สุทธาวาสภพและอรูปภพไม่ถูก ไฟ น้ำ ลม ทำลาย ทำไมถึงไม่ถูกทำลายล้าง?

 
JYS
วันที่  9 เม.ย. 2559
หมายเลข  27660
อ่าน  1,446

อย่างนี้มันจะผิดกับหลักว่าที่ "ธัมมะทั้งหลายเป็นอนัตตา"

แล้วก็หลัก "อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา" หนะสิครับ

เหตุใดจึงตั้งอยู่ได้เป็นประหนึ่งว่าภพอันเป็นอมตะนิรันดิ์

ภพก็เป็นธัมมะ ภพมีจริง ภพก็ต้องเป็นอนัตตา

ภพจักยั่งยืนได้หรือ? ภพเป็นที่ตั้งที่อาศัยของเหล่าสัตว์ผู้ยังมีความไม่รู้

ทำไมจึงมีแค่สุทธาวาสภพ กับ อรูปภพ ที่ไม่ถูกทำลาย?

ขอความกระจ่างชัดด้วยครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 9 เม.ย. 2559

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระธรรมมีความละเอียดลึกซึ้ง แม้แต่คำว่า ภพความหมายของคำว่า ภพ คือ อะไร

คำว่า ภพ มาจากภาษาบาลีว่า ภว (ว่าโดยศัพท์แล้ว มีหลายความหมาย หมายถึงความมีความเป็น , ความเจริญ, ความเกิดขึ้นเป็นไป)

ภพ หมายถึงสถานที่เกิดของหมู่สัตว์ มี ๓๑ ภพภูมิ ได้แก่ อบายภูมิ ๔ มนุษย์ภูมิ ๑ สวรรค์ ๖ ชั้น รูปพรหมภูมิ ๑๖ อรูปพรหมภูมิ ๔ หรือหมายถึงความบังเกิดขึ้นเป็นบุคคลต่างๆ และ ในบางแห่งเช่น ภพ ในปฏิจจสมุปบาท ภพมี ๒ ความหมายคือ กรรมภพหมายถึง เจตนาเจตสิก (อกุศลเจตนา โลกิยกุศลเจตนา) และอุปปัตติภพ หมายถึงผลของเจตนา (โลกิยวิบาก รวมทั้งเจตสิกที่ประกอบ และกัมมชรูป) ด้วย ในอรรถกถาโลกสูตร แสดงไว้ว่า ไม่ว่าจะเป็นภพใดๆ ก็ตาม ไม่พ้นไปจากขันธ์ คือ ความเป็นสภาพธรรมที่เกิดแล้วดับไป.

ซึ่ง ก็ขออธิบาย คำว่า ภพน้อย ภพใหญ่ จากคำอธิบายในพระไตรปิฎก แสดงความหมายของคำว่า ภพน้อย ภพใหญ่ว่า เมื่อกล่าวภึงคำว่า ภพน้อย ภพใหญ่ เป็นการแสดงอาการของการเกิด ตาย ไม่มีที่สิ้นสุด ติดต่อกันไป นี่ก็เป็นความหมายประการแรกของภพน้อย ภพใหญ่

ความหมายที่สอง ภพน้อย ภพใหญ่ หมายถึง ภพน้อย ที่เป็นที่อยู่ของสัตว์โลก คืออบายภูมิ ชื่อว่า ภพน้อย ส่วน สุคติภูมิ มี มนุษย์ สวรรค์ รูปพรหม เป็นต้น ชื่อว่าภพใหญ่

ความหมายที่สาม ภพน้อย ภพใหญ่ หมายถึง ภพน้อยที่เป็นที่อยู่ของหมู่สัตว์ ที่เกิดในกามภพ ที่เป็น อบายภูมิ 4 มี นรก สัตว์ดิรัจฉาน เปรต อสุรกาย มนุษย์และ เทวดา 6 ชั้น เป็น ภพน้อย ที่เป็นกามภพ และ ภพใหญ่ หมายถึง รูปพรหมอรูปพรหม คือ พรหมบุคคล และ อรูปพรหม ครับ

ความหมายที่ 4 ภพน้อย ภพใหญ่ หมายถึง ภพภูมิของจิต กามมาวจรจิต ชื่อว่าภพน้อย เช่น เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น เป็นต้น ส่วน รูปาวจรจิต อรูปาวจรจิต โลกุตตรจิต เป็นภพใหญ่ ใหญ่ ด้วยสภาพจิต ครับ

เพราะฉะนั้น ภพภูมิ ที่เป็นที่อยู่ของสัตว์ ก็คือ การประชุมรวมกันของรูปธรรมเท่านั้น มี ธาตุดิน น้ำ ไฟ ลม เป็นต้น ซึ่ง รูปธรรม เป็นธรรมที่มีจริง ซึ่งเป็นสังขารธรรม มีการเกิดขึ้นและดับไป เพราะฉะนั้น ภพภูมิที่เป็นที่อยู่ของสัตว์ จึงไม่เที่ยง เพราะ รูปธรรม มีการเกิดขึ้นและดับไปตลอดเวลา ในแต่ละกลาป จึงเป็นอนิจจัง เป็นทุกข์ ทนอยู่ไม่ได้ และ เป็นอนัตตา คือ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ใคร เป็นแต่เพียงรูปธรรมและบังคับไม่ให้แตกสลาย ทำลายไม่ได้ เพราะฉะนั้น แม้ไม่มีไฟ ลม น้ำ มาทำลายภพภูมิ ชั้นสูง แต่ ภพภูมินั้นก็มีการแตกทำลายไปเป็นธรรมดา ตามรูปธรรมที่ประชุมรวมกัน สมมติว่าเป็นภพภูมิ ครับ ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
khampan.a
วันที่ 9 เม.ย. 2559

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
สภาพธรรมที่เกิดเพราะเหตุปัจจัย แม้อย่างหนึ่ง ที่เที่ยง ที่ยั่งยืน ย่อมไม่มี เพราะสภาพธรรมแต่ละหนึ่งที่เกิดขึ้น ย่อมมีความดับไปเป็นธรรมดา ไม่ว่าจะเกิดในภพภูมิใด ก็คือ ความเป็นไปของสภาพธรรมที่เป็นรูปธรรม นามธรรม สั้นแสนสั้น และที่สำคัญคือ เป็นธรรมแต่ละหนึ่ง ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตน ครับ
...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
JYS
วันที่ 9 เม.ย. 2559

อนุโมทนาครับ ^_^

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
ํํญาณินทร์
วันที่ 10 เม.ย. 2559

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
wirat.k
วันที่ 11 เม.ย. 2559

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
peem
วันที่ 15 เม.ย. 2559

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ