เครื่องรัดร้อยจิตเบื้องต่ำเบื้องสูงเป็นอย่างไรเล่า
ควรวางจิตอย่างไร
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
สังโยชน์ มี ๑๐ อย่าง คือ
๑. กามราคสังโยชน์ ได้แก่ โลภเจตสิกที่เกิดกับโลภมูลจิต ๘ ดวง เช่น ขณะที่ยินดีพอใจ ในอาหารที่ทาน ขณะนั้นก็เป็นกามราคะสังโยชน์ สรุปได้ว่า เป็นความยินดีพอใจ ในรูป เสียง กลิ่น รส สิ่งที่กระทบสัมผัส ครับ
๒. รูปราคสังโยชน์ ได้แก่ โลภเจตสิกที่เกิดกับทิฏฐิคตวิปปยุตจิต ๔ ดวง คือ ความยินดีพอใจ ในการเกิดในรูปพรหม ครับ
๓. อรูปราคสังโยชน์ ได้แก่ โลภเจตสิกที่เกิดกับทิฏฐิคตวิปปยุตจิต ๔ ดวง คือ ความยินดีพอใจในการเกิดในอรูปพหรม
๔. ปฏิฆสังโยชน์ ได้แก่ โทสเจตสิกที่เกิดกับโทสมูลจิต ๒ ดวง คือ ความโกรธที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน ครับ
๕. มานะสังโยชน์ ได้แก่ มานะเจตสิกที่เกิดกับทิฏฐิคตวิปปยุตจิต ๔ ดวง คือ ขณะที่เปรียบเทียบว่า เราเก่งกว่า ด้อยกว่า เป็นมานะในขณะนั้น ครับ เป็นมานะสังโยชน์
๖. ทิฎฐิสังโยชน์ ได้แก่ ทิฏฐฺิเจตสิกที่เกิดกับโลภทิฏฐิคตสัมปยุตจิต ๔ ดวง คือขณะที่เห็นผิด เช่นเกิดความเห็นผิดว่า ตายแล้วไม่เกิด ตายแล้วไปอยู่ในสถานที่ที่เที่ยง กรรมไม่มี ผลของกรรมไม่มี เป็น ความเห็นผิดในขณะนั้น เป็น ทิฏฐิสังโยชน์ ครับ
๗. สีลัพพตปรามาสสังโยชน์ ได้แก่ ทิฎฐิเจตสิกที่เกิดกับโลภทิฏฐิคตสัมปยุตจิต ๔ ดวงคือ ความเห็นผิดเช่นกัน ครับ แต่ เป็นความเห็นผิดในข้อวัตรปฏิบัติ เช่น เข้าใจว่าการทรมานตนเองจะทำให้หลุดพ้น เป็นต้น
๘. วิจิกิจฉาสังโยชน์ ได้แก่ วิจิกิจฉาเจตสิกที่เกิดกับโมหวิจิกิจฉาสัมปยุตจิต ๑ ดวง คือ ความลังเลสงสัย เช่น ขณะที่คิดว่า พระพุทธเจ้ามีจริงหรือ สงสัยในพระรัตนตรัยนั่นเอง สงสัยว่า ข้อปฏิบัติที่จะถึงการดับทุกข์มีจริงหรือ เป็นต้น ครับ
๙. อุทธัจจสังโยชน์ ได้แก่ อุทธัจจเจตสิกที่เกิดกับอกุศลจิตทั้ง ๑๒ ดวง คือ ความฟุ้งซ่าน ขณะที่คิดด้วยอกุศล ขณะนั้น ก็ฟุ้งซ่านไป มีการคิดเรื่องการงาน เป็นต้น ครับ
๑๐. อวิชชาสังโยชน์ ได้แก่ โมหเจตสิกที่เกิดกับอกุศลจิตทั้ง ๑๒ ดวง คือ ความไม่รู้ เช่น ขณะที่คิดไม่ออก หลงลืมสติ ขณะนั้น ก็เป็นโมหะ
เมื่อกล่าวถึงความเข้าใจโดยรวมแล้ว ตราบใดก็ตามที่ยังมีกิเลสอยู่ ก็ยังไม่พ้นไปจากวัฏฏะ จนกว่าจะสามารถดับกิเลสได้ตามลำดับขั้น สูงสุด คือ ถึงความเป็นพระอรหันต์ เมื่อนั้นก็จะไม่ถูกผูกไว้ด้วยกิเลสประการต่างๆ อีก พร้อมทั้งไม่เป็นเหตุให้มีการเกิดในภพใหม่อีกต่อไป
ประโยชน์ของผู้ที่ได้ฟังได้ศึกษาธรรมในส่วนที่กล่าวถึงอกุศลธรรม นั้น คือ เข้าใจธรรมตามความเป็นจริง เห็นโทษเห็นภัยของอกุศลที่มีมากเป็นอย่างยิ่งในชีวิตประจำวัน เพื่อเป็นผู้ไม่ประมาทในการที่จะได้ฟังพระธรรม ได้ศึกษาพระธรรมอบรมเจริญปัญญา จนกว่ากิเลสทั้งปวงจะถูกดับหมดสิ้นไป ครับ.
วิธีแก้สังโยชน์ วางจิตอย่างไรนั้น ไม่มีวิธีอื่น นอกจาก การศึกษาธรรม อบรมปัญญา ปัญญาที่ค่อยๆ เกิดขึ้น สะสมจนมีกำลัง ก็จะค่อยๆ ละ สังโยชน์ ไปตามลำดับ จนละสังโยชน์ได้ในที่สุด ครับ ซึ่งต้องใช้ระยะเวลายาวนาน ในการอบรมปัญญา ครับ ขออนุโมทนา
ประโยชน์ของการฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม ก็เพื่อเข้าใจธรรมตามความเป็
ขอเชิญคลิกฟังคำบรรยายของท่
โอรัมภาคิยสัญโญชน์ - อุทธัมภาคิยสัญโญชน์
...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...