ทำไมถึงเลือกที่จะเชื่อหรือศรัทธาในพระพุทธศาสนาเหรอครับ?

 
JYS
วันที่  17 เม.ย. 2559
หมายเลข  27686
อ่าน  1,206

ทำไมถึงเลือกที่จะเชื่อหรือศรัทธาในพระพุทธศาสนาเหรอครับ?

แล้วทำไมถึงคิดว่าที่เชื่อ ที่ศึกษา เป็นความจริงเหรอครับ?

แล้วอะไรเป็นเหตุที่ให้คิดว่าการที่อบรมความรู้จนเป็นกตญาณ จะเป็นเหตุให้สตินั้นจะระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมตามความเป็นจริงเองเหรอครับ?

ทำไมถึงเชื่อว่าทุกอย่างมีเหตุปัจจัยเหรอครับ?

อยากทราบเหตุผลของแต่ละท่านๆ ครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 17 เม.ย. 2559

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ทำไมถึงเลือกที่จะเชื่อหรือศรัทธาในพระพุทธศาสนาเหรอครับ?

พุทธ หมายถึงปัญญา และ ปัญญาจะมีได้ ก็เริ่มจากการฟัง ฟังในสิ่งที่ถูกต้อง เพราะฉะนั้น ฟังค่อยๆ เข้าใจถูกในขั้นการฟังไปทีละน้อย ปัญญาค่อยๆ เจริญขึ้น ศรัทธา ความเชื่อด้วยจิตที่ดี ก็ย่อมน้อมไปในพระพุทธศาสนา ตามกำลังของปัญญาครับ

แล้วทำไมถึงคิดว่าที่เชื่อ ที่ศึกษา เป็นความจริงเหรอครับ?

@ เพราะเป็นสิ่งที่มีจริงในขณะนี้ พิสูจน์ได้ในขณะนี้ ด้วยปัญญา ความเห็นถูก ครับ

แล้วอะไรเป็นเหตุที่ให้คิดว่าการที่อบรมความรู้จนเป็นกตญาณ จะเป็นเหตุให้สตินั้นจะระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมตามความเป็นจริงเองเหรอครับ?

@ เพราะเข้าใจเหตุที่ถูกต้องตามความเป็นจริง ย่อมคล้อยตามไปสู่ผลครับ

ทำไมถึงเชื่อว่าทุกอย่างมีเหตุปัจจัยเหรอครับ?

@ เพราะ ทุกอย่างที่เกิดขึ้น จะต้องมีเหตุ เชื่อว่า ได้อ่านศึกษาพระธรรม ว่าทุกอย่างเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ซึ่งกำลังมี กำลังเกิดในชีวิตประจำวัน เห็น มีได้ ก็ต้องมีตา เป็นต้น ครับ ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
ปาริชาตะ
วันที่ 17 เม.ย. 2559

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
khampan.a
วันที่ 17 เม.ย. 2559

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

เมื่อกล่าวถึงสภาพธรรมแล้ว ก็เป็นสิ่งที่มีจริง ไม่มีสัตว์ ไม่มีบุคคล ไม่มีตัวตน แม้แต่ศรัทธาก็เช่นเดียวกัน เป็นสภาพธรรมที่มีจริงๆ เกิดร่วมกับจิตที่ดีงามทุกประเภท แม้ในการฟังการศึกษาพระธรรม ถ้าไม่มีศรัทธาแล้ว จะไม่ฟังอย่างแน่นอน เพราะไม่เห็นประโยชน์ไม่เห็นคุณค่า แต่เพราะมีศรัทธา พร้อมด้วยโสภณธรรมอื่นๆ เกิดขึ้น จึงมีการฟังมีการศึกษาพระธรรม ซึ่งจะเห็นได้จริงๆ ว่า เพราะมีศรัทธา มีความเลื่อมใสในพระธรรมคำสอนที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงว่าเป็นการกล่าวถึงสภาพธรรมที่มีจริง เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลในการที่จะทำให้เข้าใจสิ่งที่มีจริง ที่ไม่เคยรู้มาก่อนว่าเป็นธรรม จึงไม่ละเลยโอกาสที่สำคัญ ที่จะทำให้ตนเองได้มีความเข้าใจถูกเห็นถูกด้วยการตั้งใจฟังพระธรรม ไตร่ตรองในสิ่งที่ได้ยินได้ฟัง ซึ่งจะเป็นเหตุให้ความเข้าใจถูกเห็นถูก ค่อยๆ เจริญขึ้น เป็นเหตุให้มีการรู้ลักษณะของสภาพธรรมได้ในที่สุด และที่สำคัญ ลักษณะประการหนึ่งของผู้มีศรัทธาก็คือ เป็นผู้มีความใคร่ คือ มีความประสงค์ที่จะฟังพระธรรม ครับ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
thilda
วันที่ 17 เม.ย. 2559

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
juniorlll
วันที่ 17 เม.ย. 2559

อย่าไปเลือกอะไรเลย ถ้าศึกษาทั้งหมดได้

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
ํํญาณินทร์
วันที่ 18 เม.ย. 2559

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
สุณี
วันที่ 18 เม.ย. 2559

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
j.jim
วันที่ 19 เม.ย. 2559

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
hetingsong
วันที่ 19 เม.ย. 2559

เพราะเห็นทุกข์ และหาทางพ้นทุกข์

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
Chaiwit
วันที่ 19 เม.ย. 2559

ขอบพระคุณมากครับ ได้ความรู้เพิ่ม

รบกวนถามเรื่อง กตญาณ หมายถึงอะไรครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
ประสาน
วันที่ 20 เม.ย. 2559

พิสูจน์ พิสูจน์ และต้องพิสูจน์ครับ ด้วยการฟังๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ แล้วค่อยๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ เข้าใจขึ้นครับ

(ฟังสิ่งที่ถูกต้อง) เห็นด้วยกับความคิดเห็นที่ 1 และ 3 ครับ

อนุโมทนาในกุศลจิตทุกๆ ท่านครับ สาธุๆ ๆ ๐๐๐

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
wannee.s
วันที่ 20 เม.ย. 2559

พระพุทธเจ้าตรัสรู้ความจริง ทรงแสดงธรรมเพื่อให้สัตว์โลกพ้นทุกข์ ศาสนาพุทธเน้นเรื่องของปัญญา และเรื่องของเหตุผล เรื่องของกรรม อย่างเช่น ท่านพระสารีบุตร ได้ฟังธรรมจากท่านพระอัสสชิว่าธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ พระตถาคตตรัสเหตุแห่งการดับธรรมนั้น ท่านพระสารีบุตรได้บรรลุเป็นพระโสดาบัน เพราะท่านได้สะสมบำเพ็ญบารมีมาแล้ว เมื่อเหตุปัจจัยพร้อมท่านก็ได้ดวงตาเห็นธรรมค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
rrebs10576
วันที่ 20 เม.ย. 2559

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 16  
 
นิคม
วันที่ 22 เม.ย. 2559

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 18  
 
chatchai.k
วันที่ 24 เม.ย. 2559

เรียนคุณ Chaiwit ความเห็นที่ 11

กตญาณ
กต (กระทำกิจแล้ว) + ญาณ (ความรู้) ญาณ คือ ความรู้ที่รู้ภาวะแห่งกิจที่กระทำแล้ว หมายถึง ความรู้ชัดซึ่งกิจในอริยสัจจ์ ๔ ที่ได้กระทำแล้ว คือรู้ว่า ทุกขสัจจ์ได้กำหนดรู้แล้ว สมุทัยสัจจ์ละได้แล้ว นิโรธสัจจ์กระทำให้แจ้งแล้ว และมรรคสัจจ์ได้เจริญแล้ว

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ