ในยุคนี้ภิกขุในพระธรรมวินัย
การบวชเพื่อ "ทดแทน" บุญคุณ ไม่ใช่การบวชที่แท้จริง
เพราะการบวชเป็นพระภิกขุ คือ "ต้องเป็นผู้เห็นภัยในสังสารวัฏฏ์" และมี "อัธยาศัย" ที่จะ "ขัดเกลากิเลส" ยิ่งกว่า "เพศคฤหัสถ์" เป็นผู้ห่างไกลกว่าเพศคฤหัสถ์อย่างยิ่ง
เพื่อพิจารณาอย่างละเอียดแล้ว การบวชเณร การอุปสมบท ภาคฤดูร้อน ตามประเพณี ต่างๆ นานา
บุคคลที่บวชก็ไม่ได้มีอัธยาศัยเลย ไม่ได้บวชเพื่อขัดเกลา ไม่ได้เห็นภัยในสังสารวัฏฏ์
บ้างว่าก็บวชกันไม่ให้บิดามารดาตกนรก แต่นั่นก็ไม่ใช่หนทางที่ถูกต้องเลย เพราะ "ทำตามๆ กันไป" ฉะนั้นจึงถือว่า ไม่ได้เคารพในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เลยแม้แต่น้อย
ไม่ต้องพูดถึงเรื่องการศึกษาธรรมหรือนำพระไตรปิฎกมาอ่านเลย อยากบวชแต่ไม่ได้ตั้งใจละกิเลสแล้วก็ไม่เคารพในพระรัตนตรัยก็ว่าแย่แล้ว ซ้ำยัง "จับจ่ายใช้สอยเงิน" ไม่ศึกษาพระธรรม ไม่เคยแม้กระทั่งพูดถึงอธิบายถึงคำว่า "ธัมมะ"
ไม่มีความเข้าใจในคำว่า "ธัมมะ" ไม่รู้จักคำว่าธัมมะ
สมัยก่อนๆ ผมรู้มาว่าพวกที่เป็นทหาร ทหารเกณฑ์อะไรพวกนี้ เมื่อออกจากการเป็นทหารก็จะไปบวชแต่เขาเหล่านั้น "บวชเพื่อพักผ่อน" ผมรู้สึกสลดใจมาก คนเหล่านั้นหาใช่ภิกษุในพระธรรมวินัยไม่
หลายรูปสูบบุหรี่ในวัด สลดใจอย่างยิ่ง เลี้ยงสุนัข เลี้ยงแมว ภิกษุเลี้ยงสัตว์ไม่ได้แล้วก็ไม่มีหน่วยงานไหนเข้ามาช่วย ทั้งที่ปฏิญาณตนเองว่าเป็น "อุบาสก อุบาสิกา" ก็ไม่ได้เข้ามาช่วยเหลือเลย
รับศีล ๕ แต่เอาสุนัข เอาแมว มาทิ้งไว้ในวัดให้พระภิกษุเลี้ยง
พระพุทธศาสนาในยุคกึ่งพุทธกาลนี้ยังเสื่อมขนาดนี้ จะป่วยกล่าวไปใยในอีก ๒๐๐๐ กว่าปีข้างหน้า
มนุษย์มีอายุ ๕๐ ปี พระศาสนาก็อันตรธาน
อยากทราบถึงความหมายของคำว่า "ภิกขุ" ที่แท้จริงและคำว่าภิกขุยังมีความหมายในนัยอื่นมากน้อยเพียงใดที่ปรากฏในพระไตรปิฎกและอรรถกถา?
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
คำว่า ภิกษุ หรือ ภิกขุ เป็นคำที่ใช้เรียก สำหรับผู้ที่บวชในพระศาสนานี้ คือ ในพระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง สละ คฤหัสถ์ ออกจากเรือน บวชเป็นพระภิกษุซึ่งเป็นคำที่ใช้เรียกทั่วไป สำหรับผู้ที่บวชแล้ว แต่ก็ยังมีความหมายลึกซึ้ง ของคำว่าภิกษุ หรือ ภิกขุ ที่หมายถึง ผู้ขอ หรือผู้มีปกติขอ เพราะธรรมดา ผู้ที่บวชในพระพุทธศาสนาย่อมเลี้ยงชีพโดยการเป็นผู้ขอ ไม่ประกอบอาชีพ เลี้ยงตนเอง แต่ขอเพื่อความดำรงอยู่ เป็นไปในการดำรงชีวิต อันเป็นไปเพื่อดับกิเลส เป็นประโยชน์กับผู้ที่ถวายทาน กับพระภิกษุ ที่จะได้บุญด้วยครับ ภิกขุจึงหมายถึงผู้เลี้ยงชีพโดยการขอ เป็นปกติ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑- หน้าที่ 40
บทว่า ภิกฺขุ เป็นบทกล่าวถึงบุคคลที่ควรจะได้ฟังพระเทศนา. อีกอย่างหนึ่ง ในบทว่า ภิกฺขุ นี้ พึงทราบความหมายของคำโดยนัยเป็นต้นว่า ชื่อว่า ภิกขุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้ขอ คือ ชื่อว่า ภิกขุเพราะอรรถว่า เข้าถึงการเที่ยวไปเพื่อภิกษา.
แต่ ยังมีความละเอียดลึกซึ้ง ที่แสดง ถึง คำว่า ภิกษุ โดยปรมัตถ โดยสัจจะ ความจริงว่า ภิกขุ ภิกษุ อีกความหมายหนึ่ง คือ ผู้ที่ดับกิเลสหมดสิ้นแล้ว จึงจะชื่อว่า ภิกษุ ซึ่งในพระไตรปิฎก มีพราหมณ์ท่านหนึ่ง ได้ เป็นผู้ขออาหารเป็นปกติเช่นกัน แต่ไม่ใช่พระภิกษุในพระพุทธศาสนา ทูลถามพระพุทธเจ้าว่า แม้ตัวท่านก็เป็นผู้ขอพระภิกษุก็เป็นผู้ขอ อย่างนี้ จะแตกต่างกันยังไง ในมื่อเป็นผู้ขอ เป็นภิกขุเหมือนกัน พระพุทธเจ้าตรัสว่า
[๗๑๗] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
บุคคลหาชื่อว่าเป็นภิกษุเพียงด้วยการขอคนอื่นไม่ บุคคลสมาทานธรรมเป็นพิษ หาชื่อว่าเป็นภิกษุได้ไม่ ผู้ใดในโลกนี้ละบุญและบาปเสียแล้ว ประพฤติพรหมจรรย์ด้วยการพิจารณา ผู้นั้นแล ชื่อว่าเป็น ภิกษุ.
ขออนุโมทนา
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
พระภิกษุในพระธรรมวินัยจริงๆ หายาก เพราะไม่ได้มีความเข้าใจพระธรรมวินัย ไม่ได้น้อมประพฤติตามพระธรรมวินัย ไม่ได้ขัดเกลากิเลสของตนเอง ลืมจุดประสงค์ของการบวช เห็นว่าเป็นเรื่องเล่นๆ ประมาทมัวเมา ไม่เห็นโทษของกิเลส
แท้ที่จริงแล้ว พระภิกษุทุกรูปในสมัยพุทธกาล ทั้งหมดและทุกยุคทุกสมัยด้วย ต้องเคารพในพระวินัยที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้ ซึ่งจะต้องศึกษาพระธรรมวินัยให้เข้าใจ น้อมประพฤติในสิ่งที่ถูกต้อง ละเว้นในสิ่งที่ผิดที่ขัดต่อความประพฤติเป็นไปของพระภิกษุอันเป็นเพศที่สูงยิ่ง
ดังนั้น สิ่งใดก็ตามที่จะทำให้เกิดอกุศลพอกพูนมากยิ่งขึ้น ไม่ได้เป็นไปเพื่อขัดเกลากิเลสของตนเอง สิ่งนั้นพระภิกษุ ทำไม่ได้ ยกตัวอย่างเช่น การรับเงินรับทอง การมีเงินมีทอง พระภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ รับเงินและทองไม่ได้ เป็นผู้ปราศจากเงินและทองอย่างสิ้นเชิง เพราะท่านเหล่านั้น ต้องสละทรัพย์สินเงินทองก่อนอุปสมบทเป็นพระภิกษุแล้ว จึงรับเงินและทองไม่ได้ เงินทองไม่ควรแก่พระภิกษุโดยประการทั้งปวง ครับ
...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...