ถ้าพระรับเงินแล้วนำเงินไปบริจาคหรือทำประโยชน์เพื่อสาธารณะ ผิดในพระวินัยมั้ยคะ คือเหมือนจะเป็นการรับแบบเป็นพิธีแต่ไม่ได้นำเงินออกมาใช้แบบส่วนตัว

 
Pugwaree
วันที่  22 ก.ย. 2559
หมายเลข  28211
อ่าน  2,550

อันนี้เป็นข้อสงสัยแบบส่วนตัวของหนูน่ะค่ะ ไม่ได้มีเจตนาอื่นใด ขอความกรุณาอาจารย์ด้วยนะคะ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
Pugwaree
วันที่ 22 ก.ย. 2559

คือในความคิดของหนู หนูว่าน่าจะเป็นการได้บุญด้วยหรือเปล่า แบบว่าเหมือนเป็นการทำประโยชน์ให้กับสังคมน่ะค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
paderm
วันที่ 22 ก.ย. 2559

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ ๙๔๐

พระบัญญัติ
๓๗. อนึ่ง ภิกษุใด รับ ก็ดี ให้รับ ก็ดี ซึ่งทอง เงิน หรือ ยินดีทอง เงิน อันเขาเก็บไว้ให้ เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.

--------------------------------------------------------------------

พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ และ ทรงบัญญัติพระวินัย พระองค์ทรงรู้แจ้งโลกในอดีต ปัจจุบันและอนาคต ที่จะเกิดขึ้น จึงบัญญัติสิ่งที่ควรและไม่ควร เพราะฉะนั้น พุทธบริษัทที่มีพระธรรมเป้นที่พึ่ง ไม่ใช่มีภิกษุบุคคล หรือ ความคิดของตนเองเป็นที่พึ่ง จึงเคารพในพระวินัยบัญญัติ ผู้ที่เข้าใจถูก คือ ผู้ที่ได้ศึกษาพระวินัย และ ทำให้เห็นถึงความแตกต่างของพระภิกษุที่เป็นเพศบรรพชิต ที่สละหมดแล้ว จากความเป็นคฤหัสถ์ แตกต่างจากเพศคฤหัสถ์อย่างสิ้นเชิง เมื่อมีพระธรรมเป็นที่พึ่ง จึง รู้ว่า สิ่งใด ควรไม่ควร ตามพระพุทธบัญญัติ สมัยพุทธกาล พระภิกษุ ทำอย่างคฤหัสถ์ และ รับเงินและทอง คฤหัสถ์ผู้มีปัญญา ติเตียน เพ่งโทษ พระพุทธเจ้าก็ทรงติเตียน เพ่งโทษ ด้วยจิตเมตตา อนุเคราะห์เพื่อให้ไม่ทำอย่างคฤหัสถ์ เพราะฉะนั้น หากได้ศึกษาพระวินัย กิจของพระภิกษุ มีสองอย่าง คือ คันถะธุระและวิปัสสนาธุระ ไม่ใช่จะทำกิจอย่างคฤหัสถ์

การรับและยินดีในเงินและทอง เป็นอาบัติสำหรับพระภิกษุ ถ้าจะช่วยสังคมอย่างคฤหัสถ์ ก็สึกออกมาเป็นคฤหัสถ์ เพราะเพศบรรพชิต สละแล้ว ซึ่งเงินและทองทั้งปวง ครับ

เงินและทองไม่ควรกับพระภิกษุ ตามพระพุทธเจ้าทรงบัญญัติในอดีตกาล สมัยใด แม้ ในสมัยนี้ และ อนาคตกาล ก็เป็นอย่างนั้น ผู้ที่บอกว่า พระสมัยนี้จำเป็นต้องใช้เงินและทอง ก็เท่ากับว่าเห็นต่างจากพระพุทธเจ้า ก็ไม่ได้มีพระพุทะเจ้าและพระธรรมเป้นที่พึ่ง และ ลืมความเป็นพระภิกษุ แม้แต่คำว่ าภิกษุ บรรพชิต ก็ต่างจากคฤหัสถ์อย่างสิ้นเชิง

หากจะกล่าวว่า พระพุทธเจ้าให้ยกเลิกสิกขาบทเล็กน้อย แล้วใครเล่าที่จะให้ยกเลิก ข้อนั้นข้อนี้ แม้แต่ พระอริยสาวก ผู้เป็นพระอรหันต์ มีท่านพระมหากัสสปะ และ ท่านพระอานนท์ เป็นต้น เมื่อครั้งทำสังคายนา ครั้งที่ 1 ผู้ล้วนทรงคุณ เลิศด้วยฤทธิ์และปัญญา ก็มีมติว่า เราจะไม่ยกเลิกสิกขาบทเล็กน้อย เพราะท่านเหล่านั้นเคารพในพระปัญญาคุณและเคารพในพระวินัยที่พระพุทธเจ้าพระองค์เดียวเท่านั้นที่จะบัญญัติได้ แม้ท่านพระสารีบุตรผู้เลิศด้วยปัญญาก็ไม่สามารถบัญญัติพระวินัยได้เลย นี่คือ ความเคารพในพระวินัยบัญญัติและเคารพในพระพุทธเจ้า ของผู้มีปัญญาในสมัยอดีตกาล ครับ

บุญ คือ สภาพจิตที่ดีงาม หากแต่ว่า เมื่อเป็นเพศบรรพชิต สิ่งที่คิดว่าดี ตามแบบคฤหัสถ์ทำกัน กลับเป็นโทษ เช่น การรับเงินและทอง และ ไปช่วยเหลือสังคม เพราะต้องอาบัติ เมื่อทำผิดพระวินัย ต้องอาบัติ สิ่งที่เป็นสิ่งไม่สมควร ย่อมนำมาซึ่งโทษ พระภิกษุ ล่วงอาบัติเล็กน้อยในสมัยพุทธกาล ไม่ได้เห็นโทษ ไม่ได้ปลงอาบัติ หรือ ปลงอาบัติ แต่ไม่ได้เห้นโทษ ก็เป็นอันไม่ได้ปลงอาบัติ

แม้เพียงอาบัติเล็กน้อย ก็ทำให้พระภิกษุรูปนั้น ไปเกิดในอบายภูมิ เป็น นาคราช ไม่สามารถเกิดใน สุคติภูมิได้ เพราะ อาบัติเป็นเครื่องกั้นในการเกิดในสุคติ เพราะฉะนั้น คฤหัสถ์ให้เงินพระภิกษุ พระรับเงินนั้น ต้องอาบัติ ก็เท่ากับว่าให้ท่านไปนรก ไปอบายภูมิ สงสารท่านไหมที่จะให้ท่านไปในอบายภูมิแบบนั้น หรือว่า คฤหัสถ์เพียงแค่ต้องการบุญ แต่ ไม่รักษาพระศาสนา ไม่รักษาพระวินัย และไม่รักษาพระภิกษุรูปนั้น

ดังนั้น ประโยชน์ของพระวินัยกับคฤหัสถ์เมื่อได้ศึกษา คือ ประพฤติในสิ่งที่ถูกตองกับพระภิกษุ และ เกื้อกูลท่าน ให้ในสิ่งที่สมควร ก็ช่วยเหลือท่านด้วย ครับ

พระอริยสาวกผู้มีปัญญาในอดีต มีท่านพระสารีบุตร พระโมคคัลลานะ เป็นต้น ออกมาช่วยสังคมแบบคฤหัสถ์หรือไม่ หรือ รับเงินและทอง ช่วยสังคม หรือไม่ ไม่เลย เพราะท่านเคารพพระวินัย เคารพในพระพุทธเจ้า และ รู้ตัวเองว่า เป็นเพศใด ดังนั้นท่านช่วยสังคมที่ถูกต้อง ตามเพศบรรพชิต คือ ท่านแสดงธรรมอันเป็นการช่วยสังคมอย่างสูงสุดและเคารพพระวินัยที่จะไม่ทำอย่างคฤหัสถ์ ครับ ขออนุโมทนา

ขอเชิญฟังคำบรรยายท่านอาจารย์สุจินต์ เรื่อง การช่วยเหลือสังคมที่ถูกต้องของพระภิกษุ

เชิญคลิกที่ลิ้งข้างล่างนี้

ช่วยสังคมอย่างประเสริฐ

www.dhammahome.com/video/topic/2153

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
khampan.a
วันที่ 22 ก.ย. 2559

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ (อปายสูตร) หน้า ๓๒๗

“คนเป็นอันมาก อันผ้ากาสาวะพันคอ มีธรรมอันลามก ไม่สำรวม คนลามกเหล่านั้น ย่อมเข่าถึงนรก เพราะกรรมอันลามกทั้งหลาย, ก้อนเหล็กร้อน เปรียบด้วยเปลวไฟ อันผู้ทุศีลบริโภคแล้ว ยังประเสริฐกว่า, ผู้ทุศีล ไม่สำรวม บริโภคก้อนข้าวของชาวแว่นแคว้น จะประเสริฐอะไร”

___________________________

พระภิกษุจะเกี่ยวข้องกับเงินทองไม่ได้เลยโดยประการทั้งปวง พระภิกษุ รับเงินเพื่อตนเอง ก็อาบัติ รับเงินเพื่อผู้อื่นก็อาบัติ รับเงิน เพื่อทำสิ่งอื่น ก็อาบัติ, พระภิกษุในพระธรรมวินัยจะต้องประพฤติปฏิบัติตามพระธรรมวินัย เท่านั้น จะประพฤตินอกพระธรรมวินัย ไม่ได้ ไม่ว่าจะบวชนานแล้วหรือพึ่งบวช ก็จะประพฤตินอกพระธรรมวินัยไม่ได้ ถ้าอยากมีเงินมีทอง อยากใช้เงินทองเพื่อช่วยสังคม ก็ต้องเป็นคฤหัสถ์ ไม่ใช่บรรพชิต การล่วงพระวินัยบัญญัติ มีโทษ จะเห็นว่าเป็นเรื่องเล็กน้อยไม่ได้ เพราะเหตุว่า มีโทษ และถ้ามรณภาพลงในขณะที่มีอาบัติอยู่ จะไปไหน? คำตอบตามพระธรรมวินัย คือ ไปอบายภูมิ ครับ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
Pugwaree
วันที่ 22 ก.ย. 2559

กราบขอบพระคุณค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
ํํญาณินทร์
วันที่ 23 ก.ย. 2559

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
ใหญ่ราชบุรี
วันที่ 23 ก.ย. 2559

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
ประสาน
วันที่ 24 ก.ย. 2559

สาธุๆ ๆ อนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
wannee.s
วันที่ 26 ก.ย. 2559

เงินทองควรแก่ผู้ใด กามคุณ 5 ก็ควรแก่ผู้นั้น เพราะฉะนั้นเงินและทองไม่ควรแก่พระภิกษุค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
Srisuda77
วันที่ 27 ก.ย. 2559

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ