อย่างไรจึงชื่อว่า "การถืออุโบสถ"

 
JYS
วันที่  17 เม.ย. 2559
หมายเลข  27694
อ่าน  1,069

โดยกล่าวถึงที่สุดอะครับ

การถืออุโบสถที่ถูกต้องตามพระธรรมคืออย่างไรครับ?

ขออนุโมทนาครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 17 เม.ย. 2559

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

การรักษาศีลอุโบสถ จุดประสงค์เพื่อขัดเกลากิเลสมากขึ้น แต่ต้องรู้จักอุปนิสัยของตน และจุดประสงค์ว่ารักษาเพื่ออะไร ถ้ารักษาเพื่อจะได้บุญมากหรือเพื่ออานิสงส์อื่น รวมทั้ง จะได้เกิดในภพที่ดี เป็นเทวดาเป็นต้น ตรงนี้ไม่ใช่จุดประสงค์ที่ถูกต้อง แต่ที่ถูกคือ เพื่อขัดเกลากิเลสของตนเองเพิ่มขึ้นจากศีล 5 และเป็นไปเพื่อการละและดับกิเลสส่วนเดียวเท่านั้นครับ ดังข้อความในพระไตรปิฎกเรื่อง จุดประสงค์ที่ถูกและผิดในการรักษาศีลอุโบสถครับ

ข้อความบางตอนจาก ทุติยราชสูตร

[๔๗๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ท้าวสักกะจอมเทวดา เมื่อจะปลุกใจเหล่าเทวดาดาวดึงส์ จึงภาษิตคาถานี้ในเวลานั้นว่า

แม้ผู้ใดพึงเป็นเช่นดังข้าพเจ้า ผู้นั้นก็พึงถืออุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘ ในดิถีที่ ๑๔ ที่ ๑๕ และที่ ๘ แห่งปักษ์ และถืออุโบสถปาฏิหาริยปักษ์เถิด

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลคาถานั้นนั่น ท้าวสักกะจอมเทวดาขับไม่เข้าที ไม่เป็นการขับดีแล้ว กล่าวไม่เหมาะ ไม่เป็นสุภาษิต นั่นเพราะเหตุอะไร เพราะท้าวสักกะจอมเทวดายังไม่ปราศจากราคะ ...โทสะ ...โมหะ ส่วนภิกษุผู้เป็นพระอรหันต์สิ้นอาสวะแล้ว สำเร็จแล้ว ทำกิจที่ควรทำแล้ว ปลงภาระแล้ว เสร็จประโยชน์ตนแล้ว สิ้นเครื่องร้อยรัดไว้ในภพแล้ว หลุดพ้นด้วยความรู้ชอบแล้ว จึงควรกล่าวคาถานั่นว่า

แม้ผู้ใดพึงเป็นเช่นดังข้าพเจ้า ผู้นั้นก็พึงถืออุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘ ในดิถีที่ ๑๔ ที่ ๑๕ และที่ ๘ แห่งปักษ์ และถืออุโบสถปาฏิหาริยปักษ์เถิด.

นั่นเพราะเหตุอะไร เพราะภิกษุนั้น ปราศจากราคะ...โทสะ...โมหะแล้ว

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
ํํญาณินทร์
วันที่ 18 เม.ย. 2559

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
ปาริชาตะ
วันที่ 18 เม.ย. 2559

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
kullawat
วันที่ 18 เม.ย. 2559

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
JYS
วันที่ 18 เม.ย. 2559

อนุโมทนาครับ ^_^

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
khampan.a
วันที่ 18 เม.ย. 2559

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
สำคัญที่จุดประสงค์จริงๆ ว่า เพื่ออะไร เป็นเรื่องของการขัดเกลากิเลสจริงๆ สำหรับการรักษาอุโบสถศีล ไม่ได้จำกัดที่รูปแบบหรือวิธีการ แต่อยู่ที่สภาพจิตใจของผู้ที่รักษา และสิ่งที่ควรทำในวันดังกล่าว ก็สำคัญอยู่ที่การมีโอกาสได้ฟังพระธรรม สะสมความเข้าใจถูกเห็นถูก พร้อมกับความตั้งใจที่จะสมาทานงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ จากการลักทรัพย์ จากการประพฤติในสิ่งที่ไม่ประเสริฐ จากการบริโภคอารหารในเวลาวิกาล จากการฟ้อนรำประโคมดนตรี และ การประดับตกแต่งร่างกาย และ จากการนอนบนที่นอนสูงใหญ่ เพราะผู้ที่ยังมีกิเลสนั้น จะต้องอาศัยการขัดเกลามากมาย ถ้าเป็นวัตถุพระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงอุปมาว่าจะต้องใช้ขี้ตะกรัน ดินเหนียว หรืออาศัยเกลือ น้ำด่าง น้ำ อาศัยน้ำมัน อาศัยขี้เถ้า เป็นต้น ในการขัด แต่ในการขัดเกลากิเลสนั้นต้องอาศัยการเจริญกุศลทีละเล็กละน้อย ผู้ที่ยังไม่ได้เจริญสติปัฏฐาน (ระลึกรู้สภาพธรรม) มากพอที่จะบรรลุเป็นพระอริยบุคคลในวันนี้ พรุ่งนี้ นั้น โอกาสใดที่จะเจริญกุศลขัดเกลากิเลส ก็ไม่ควรละเว้นโอกาสนั้น
จะเห็นได้ว่า การขัดเกลากิเลส และความดีนั้น ไม่จำกัด ยิ่งเจริญมากเท่าไรก็ยิ่งเป็นประโยชน์ อุโบสถก็เช่นเดียวกัน ไม่ควรจะจำกัดเวลาว่าเฉพาะวันอุโบสถเท่านั้น แต่การกุศลทุกประเภทนั้นควรเจริญโดยไม่จำกัดเวลา ถ้าไม่สามารถรักษาศีล ๘ ได้ เพียงศีล ๕ ก็เป็นประโยชน์เช่นเดียวกันถ้ามีความจริงใจ มีความตั้งใจที่จะงดเว้นจากความประพฤติที่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่น ในขณะที่งดเว้นนั้น ก็เป็นความดีสำหรับตนเอง เป็นการขัดเกลากิเลสของตนเอง ครับ.
...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
peem
วันที่ 18 เม.ย. 2559

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
tuijin
วันที่ 19 เม.ย. 2559

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
wannee.s
วันที่ 20 เม.ย. 2559

ขึ้นอยู่กับอุปนิสัย และการสะสมมาไม่เหมือนกัน บางคนรักษาศีล 5 มีปัญญาด้วย บางคนรักษาศีล 8 แต่ไม่ประกอบด้วยปัญญาก็ได้ เช่น รักษาเพื่ออยากสวย อยากเกิดในสวรรค์ เป็นต้น ค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ