ทิฏฐิ โมหะ อวิชชา เกี่ยวพันต่อ เวทนาขันธ์ อย่างไร
ลักษณะสภาพธรรมของ ทิฏฐิ โมหะ อวิชชา เป็นอย่างไร ต่างกันอย่างไร
สภาพธรรมทั้้ง ๓ ข้างต้น เกี่ยวพันต่อเวทนาขันธ์ อย่างไร
ขอความเมตตาจากผู้รู้ช่วยชี้แนะด้วยครับ
ทิฏฐิ เป็นสภาพธรรมที่เป็นความเห็นผิด
โมหะ คือ ความหลง ก็คือ อวิชชา
อวิชชา คือ ความไม่รู้
ส่วนเวทนา คือ ความรู้สึก ซึ่งเกิดกับจิตทุกประเภทและเกิดร่วมกับเจตสิกทุกประเภท จึงเกิดร่วมกับ ความเห็นผิดได้ ความไม่รู้ได้ เกิดกับโมหะได้ ครับ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ความเป็นจริงของสภาพธรรมเป็นจริงอย่างไร ก็เป็นจริงอย่างนั้น และสภาพธรรมแต่ละอย่าง เป็นสิ่งที่มีจริงแต่ละอย่างโดยไม่ปะปนกัน แม้แต่ในประเด็นคำถามก็กล่าวถึงสิ่งที่มีจริง ๒ อย่างที่เป็นอกุศลธรรม คือ ความไม่รู้ กับ ความเห็นผิด ไม่ใช่สภาพธรรมอย่างเดียวกัน แต่ทั้งสองประการ เป็นสังขารขันธ์ที่ปรุงแต่งจิต ทำให้จิตเป็นอกุศล ขึ้นอยู่กับว่าจะประกอบด้วยเวทนาที่เป็นโสมนัสหรืออุเบกขา
อวิชชา (ความไม่รู้) โมหะ (ความเขลา ความหลง) และความไม่รู้ ทั้ง ๓ คำ กล่าวถึงสิ่งที่มีจริงที่เป็นอกุศลธรรม เป็นรากเหง้าของสิ่งที่ไม่ดีทั้งหลาย เป็นสภาพธรรมที่ทำให้หมู่สัตว์ท่องเที่ยวไปในสังสารวัฏฏ์อย่างไม่มีวันจบสิ้น และเป็นอกุศลเจตสิกที่เกิดร่วมกับอกุศลจิตทุกชนิด เป็นความไม่รู้สภาพธรรมตามความเป็นจริง ส่วนมิจฉาทิฏฐิ ไม่ใช่อวิชชา แต่เป็นความเห็นผิดคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงของสภาพธรรม เช่น เห็นว่าทานที่ให้แล้วไม่มีผล การบูชาไม่มีผล มารดาบิดาไม่มีคุณเป็นต้น และแน่นอนว่าขณะมีอกุศลเกิดขึ้นนั้น จะไม่ปราศจากโมหะหรืออวิชชาเลยครับ
..ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...
สาธุ ค่ะ ทั้งมิจฉาทิฏฐิ อวิชชา โมหะ ล้วนแต่มืดตื้อที่เกิดร่วมกัน และเกิดร่วมกับเวทนา ผลก็มีเราในธรรม /ในธรรมเป็นเรา ต้องอบรมปัญญาเป็นจิรกาลภาวนาค่ะ