อาราธนาศีล ต่อหน้าพระพุทธรูปได้หรือไม่

 
watana
วันที่  5 ก.พ. 2550
หมายเลข  2777
อ่าน  8,507

ข้าพเจ้าได้ปฏิบัตธรรม โดยยึดถือศีล 5 ในวันธรรมดา และถือศีลอุโบสถในวันพระ มีข้อข้องใจว่าการอาราธนาศีล จะอาราธนากับพระพุทธรูปได้หรือไม่ หรือต้อง อาราธนากับพระภิษุสงฆ์เท่านั้น


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 6 ก.พ. 2550

การสมาทานศีล สามารถสมาทานด้วยตนเองก็ได้ สมาทานกับพระภิกษุสามเณรก็ได้สมาทานต่อหน้าพระพุทธรูป เจดีย์ ต้นโพธิ์ หรือพระบรมสารีริกธาตุก็ได้

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
wannee.s
วันที่ 6 ก.พ. 2550

วิรัติ มี 2 อย่าง

1. สมาทานวิรัติ งดเว้นด้วยการสมาทาน

2. สัมปัตตวิรัติ งดเว้น เมื่อมีเหตุการณ์เฉพาะหน้า

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 6 ก.พ. 2550
อนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
จรัล
วันที่ 7 ก.พ. 2550
อนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
ธีรวังโส
วันที่ 7 ก.พ. 2550
สาธุ อนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
บัวสีขาว
วันที่ 7 ก.พ. 2550

ขอคำอธิบายเรื่องการวิรัติศีลด้วยค่ะ อีกประการหนึ่ง ถ้าในวันพระต้องการถือศีล อุโบสถแต่ด้วยหน้าที่การงานในบางครั้งต้องแต่งหน้า (ซึ่งศีล 8 มีข้อห้ามข้อหนึ่งคือ ละเว้นจากการผัดหน้าและใช้เครื่องประทินผิวใดๆ ) เช่น มีหน้าที่ดำเนินการในงาน สัมมนา ซึ่งอาจใช้เวลาในงาน 3 ชั่วโมง เราสามารถวิรัติศีลในข้อสัมปัตวิรัติ แล้วหลังจากเสร็จงาน จึงกลับมาถือศีล 8 ต่อจนครบวาระในวันพระได้หรือไม่คะ (ในที่นี้หมายถึง สมาทานศีลตั้งแต่เช้าก่อนออกจากบ้าน แล้วยกเว้นด้วยหน้าที่กะ งาน 3 ชั่วโมง หลังจากนั้นล้างหน้าออกแล้วถือศีล 8 ต่อได้ไหมคะ) ต้องการทราบ ว่าถ้ามีเหตุให้ศีลขาด เมื่อเราสมาทานศีลไปแล้ว ถ้าต้องการต่อศีลใหม่ (ในวันเดียวกัน นั้น) ต้องมีบทสวดมนต์ และขั้นตอนอย่างไรบ้างคะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 7 ก.พ. 2550

เรามาเข้าใจเวัตถุประสงค์ที่ถูกต้องของการรักษาศีลกันก่อนครับ ก่อนจะทำอะไรก็ต้องเริ่มที่จุดประสงค์ที่ถูกต้องเสียก่อน

รักษาศีล 5 เพื่ออะไร เพราะเห็นโทษของกิเลสที่ล่วงออกมาทาง กาย วาจา ในชีวิตประจำวัน ต้องประกอบด้วยปัญญาที่เห็นโทษของกิเลสด้วยครับ

รักษาศีล 8 เพื่ออะไร โดยนัยเดียวกัน แต่ละเอียดตรงที่ว่า ถ้ารักษาเพื่อ รูป เสียง...ตรงนี้ผิด ต้องเพื่อขัดเกลากิเลส เท่านั้น

ปฏิบัติธรรมคืออะไร ถ้าไม่ได้รักษาศีล 5 ศีล 8 ปฏิบัติธรรมได้ไหม ลองคิดนะ ครับปฏิบัติธรรมก็คือ ธัมมะปฏิบัติหน้าที่ของเขา ธัมมะก็มีหลายอย่าง ดังนั้น จึง ต้องเป็นธัมมะฝ่ายดี เท่านั้น จึงจะเรียกว่าปฏิบัติธรรม (เป็นกุศล) ธรรมจึงทำหน้าที่ (กุศล) ไม่ใช่ตัวเราไปปฏิบัติธรรมครับ

การอาราธนาศีล จะอาราธนากับพระพุทธรูปได้หรือไม่ หรือต้องอาราธนากับพระภิษุสงฆ์เท่านั้น?

การสมาทานต้องเป็นกุศลใช่ไหมครับ กุศลอยู่ที่ไหน อยู่ที่จิต จิตที่เป็นกุศล จำกัดสถานที่หรือเปล่าในการเกิด ก็ไม่ครับ ดังนั้น ที่ไหนก็ได้ที่เห็นโทษของกิเลสทาง กาย วาจาและที่สำคัญที่สุด กุศลก็บังคับบัญชาไม่ได้ ครับ รวมทั้งสถานที่ ที่กุศลจะ เกิดด้วย

อนุโมทนาครับ

ตอบคำถามคุณบัวขาว...

ขอคำอธิบายเรื่องการวิรัติศีลด้วยค่ะ

การวิรัติ มี 2 อย่าง

1. สมาทานวิรัติ หมายถึง การที่เราเห็นโทษของกิเลสทางกาย วาจา จึงงดเว้น ด้วยการสมาทาน (ถือเอาด้วยดี) ที่ไหนก็ได้ครับ โดยที่ยังไม่เจอเหตุการณ์ที่จะให้ล่วง ศีล เช่น สมาทานตอนเช้า เป็นต้น

2. สัมปัตวิรัติ หมายถึง การที่เราเจอเหตุการณ์เฉพาะหน้าที่จะล่วงศีล แต่ก็งดเว้นไม่ทำขณะนั้น เช่น ยุงมากัด ก็งดเว้นที่จะไม่ฆ่า ในที่นี้หมายถึง สมาทานศีลตั้งแต่เช้าก่อนออกจากบ้าน แล้วยกเว้นด้วย หน้าที่การงาน 3 ชั่วโมง หลังจากนั้นล้างหน้าออกแล้วถือศีล 8 ต่อได้ไหมคะ?

ไม่ถูกต้องครับ เมื่อสมาทานตั้งแต่เช้าแล้ว ก็ไม่ควรทำการล่วงศีล ที่สำคัญผม ก็ได้อธิบายจุดประสงค์ของการรักษาศีล 8 แล้วเพื่ออะไร ไม่ใช่เพื่อต้องการบุญ ถ้า วันนั้นไม่สะดวกก็ไม่ควรรักษา กุศลขั้นอื่นก็มีมากมายครับ ถ้าอยากรักษาจุดประสงค์ ต้องถูก ขอแนะนำว่า ถ้ามีภารกิจตอนเช้า ก็สามารถรักษาได้กึ่งหนึ่ง เช่น รักษา ตอนกลางวัน เรื่อยไป หรือแม้แต่ ตอนกลางคืน เท่านั้น ถ้าเราไม่สะดวก ยังไงผมจะ เอาตัวอย่างในพระไตรปิฎกมาให้อ่านตอนท้ายสุด เรื่องรักษากึ่งหนึ่งครับ

ต้องการทราบว่าถ้ามีเหตุให้ศีลขาด เมื่อเราสมาทานศีลไปแล้ว ถ้าต้องการต่อ ศีลใหม่ (ในวันเดียวกันนั้น) ต้องมีบทสวดมนต์ และขั้นตอนอย่างไรบ้างคะ?

ก็เหมือนกับที่เราเคยสมาทานตอนเช้านั่นแหละครับ เมื่อศีลขาด แต่ศีลก็จะไม่ครบวันหนึ่งคืนหนึ่งนะครับ จะขอยกข้อความในพระไตรปิฎก เรื่องการล่วงศีลแล้วทำให้เป็นปกติ

[เล่มที่ 74] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 627

อนึ่ง ศีลย่อมบริสุทธิ์โดยอาการ ๔ อย่าง คือ โดยความบริสุทธิ์แห่งอัธยาศัย ๑ โดยการสมาน ๑ โดยไม่ก้าวล่วง ๑โดยทำให้เป็นปกติเมือมีการก้าวล่วง ๑

ตัวอย่าง การรักษาศีล 8 เพียง กึ่งหนึ่ง และ คืนหนึ่งเท่านั้น

[เล่มที่ 12] พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 117

บัดนี้ได้ล่วงไปครึ่งวันแล้ว ข้าพเจ้าอาจเพื่อรักษาอุโบสถครึ่งหนึ่ง หรือหนอแล แต่นั้นท่านเศรษฐีให้ดีใจแล้วพูดว่าอาจรักษาได้ ข้าพเจ้านั้นจึง ได้สมาทานอุโบสถครึ่ง ในครึ่งวัน ได้ทำกาลกิริยาในวันนั้นเทียวจึงได้รับ สมบัตินี้.

เชิญคลิกอ่านที่นี่...

อุโบสถกึ่งหนึ่ง [อรรถกถากิงฉันทชาดก]

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
pornpaon
วันที่ 8 ก.พ. 2550
ขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
suntarara
วันที่ 6 มิ.ย. 2550

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
chatchai.k
วันที่ 18 มิ.ย. 2564

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ