรรม ได้แก่ อกุศลธรรม ในชีวิตประจำวันถ้าหากจิตไม่เป็นในทาน ศีล ภาวนา ขณะนั้นเป็นอกุศลเป็นนิวรณ์ สรุปว่าในวันหนึ่งๆ ยากที่จะพ้นไปจากนิวรณ์ เว้นแต่จิตเป็นกุศลเท่านั้น ในขณะอื่นๆ เช่นยินดีพอใจในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรม หรือขุ่นใจไม่สบายใจ ฟุ้งซ่าน เป็นต้น เป็นนิวรณ์ทั้งหมด

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
study
วันที่ 2 ก.พ. 2550

[๒๘๓] นิวรณ์ ๕

๑. กามฉันทะ ความพอใจ ๒. พยาบาท ความพยาบาท ๓. ถีนมิทธะ ความมีจิตหดหู่และเคลิบเคลิ้ม ๔. อุทธัจจกุกกุจจะ ความฟุ้งซ่านและรำคาญ ๕. วิจิกิจฉา ความสงสัย

เชิญคลิกอ่านที่นี่ ...

นิวรณ์ คือ ปิดกั้นจิตไว้

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
wannee.s
วันที่ 2 ก.พ. 2550

กุศลทุกประการเป็นเครื่องกั้นนิวรณ์ชั่วขณะ ระลึกถึงพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ หรือทานที่เราสละแล้ว หรือขณะที่ฟังธรรมเข้าใจสติเกิดขณะนั้นจิตก็สงบจากนิวรณ์ ชั่วคราว ถ้าอกุศลจิตเกิดก็รู้ว่าอกุศลจิตเกิดมีสติระลึกรู้ตามจริงก็ยังเป็นกุศลค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
pornpaon
วันที่ 2 ก.พ. 2550

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
shumporn.t
วันที่ 3 ก.พ. 2550

การเกิดเป็นมนุษย์เกิดด้วยจิตที่เรียกว่า กามาวจรจิต คือ จิตที่ข้องเกี่ยวผูกพันหรือยังไม่พ้นจากความสุขในกาม กามตัณหา คือความติดในรูปสวยๆ เสียงเพราะๆ กลิ่น หอมๆ รสอร่อยๆ สัมผัสที่สบายกายและเรื่องราวที่ถูกใจ ติดในภพคือการเกิด เป็นปกติของผู้ที่ยังติดข้องจึงต้องการเกิดในสวรรค์ แต่จะไปเกิดที่ไหนไม่ได้ขึ้นอยู่ที่ความต้องการ ต้องแล้วแต่กรรมที่ได้กระทำมา การได้มีโอกาสได้อ่านพระสูตร พระวินัย หรือพระอภิธรรม เป็นสิ่งที่ประเสริฐเพราะเป็นการกล่าวถึงความจริงของสิ่งทั้งปวง ยิ่งเราได้รู้ความจริงมากเท่าไร ก็ทำให้เราเข้าใจตัวเราเองมากเท่านั้น และเป็นผู้ไม่ประมาท ทุกอย่างต้องเกิดและดับหมดไปนี้เป็นความจริง เป็นผู้อยู่โดยรู้ความจริงดีกว่าอยู่โดยปฏิเสธความจริง

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 3 ก.พ. 2550

ที่สำคัญธรรม ไม่ต้องไปใส่ชื่อหรือหาชื่อให้เขาสภาพธัมมะใดเป็นอย่างไรก็เป็นอย่างนั้น ที่สำคัญคือ ศึกษาลักษณะของเขาว่าเป็นธัมมะอย่างหนึ่ง เพราะขณะที่หาชื่อ ขณะนั้นล่วงเลยการรู้ลักษณะของสภาพธัมมะนั้น

ส่วนที่คุณยังอยากเกิดในสวรรค์ ข้อนี้เป็นธรรมดามากของปุถุชน เพราะเรายังติดในสุขเวทนา ยังมีโลภะ ที่สำคัญการอบรมเจริญปัญญาต้องรู้ว่า จะดับกิเลสอะไรก่อน นั่นคือดับความเห็นผิดว่า เป็นตัวตน สัตว์บุคคล ไม่ใช่ดับความพอใจในรูป ... ที่เราเดือดร้อน ในอกุศลของเราที่เกิด เพราะเรายังไม่มั่นคงว่าเป็นธัมมะ ไม่ใช่เรานั่นเอง ดังนั้น หนทางเดียวที่จะดับกิเลส คือ อบรมสติ ชีวิตประจำวัน แม้อกุศลเกิด ก็รู้ว่าเป็นธัมมะ ฟังไปเรื่อยๆ นะ อนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
sumekkongtan
วันที่ 4 ก.พ. 2550

แจ่มแจ้งดีแท้ ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
olive
วันที่ 5 ก.พ. 2550

ขอบคุณค่ะ เข้าใจมากเลยค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
suntarara
วันที่ 31 ต.ค. 2550

ขออนุโมทนา ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
Pinyapachaya
วันที่ 3 ม.ค. 2553

อ้างอิงจาก : หัวข้อ 02759 ความคิดเห็นที่ 7 โดย แล้วเจอกัน

ที่สำคัญ ธรรม ไม่ต้องไปใส่ชื่อหรือหาชื่อให้เขา สภาพธัมมะใดเป็นอย่างไรก็เป็น อย่างนั้น ที่สำคัญคือ ศึกษาลักษณะของเขาว่าเป็นธัมมะอย่างหนึ่ง เพราะขณะที่หาชื่อ ขณะนั้นล่วงเลยการรู้ลักษณะของสภาพธัมมะนั้น

ส่วนที่คุณยังอยากเกิดในสวรรค์ ข้อนี้เป็นธรรมดามากของปุถุชน เพราะเรายัง ติดในสุขเวทนา ยังมีโลภะ ที่สำคัญการอบรมเจริญปัญญาต้องรู้ว่า จะดับกิเลสอะไรก่อน นั่นคือดับความเห็นผิดว่า เป็นตัวตน สัตว์บุคคล ไม่ใช่ดับความพอใจในรูป ... ที่เราเดือดร้อน ในอกุศลของเราที่เกิด เพราะเรายังไม่มั่นคงว่าเป็นธัมมะ ไม่ใช่เรานั่นเอง ดังนั้น หนทางเดียวที่จะดับกิเลสคือ อบรมสติในชีวิตประจำวัน แม้อกุศลเกิด ก็รู้ว่าเป็นธัมมะ ฟังไปเรื่อยๆ นะ อนุโมทนาครับ

ดิฉันคิดว่าคุณผู้ตั้งกระทู้อาจจะไม่ได้ต้องการหาชื่อให้สภาพธรรมก็ได้นะคะ เพราะบางทีเวลาศึกษาธรรม การยกตัวอย่างว่าใช่หรือไม่ใช่ ก็เพื่อศึกษาลักษณะของชื่อที่ว่าเป็นนิวรณ์นั้นเป็นอย่างไร เพื่อให้เข้าใจขึ้นทีละเล็กละน้อยตามแต่การสะสมของแต่ละคน ตามอัธยาศัยของแต่ละคน ก็เป็นขั้นศึกษาตามการสะสมและอัธยาศัยของแต่ละคน ฟังธรรมเนืองๆ สนทนาธรรมเนืองๆ ค่อยๆ เข้าใจทีละเล็กละน้อย

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
yu_da2554hotmail
วันที่ 31 ม.ค. 2568

ยินดีในกุศลจิตค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ