การคิดเรื่องปรมัตถธรรมเป็นกุศลหรือเปล่าครับ..?

 
กุมารน้อย
วันที่  8 ก.พ. 2550
หมายเลข  2799
อ่าน  1,246

เข้าใจว่ากุศล คือการเป็นไปใน ทาน ศีล หรือภาวนา แต่การคิดเรื่องปรมัตถธรรม หรือ การระลึกถึงสภาพธัมมะที่กำลังปรากฎนั้น จัดว่าเป็นกุศลหรือไม่? ถ้าหากในขณะที่ ระลึกนั้นยังไม่เป็นสติปัฏฐาน (คือ สติยังไม่เกิด) ขอผู้รู้ช่วยกรุณาตอบด้วยครับ..


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 9 ก.พ. 2550

การฟังธัมมะ การพิจารณาธัมมะที่ได้ฟังมา การรู้ธัมมะด้วยสติสัมปชัญญะ เป็นกุศลขั้นภาวนา แต่ถ้าจิตเป็นอกุศล หรือมีการจดจ้องต้องการในสภาพธัมมะด้วยโลภะ หรือคิดเรื่องปรมัตถธรรมแล้วมีแต่ความสงสัย เป็นอกุศล ซึ่งทั้งหมดนี้ผู้เจริญสติต้องรู้ด้วยตนเองว่า ขณะไหนมีสติ ขณะไหนหลงลืมสติ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 9 ก.พ. 2550

การคิดเรื่องปรมัตถธรรมเป็นกุศลหรือเปล่าครับ..?

เข้าใจเบื้องต้นก่อน การคิด อะไรคิด จิตคิด ขณะที่จิตคิดนึก มีอะไรเป็นอารมณ์ ปรมัต หรือบัญญัติ มีบัญญัติเป็นอารมณ์ (ยกตัวอย่าง เช่น คิดถึง เรื่อง จิตมี 89 ดวง เรื่องที่คิด เป็นบัญญัติ ปรมัตจะมีแต่ จิต เจติก รูป นิพพาน เท่านั้น ดังนั้นเรื่องที่คิด เป็นบัญญัติ แต่จิตที่คิด ตัวจิต เป็นปรมัตครับ ดังนั้น เรามาเข้าใจว่า บัญญัติ เป็น อารมณ์ของจิตอะไรได้บ้าง จิตที่เป็นกุศล มีบัญญัติเป็นอารมณ์ได้ไหม ได้ครับ เช่น นึกถึง พระคุณของพระพุทธเจ้า เรื่องที่นึกถึงพระคุณเป็นบัญญัติครับ บัญญัติ เป็น อารมณ์ของจิตที่เป็นอกุศลได้ไหม ได้เช่นกัน เช่น นึกถึงบุคคลอื่นด้วยความไม่ชอบ เป็นต้น สรุปที่อธิบายให้เข้าใจว่า บัญญัติ หรือเรื่องที่คิดเป็นอารมณ์ ของกุศลหรือ อกุศลก็ได้

แม้การคิดเรื่อง ปรมัตถธรรม ก็เป็นบัญญัติ เช่นกัน ดังนั้นจึงไม่จำเป็นเลย ที่คิดเรื่องปรมัตถธรรมแล้วจะเป็นกุศลหรืออกุศล เป็นอกุศลก็ได้ เช่น จำได้แต่ไม่ได้ เป็นเรื่องความเข้าใจ ลองให้เด็กวัยรุ่น อ่านปรมัต เรื่องจิต มีกี่ดวง แล้วเด็กก็นึกได้ว่า จิตมี 89 ดวง ถามว่าเป็นกุศลหรือเปล่า อย่าลืมว่า สัญญาเจตสิก และ วิตกเจตสิก เกิดกับอกุศลก็ได้ครับ แต่ถ้านึกด้วยความเข้าใจว่า จิต 89 ดวงเป็นธัมมะ ไม่ใช่เรา เห็น ถึงความแตกต่างใช่ไหมครับ นี่จึงเป็นกุศล ถ้านึกถึงปรมัตถธรรมเป็นกุศล ก็สอนให้จำ ให้ได้ นึกหรือ ท่องแบบนกแก้วนกขุนทองกุศลก็คงเกิดบ่อย แต่ความจริงไม่เป็นเช่น นั้น เพราะบัญญัติ เป็นอารมณ์ของกุศลหรืออกุศลก็ได้ครับ ที่สำคัญจะรู้ว่าเป็นกุศล หรืออกุศลก็ต้องสติระลึกขณะนั้นครับ

การศึกษาปรมัตถธรรม มิใช่มุ่งเพื่อจำชื่อเรื่องราว แต่ศึกษาว่า ปรมัตถธรรมอยู่ในขณะนี้

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
devout
วันที่ 10 ก.พ. 2550

เมื่อตรัสรู้เองไม่ได้ ก็ต้องเป็นสาวกคือผู้ฟัง การศึกษาพระธรรมจึงต้องเริ่มจากการ ฟัง หรือศึกษาคำสอนที่เรียกว่า ปริยัติ ซึ่งก็คือการศึกษาเรื่องราวของสภาพธรรม จน กว่าจะรู้จักตัวจริง แต่กว่าจะรู้จักตัวจริงได้ก็ต้องอาศัยการพิจารณาสภาพธรรมนั้นบ่อยๆ เนืองๆ จนกระทั่งความเข้าใจนั้นมีกำลังและเป็นสัญญาที่มั่นคง เป็นการอบรมที่ยาว นานค่ะ ลองคิดดูนะคะกว่าด้ามมีดจะสึก รูปธรรมยังสึกได้ช้าขนาดนั้น ลองนึกถึง สภาพนามธรรมซิค่ะ จะยาวนานซักแค่ไหน ขอเป็นกำลังใจให้เป็นผู้ที่อาจหาญ ร่าเริงนะคะ เพราะสังสารวัฏฏ์นั้นยาวไกลมาก เรายังต้องเจออะไรอีกเยอะ ข้อสำคัญ คือต้องเตรียมพร้อมค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
wannee.s
วันที่ 10 ก.พ. 2550

ปรมัตถธรรม หมายถึง สิ่งที่มีจริง คือ จิต เจตสิก รูป นิพพาน คิดเรื่องธรรมะก็ยังดีกว่าคิดเรื่องอื่น เพราะจิตขณะนั้นเป็นกุศลสลับกับอกุศล เช่นสติระลึกแข็ง แข็งมีจริงๆ เป็นธรรมะ ไม่มีสัตว์บุคคลในขณะที่ระลึกรู้แข็ง สติเกิดนิด เดียวดับไป สลับกับหลงลืมสติยึดถือว่าเป็นเราระลึก เป็นปกติของปุถุชนถูกอวิชชา ปิดบัง ไม่เห็นสภาพธรรมะตามความเป็นจริง ก็ต้องอาศัยการอบรมด้วยการฟังค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
กุมารน้อย
วันที่ 12 ก.พ. 2550

ขอขอบคุณและขออนุโมทนากับทุกท่านครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 21 ก.ย. 2550
บัญญัติเป็นอารมณ์ของกุศลและอกุศลก็ได้ครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
natthaset
วันที่ 23 ก.ย. 2550

ฟังบ่อยๆ คิดบ่อยๆ ทำบ่อยๆ ในสิ่งเดียวแล้วจะฝังลึกในนิสัยจริงๆ สาธุ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ