พระสงฆ์ต้องสวดมนต์เช้า เย็นทุกวันหรือไม่

 
oom
วันที่  24 มี.ค. 2559
หมายเลข  27590
อ่าน  11,651

อยากทราบว่าพระสงฆ์โดยทั่วไป ท่านต้องสวดมนต์ทุกวันหรือไม่ และมีข้อยกเว้นอะไรหรือไม่ที่ไม่ต้องสวดมนต์


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 24 มี.ค. 2559

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ก่อนอื่นต้องเข้าใจคำว่ามนต์ก่อนครับ เพราะ มนต์ (ภาษาบาลี คือ มนฺต) หมายถึง ปัญญา บางครั้งก็มีคำว่า พุทธมนต์ (พระปัญญาของพระพุทธเจ้า) ด้วย และประการที่สำคัญ คือ มนต์ในทางพระพุทธศาสนา ต้องเป็นพระธรรมคำสอนที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงเท่านั้น เช่น พระสูตร ต่างๆ เป็นต้น ซึ่งถ้าไม่ฟัง ไม่ศึกษา ย่อมไม่มีทางที่จะเข้าใจเลย

การสวดมนต์จึงไม่ใช่จุดประสงค์เพื่อขอพร จากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เพราะนั่นไม่ใช่คำสอนของพระพุทธเจ้า เพราะเป็นไปเพื่อได้ เพื่อติดข้อง ไม่เป็นไปเพื่อละ สละขัดเกลากิเลส เพราะฉะนั้น จึงไม่จำเป็นที่จะต้องสวดมนต์โดยไม่เข้าใจ และ เพื่อหวังและอ้อนวอนเลย ครับ

ในความเป็นจริงแล้วในสมัยพุทธกาล บุคคลสมัยนั้ันต่างก็พูดเป็นภาษาบาลีกันทั้งหมด เพราะฉะนั้นคำพูดเมื่อจะกล่าวสรรเสริญใคร ยกย่องบุคคลใด รวมทั้งอธิบายในสิ่งใดให้ผู้อื่นเข้าใจก็ใช้คำบาลี การสวดมนต์ที่ปัจจุบันสวดกันนั้นก็เป็นภาษาบาลี มีการกล่าวยกย่องสรรเสริญพระคุณของพระพุทธเจ้า เป็นต้น รวมทั้งเป็นบทพระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ในสูตรต่างๆ ในปัจจุบันก็นำมาสวดกัน เพราะฉะนั้น ต้องศึกษาพระธรรมให้เข้าใจ การสวดมนต์ก็จะถูกต้อง คือ เป็นไปเพื่อการระลึกถึงคุณของพระรัตนตรัย ครับ

เพราะฉะนั้น พระภิกษุแทนที่จะสวดคำไม่รู้จัก ก็ควรที่สนทนา อ่านพระธรรม ย่อมเป็นสิ่งที่ควรกว่า การสวดมนต์โดยมไม่เข้าใจ ครับ ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
khampan.a
วันที่ 24 มี.ค. 2559

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระภิกษุเป็นเพศบรรพชิต สละอาคารบ้านเรือนมุ่งสู่เพศที่สูงยิ่งเพื่อฟังพระธรรมศึกษาพระธรรมอบรมเจริญปัญญาขัดเกลากิเลสของบรรพชิต มีกิจหน้าที่ที่สำคัญคือศึกษาพระธรรม อบรมเจริญปัญญาขัดเกลากิเลสของตนเอง และน้อมประพฤติในสิ่งที่เหมาะควรในเพศบรรพชิตเท่านั้น พระภิกษุก็มีวัตร คือ สิ่งที่ควรทำสำหรับพระภิกษุ ในฐานะต่างๆ เช่น ผู้ที่เป็นศิษย์มีกิจที่จะต้องดูแลปรนนิบัติผู้ที่เป็นครูอาจารย์ ถ้าเป็นพระอุปัชฌาย์ก็ทำกิจของอุปัชฌาย์แนะนำในสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ผู้ที่เป็นลูกศิษย์ เป็นต้น การทำวัตรในสมัยพุทธกาลจะเป็นในลักษณะอย่างนี้ ไม่ใช่การสวดมนต์เหมือนอย่างในปัจจุบันนี้

เป็นที่น่าพิจารณาว่า ในสมัยพุทธกาล กว่าจะมีโอกาสได้ฟังพระธรรมจากพระโอษฐ์ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีไม่บ่อย ผู้ที่มีโอกาสได้ฟังพระธรรมที่พระองค์ทรงแสดง แล้วกลับไปยังที่อยู่ของตน ก็มีการทบทวนเป็นลำดับด้วยดีตามพระธรรมที่ได้ยินได้ฟัง เรียกว่า การสาธยาย ซึ่งเป็นเรื่องของความเข้าใจถูกเห็นถูก ไม่ใช่การพูดคำที่ไม่รู้จัก
การที่จะเข้าใจธรรมได้ นั้น ไม่ใช่การสวดมนต์ แต่ต้องเป็นการฟัง เป็นการศึกษาพระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง ด้วยความเคารพ ด้วยความละเอียดรอบคอบเท่านั้น ครับ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
ํํญาณินทร์
วันที่ 24 มี.ค. 2559

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
oom
วันที่ 24 มี.ค. 2559

กราบขอบพระคุณมากค่ะ ที่ช่วยให้ความรู้และความเข้าใจในเรื่องที่ถูกต้องค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
peem
วันที่ 24 มี.ค. 2559

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
ผู้มีความประมาท
วันที่ 25 มี.ค. 2559

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
oom
วันที่ 25 มี.ค. 2559

ถ้าไม่สอบถามเรื่องการสวดมนต์ของพระภิกษุสงฆ์ ก็คงเข้าใจผิดไปตลอด คิดว่าการทำวัตรเช้า - เย็น ของพระสงฆ์ เป็นไปตาม พระธรรมวินัย ต้องขอบพระคุณอจ.มากๆ ๆ ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
wannee.s
วันที่ 25 มี.ค. 2559

หน้าที่ของพระภิกษุมี 2 อย่างคือ

1. การศึกษาธรรมพระพุทธพจน์

2. การอบรมเจริญปัญญาให้ยิ่งๆ ขึ้นไป

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
Tommy9
วันที่ 25 มี.ค. 2559

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
wirat.k
วันที่ 26 มี.ค. 2559

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
chatchai.k
วันที่ 2 มิ.ย. 2564

ขออนุโมทนาครับ 

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ