ในขณะที่วิบากส่งผล

 
empty
วันที่  5 ก.พ. 2550
หมายเลข  2776
อ่าน  1,495

ในขณะที่วิบากส่งผลสภาวธรรมที่ปรากฏเกิดขึ้น สติระลึกรู้ในขณะนั้นไม่มีสภาพธรรม ปรุงแต่งใดๆ ทั้งสิ้นเพราะเหตุใดจึงมีจิตที่เห็นดีและไม่ดี ฯ ในอเหตุกวิปากจิตคะ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 6 ก.พ. 2550

วิบากคือผลของกุศลกรรมและผลของอกุศลกรรม ได้แก่ วิบากจิต วิบากเจตสิก วิบากจิต และเจตสิกเกิดขึ้นพร้อมกันโดยกระทำกิจต่างๆ เช่น ปฏิสนธิจิต ภวังคจิต จุติจิต จิตเห็น จิตได้ยิน จิตรู้กลิ่น จิตรู้รส จิตรู้กระทบสัมผัส เป็นต้น จิตเหล่านี้เป็น วิบากคือผลของกรรม เมื่อจิตเจตสิกเหล่านี้เกิดขึ้นกระทำหน้าที่ของตนๆ แต่ไม่ก่อให้ เกิดวิบากอีกต่อไป

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
empty
วันที่ 6 ก.พ. 2550

เข้าใจในหลักการค่ะ แต่ผลของกุศลและอกุศลในขณะที่ส่งผลถ้ามีสติระลึกรู้ในขณะ นั้นก็จะไม่มีความแตกต่างกันเลยใช่ไหมคะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
study
วันที่ 6 ก.พ. 2550
ตัวสติไม่ต่างกันแม้อารมณ์จะเป็นอกุศล หรือกุศล หรือวิบาก หรือรูปก็ตาม
 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
empty
วันที่ 6 ก.พ. 2550
แต่ต่างกันที่ปัญญาเจตสิกเกิดร่วมด้วยในขณะนั้นใช่ไหมคะ
 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
empty
วันที่ 6 ก.พ. 2550

มีข้อยกเว้นในพระวินัยไหมคะที่ให้บวชได้โดยไม่ต้องขออนุญาติจากบิดามารดาที่ยัง มีชีวิตอยู่ เพราะถ้าบิดามารดามีมิจฉาทิฏฐิ แต่กุลบุตรได้สะสมอบรมปัญญาเกื้อกูลต่อ การถือเพศบรรพชิต แต่บิดามารดาไม่ยินยอมจะทำอย่างไร (ในครั้งพุทธกาลมีพระรัฐ ปาล เป็นต้น) และในเมื่อไม่มีสัตว์ ไม่มีบุคคล ไ ม่มีตัวตน มีแต่สภาวธรรมที่เกิดขึ้น กระทำหน้าที่ของตนๆ เหตุใดจึงต้องขอความยินยอมจากบิดามารดา ถ้าบวชไปโดย ไม่ได้รับความยินยอมก็จะไม่ได้มรรค ผล นิพพานตามความเชื่อของบุคคลทั่วไปซึ่งไม่ เกี่ยวเลย เพราะสภาวธรรมเมื่อมีเหตุมีปัจจัยให้เกิดจึงเกิดขึ้นกระทำกิจของตนๆ เมื่อกระทำกิจของตนเสร็จสิ้นแล้วก็ดับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
empty
วันที่ 6 ก.พ. 2550

แต่ทำไมในชาร์ตจิตจะต้องระบุว่าเห็นดี เห็นไม่ดี ซึ่งตรงนั้นเป็นสภาพธรรมที่ปรุง แต่งดีและไม่ดีแตกต่างกันไปตามการสะสม ถ้าจะแยกตามเหตุที่มาของกุศลกรรมหรือ อกุศลกรรม ก็ไม่จำเป็นต้องระบุว่า เห็นดีหรือเห็นไม่ดี เช่น ถ้าเดียรถีเห็นพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นกุศลกรรมส่งผลแต่สภาพธรรมปรุงแต่งให้ไม่ดีก็ได้ ฉะนั้นจึงไม่แน่ว่ากุศลกรรม ส่งผลแล้วต้องเห็นดี ใช่ไหมคะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
shumporn.t
วันที่ 6 ก.พ. 2550

กรรมเป็นเหตุ วิบากเป็นผล เหตุดีย่อมได้วิบากดี เหตุชั่วย่อมได้วิบากชั่ว ขณะเห็นเป็น วิบากจิต เห็นพระพุทธเจ้าย่อมเป็นกุศลวิบากแน่นอน ส่วนกุศลวิบากเป็นปัจจัยให้เกิด กุศลจิตหรืออกุศลจิตได้ตามการสะสม ส่วนใหญ่เห็นสิ่งที่สวยงามย่อมพอใจ เห็นสิ่งที่ สกปรกย่อมไม่ชอบ มีอกุศลเป็นปกติ น้อยครั้งที่เห็นแล้วจะทำให้เกิด ทาน ศีล ภาวนา

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 6 ก.พ. 2550

ขออนุญาติ อธิบายที่คุณกล่าวว่า ขณะนั้นไม่มีปัจจัยปรุงแต่งใดๆ ทั้งสิ้น เมื่อมีจิต ก็ต้องมีเจตสิกเกิดร่วมด้วยเสมอ เจตสิกนั่นแหละเป็นสภาพธัมมะที่ปรุงแต่งจิต ดังนั้น แม้จิตเห็นก็มีเจตสิกเกิดร่วมด้วยนะครับ ดังนั้น จิตเห็นจึงเป็นสภาพธัมมะที่มีปัจจัยปรุง แต่งด้วย อาจจะเข้าใจว่า ปรุงแต่งคือขณะที่คิดนึกหรือเป็นอกุศล แต่ไม่ใช่ครับ เมื่อ ใดจิตเกิดต้องมีเจตสิกเกิดร่วมด้วยปรุงแต่งแล้วครับ

เพราะเหตุใดจึงมีจิตที่เห็นดีและไม่ดี?

เห็นสิ่งที่ดี และไม่ดี เมื่อจิตเกิดต้องมีอารมณ (สิ่งที่ถูกรู้) แม้จิตเห็นก็มีอารมณ์ อารมณ์ ของจิตก็มีทั้งที่ดีและไม่ดี เห็นขยะก็เป็นอารมณ์ที่ไม่ดี เห็นพระพุทธเจ้าก็เป็นอารณ์ที่ ดี แต่ท้ายสุด เมื่อจิตมีเจตสิกจึงต้องมีการปรุงแต่งครับ (จิตเห็นมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย 7 ดวงครับ)

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
empty
วันที่ 7 ก.พ. 2550
ยังไม่ได้รับคำตอบที่ตรงกับคำถามเลยค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
shumporn.t
วันที่ 7 ก.พ. 2550

สัจจธรรมคือ ความจริง พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ความจริง มีอกุศลกรรมย่อมมี อกุศลวิบาก การที่จะรู้ว่าวิบากจิตนั้นเป็นกุศลวิบากหรืออกุศลวิบากนั้นรู้ได้ด้วยปัญญา คนส่วนใหญ่ผู้ไม่มีปกติเจริญสติรู้ได้โดยการศึกษาว่า ขณะที่เห็นสิ่งที่ดีเช่นเห็นพระ พุทธเจ้า หรือฟังธรรมย่อมเป็นกุศลวิบาก เมื่อเปรียบกับเสียงนินทาหรือเสียงด่าว่า ซึ่งสภาพธรรมปรากฏให้เห็นอยู่แล้วว่า สภาพจิตที่ดีและสภาพจิตที่ทรามเป็นอย่างไร วินัยเป็นข้อบัญญัติสำหรับพระภิภษุ เพื่อให้เห็นโทษของอกุศลธรรมต่างๆ เพื่อขัด เกลากิเลส การขัดเกลากิเลสเป็นไปได้ทั้งฆารวาสและบรรพชิต สำหรับผู้มิได้ บวชก็สามารถอบรมเนกขัมมะในชีวิตประจำวันได้ บิดามารดาเสมือนพรหมของบุตร เป็นบุรพจารย์ เป็นเนื้อนาบุญสำหรับบุตร เป็นโอกาสที่ยังกุศลธรรมมากมาย เช่น หิริโอตตัปปะ การละอาย การกลัว การเคารพยำเกรงอย่างสูงต่อบุตร ขัด เกลาความนอบน้อม ความมีระเบียบวินัยกฏเกณฑ์ซึ่งเป็นศีลในชีวิตประจำวัน ส่วน การไม่มีสัตว์ ไม่มีบุคคลนั้นเป็นปัญญาขั้นสูง เป็นกุศลจิตที่ประกอบด้วยปัญญา รู้ สภาพธรรมตามความเป็นจริง เป็นปัญญาที่อบรมไปสามารถละความเห็นผิดได้ เป้า- หมายในการศึกษาเพื่อรู้แล้วขัดเกลากิเลสเป็นสำคัญ การคิดจะบวชนั้นแล้วแต่ อัชฌาสัยแต่เป้าหมายต้องเพื่อศึกษารู้แล้วขัดเกลา

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
study
วันที่ 7 ก.พ. 2550

ตอบความเห็นที่ 5

ตามพระวินัยบัญญัติพระอุปัชฌายะจะบวชให้กุลบุบตรที่ได้รับอนุญาตจากมารดา บิดาแล้วเท่านั้น พระวินัยข้อนี้ไม่มีข้อยกเว้น แต่ขืนบวชให้พระอุปัชฌายะต้อง อาบัติ แต่ไม่มีโทษแก่กุลบุตรผู้บวช คือไม่กั้นการบรรลุมรรคผลแต่อย่างใด สำหรับ บัณฑิตทั้งหลายท่านย่อมฉลาดทั้งโลกบัญญัติและปรมัตถ์ โดยปรมัตถ์ไม่มีสัตว์บุคคล จริง แต่โดยโวหารของชาวโลก พระภิกษุทุกรูปต้องประพฤติตามพระวินัยบัญญัติที่ พระพุทธองค์ทรงบัญญัติไว้ จะอ้างว่าไม่มีสัตว์บุคคลไม่ได้ เพราะการอบรมเจริญ ปัญญาต้องอาศัยองค์ของศีลเป็นส่วนหนึ่ง จึงจะรู้แจ้งอริยสัจจะได้

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
empty
วันที่ 7 ก.พ. 2550
กราบขอบพระคุณทุกท่านที่ชี้แนะทางสว่างให้ ขออนุโมทนาบุญด้วยค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
olive
วันที่ 8 ก.พ. 2550

สาธุ เป็นข้อสนทนาที่ดีจริงๆ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ