ฝึกดูจิต อย่างไรให้ทันความฟุ้งซ่าน?

 
verybong
วันที่  28 มี.ค. 2559
หมายเลข  27604
อ่าน  1,702

กําลังฝึกดูจิตอยู่ครับ เนื่องจากเวลาทําอะไร ชอบฟุ้งซ่านบ่อย จิตไม่อยู่กับสิ่งที่ทํา ผมพยายามรู้ทันมัน แต่ว่าส่วนใหญ่แล้วไม่ค่อยทัน จิตที่ฟุ้งซ่านเลย จะฝึกอย่างไรให้จิตตั้งมั่น รู้ทันความฟุ้งซ่านดี ครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 28 มี.ค. 2559

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ที่กล่าวว่า ดูจิต หมายถึง สติที่ระลึกในสภาพธัมมะ ต้องพิจารณาให้ละเอียด ถามว่าใครดู สติใช่ไหม ธรรมเป็นอนัตตา บังคับบัญชาได้ไหม สติเป็นธรรมหรือเปล่าบังคับได้ไหม แล้วบังคับที่จะดูจิตได้ไหม ขณะที่มีความต้องการที่จะดูจดจ้องที่สภาพธัมมะที่เกิด ขณะนั้น เป็นความต้องการ เป็นโลภะ หรือ สติ ก็ไม่พ้นไปจากความต้องการอย่างละเอียด คือ การจดจ้อง ซึ่งเราต้องมีความเข้าใจพื้นฐาน แม้ขั้นฟังเสียก่อนว่า ธัมมะทั้งหลายเป็นอนัตตา บังคับบัญชาไม่ได้แล้วแต่เหตุปัจจัยที่เขาจะเกิด ที่พูดกันว่า ดูจิต เขาย่อมหมายถึง สติเจตสิก แต่เราไม่ควรลืมว่าไม่มีใครบังคับบัญชาให้สติเกิดตามใจชอบได้ ถ้าตามดูจิตได้ สติก็คงจะเกิดบ่อยมาก คงบรรลุได้เร็ว สุญญสูตร ก็แสดงไว้แล้วว่า ว่างจากตน ตัวตน เป็นเพียงธัมมะ จึงไม่มีตัวตนที่จะไปบังคับตามดูจิต แล้วใครจะไปตามดูจิตได้ ทุกอย่างเกิดจากเหตุปัจจัยครับ

อีกประเด็นหนึ่ง ซึ่งเป็นเรื่องละเอียดในการเจริญสติปัฏฐาน สติต้องมีปรมัตถธรรมเป็นอารมณ์ของสติ มีลักษณะให้สติระลึก นั่นคือ นามธรรม และรูปธรรม แต่ขณะที่ดูจิตที่กล่าวกันนั้น ขณะที่สภาพธัมมะเกิดก็ตามดู แต่ไม่รู้เลยว่าจริงๆ แล้วขณะนั้นคิดนึก ถึงสภาพธัมมะที่ดับไปแล้ว ซึ่งขณะที่คิดนึก ขณะนั้นไม่ได้รู้ลักษณะที่เป็นนามธรรมและรูปธรรม ยกตัวอย่าง ขณะที่เห็นก็คิดนึกว่า ขณะนี้เห็นเป็นเพียงนามธรรมชนิดหนึ่ง ซึ่งขณะที่คิดอย่างนั้น เราก็ไม่ได้รู้ลักษณะของสภาพธ้มมะนั้นจริงๆ เป็นแต่เพียงคิดนึกถึงสภาพธัมมะที่ดับไปแล้วครับ คิดนึก จึงไม่ใช่การเจริญสติปัฏฐานครับ ธรรมเป็นเรื่องละเอียด ถ้าไม่ศึกษาอภิธรรมให้สอดคล้องกับ สติปัฏฐาน

ดังนั้น ตัวตนหรือความเป็นเรา อันเนื่องมาจากความต้องการ (โลภะ) ไม่ได้หนีหายไปไหนเลย โลภะเคยต้องการรูป เสียง.... พอมาศึกษาธัมมะก็เปลี่ยนรูปแบบมาเป็นความต้องการที่จดจ้อง ดูจิต ตามจิตที่เกิด ซึ่งโลภะ แนบเนียนมาก (ขณะนั้นก็ไม่ใช่หนทาง ยิ่งไกลกันไปอีก) และที่สำคัญที่สุด เราลืมพื้นฐานที่สำคัญที่จะทำให้สติเกิดและหนทางที่ถูกคือ ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา แม้สติก็เป็นอนัตตา บังคับให้เกิดตามใจโดยการตามดูจิตไม่ได้ครับ

เพราะฉะนั้น ที่ถูกต้อง ไม่ใช่การดูจิต แต่ ที่ถูกคือ ทุกอย่างเป็นอนัตตา แล้วแต่สติจะเกิดหรือไม่ ที่ระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่มีในขณะนี้ว่าเป็นแต่เพียงธรรมไม่ใช่เรา ซึ่งจะต้องเริ่มจากการฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรมไปเรื่อยๆ โดยไม่มีตัวตนที่ตามดูจิตแต่อย่างไร ครับ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
khampan.a
วันที่ 28 มี.ค. 2559

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ธรรม เป็นเรื่องที่ละเอียดลึกซึ้งเป็นอย่างยิ่ง ถ้าไม่เริ่มต้นที่การฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม ย่อมไม่มีทางที่จะเข้าใจได้เลย และที่สำคัญ ธรรม เป็นสิ่งที่มีจริงแต่ละอย่างๆ ที่เกิดขึ้นเป็นไปตามเหตุตามปัจจัย ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใครทั้งสิ้น กล่าวได้ว่าชีวิตประจำวันเป็นธรรม มีธรรมเกิดขึ้นเป็นไปอยู่ตลอดเวลา ไม่เคยปราศจากธรรม เลย แม้แต่ จิตมีจริงๆ ถ้าไม่ได้ฟังพระธรรมก็จะไม่มีความเข้าใจถูกก็ได้แต่พูดคำว่า จิต โดยที่ไม่รู้ว่า จิต คืออะไร จิตเป็นสภาพธรรมที่มีจริงๆ เป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้แจ้งอารมณ์ และ ความฟุ้งซ่านมีจริงๆ เกิดขึ้นเป็นไปในขณะที่จิตเป็นอกุศล

ดังนั้น ไม่เคยขาดธรรมแล้ว แต่ที่ขาด คือ ความเข้าใจถูกเห็นถูก ซึ่งเป็นธรรมอีกอย่างหนึ่ง เป็นธรรมฝ่ายดี ที่เกิดขึ้นทำกิจเข้าใจถูกเห็นถูกตามความเป็นจริงของธรรม เมื่อไม่มีความเข้าใจถูกเห็นถูกแล้ว ก็จะทำให้มีการประพฤติที่ผิด มีการไปทำอะไรด้วยความเป็นตัวตนจดจ้องต้องการ โดยที่ไม่รู้เลยว่า นั่นเป็นความติดข้องต้องการที่ทำให้มีการกระทำที่ผิดปกติอย่างนั้น

จึงขอให้เริ่มต้นที่การฟังพระธรรมให้เข้าใจ ฟังในเรื่องของสภาพธรรมที่มีจริงบ่อยๆ เนืองๆ ว่า สิ่งที่มีจริง ที่ควรฟัง ควรศึกษาให้เข้าใจนั้น คือ อะไร ซึ่งก็ไม่พ้นไปจากสภาพธรรมที่มีจริงในขณะนี้ เลย เมื่อมีความเข้าใจในเรื่องของสภาพธรรมที่มีจริง จากการได้ฟังได้ศึกษาในสิ่งที่มีจริงบ่อยๆ เนืองๆ ก็ย่อมจะเป็นเหตุให้สติเกิดขึ้นระลึกตรงลักษณะของสภาพธรรมและปัญญารู้ตามความเป็นจริงได้ โดยไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใครทั้งสิ้น เป็นธรรมที่เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยจริงๆ ครับ.

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
j.jim
วันที่ 28 มี.ค. 2559

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
verybong
วันที่ 28 มี.ค. 2559

ขอบคุณครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
thilda
วันที่ 29 มี.ค. 2559

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
ํํญาณินทร์
วันที่ 29 มี.ค. 2559

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
peem
วันที่ 29 มี.ค. 2559

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
ปาริชาตะ
วันที่ 29 มี.ค. 2559

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
kukeart
วันที่ 30 มี.ค. 2559

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
สุณี
วันที่ 1 เม.ย. 2559

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
nong
วันที่ 1 เม.ย. 2559

ชัดเจนค่ะ ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
chatchai.k
วันที่ 21 ส.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
ก.ไก่
วันที่ 15 ต.ค. 2563

สาธุ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ