สอบถามการสนทนาธรรมแบบบัณทิตอย่างไรครับ
เราควรสนทนาธรรมในหัวข้อที่ต่างกันต่างเห็นต่าง แบบเมตตา ไม่มีทิฏฐิ ไม่มีโทสะ
เช่น เวลาผมทำความดี จะบอกบุญแม้เล็กน้อย แต่เพื่อนกลับเห็นบอกแค่บุญใหญ่พอ แต่กับผมกลับมองว่าอย่ามองข้ามแม้บุญเล็กน้อย แล้วคิดว่าถ้าคนอื่นรวมเพื่อนผมคิดว่าเล็กน้อยไม่ต้องบอก แต่ผมคิดยืนยันจะบอกบุญ ผมคิดว่าถ้าไม่เห็นความสำคัญหรือสาระ คนอื่นหรือเพื่อนเพิกเฉยเอง
ควรบอกเพื่อนยังไง ไม่ให้โกรธหรือทะเลาะกันครับ
คิดอย่างนี้ได้ไหมครับ
แล้วกรณีเห็นต่าง เราควรทำอย่างไร ไม่ให้ทะเลาะ ผูกเวรกันครับ
ขอบคุณอาจารย์ทั้งสองท่านมากครับ สาธุ สาธุ สาธุครับ
แล
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
คำดีก็กลายเป็นคำชั่ว ของผู้ที่ไม่สนใจในความดี และ คำดีก็เป็นคำที่ดี สำหรับคนดีที่ได้ฟัง เพราะฉะนั้น ก้ต้องพิจารณาทั้งผู้ที่รับฟังว่าเขาสนใจในสิ่งที่เราจะบอกหรือไม่ และ ต้องกาล เวลาโอกาส ส่วน การจะห้ามให้ทะเลาะ ไม่ทะเลาะ ทั้งหมดก็อนัตตา และที่ควรพิจารณาว่า ความดีเท่าไหร่ก็ไม่พอ ตราบใดที่ยังไม่สิ้นกิเลส เพราะฉะนั้น ความเข้าใจถูกเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ที่ควรเข้าใจว่ามีแต่ธรรมไม่ใช่เรา เพราะหากเป็นเราที่ทำดี ก็ไม่พ้นจากความดี และ ไม่มีทางดับกิเลสได้เลย ครับ การฟังพระธรรม จึงเป็นสิ่งที่สำคัญ ที่ควรจะเข้าใจถูกว่าเป็นอนัตตา ตั้งแต่ต้นจนจบ ครับ ขออนุโมทนา
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ประโยชน์อยู่ที่ความเข้าใจถูกเห็นถูก โดยทั่วไปแล้ว การบอกบุญ ก็คือ เป็นการชักชวนหรือเชิญชวนให้ผู้อื่นได้ร่วมเจริญกุศล เพื่อประโยชน์ของผู้ที่ถูกชักชวนเป็นหลัก คือได้เกิดกุศลจิต ร่วมเจริญกุศลประการนั้นๆ หรือ แม้เพียงเกิดกุศลจิต อนุโมทนาด้วยที่ได้ทราบข่าวการเจริญกุศลนั้นๆ ซึ่งก็ไม่ได้จำกัดตายตัวว่าจะต้องเป็นการกุศลใดๆ สำคัญที่สภาพจิตเป็นหลักว่า พูดหรือบอก เพื่อประโยชน์ของผู้อื่นจะได้เกิดกุศลจิต ร่วมกุศล หรือ อนุโมทนา ด้วย ไม่ใช่เพื่อยกตนหรือเกิดความสำคัญตน ซึ่งก็ต้องดูกาลเทศะด้วยว่าควรพูดเมื่อใด เพราะคนเราไม่เหมือนกัน สะสมมาต่างกัน คำพูดที่ดี ก็อาจจะเป็นคำพูดที่ไม่ดีสำหรับคนที่ไม่เห็นประโยชน์ของการก็ได้ ดังนั้น จึงต้องรู้จักคนที่จะเราบอกด้วย และดูกาละที่เหมาะด้วย ครับ
...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ ...