การเดินทางและการฉันอาหารภายนอกวัดของพระภิกษุ

 
pdharma
วันที่  25 ต.ค. 2559
หมายเลข  28309
อ่าน  1,610

ขอเรียนถามว่า การเดินทางและการฉันอาหารภายนอกวัดของพระภิกษุ มีหลักปฏิบัติอย่างไรเพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงไม่ใช้เงิน เช่น การขึ้นรถทัวร์กลับไปเยี่ยมบิดามารดา การฉันอาหารในร้าน (กรณีหลังมักมีผู้ถวาย)

ขอขอบพระคุณ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
khampan.a
วันที่ 26 ต.ค. 2559

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระวินัยบัญญัติที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้ เป็นไปเพื่อขัดเกลากิเลสโดยตลอด ซึ่งพระภิกษุทุกรูปทุกยุคทุกสมัยจะต้องประพฤติปฏิบัติตามด้วยความเคารพอย่างยิ่ง แม้ว่ายุคสมัยจะเปลี่ยนไปอย่างไร แต่พระวินัยบัญญัติไม่เปลี่ยนไปตามยุคสมัย, พระภิกษุ ไม่รับและไม่ยินดีในเงินและทอง กล่าวคือ รับด้วยตนเอง ก็ไม่ได้ ใช้ให้คนอื่นรับแทน ก็ไม่ได้ หรือ แม้ยินดีในเงินและทองที่ผู้อื่นเก็บไว้ให้ ก็ไม่ได้ เป็นโทษทั้งหมด ไม่มีข้ออ้างใดๆ ทั้งสิ้นที่จะก้าวล่วงพระวินัย ถ้าหากว่ามีความจำเป็นในการเดินทาง ก็ควรเคารพต่อพระวินัยบัญญัติอย่างสูงสุด พระภิกษุจะมีเรื่องเกี่ยวกับเงินทองไม่ได้ ใช้จ่ายเงินไม่ได้ (เพราะไม่มี เนื่องจากพระภิกษุ สละทรัพย์สินเงินทองก่อนบวชแล้ว) ก็ต้องมีคฤหัสถ์เป็นผู้ดำเนินการให้ท่าน หรือ ถ้าหากไม่สามารถที่จะรักษาพระวินัยได้ ก็ลาสิกขา เป็นคฤหัสถ์ เดินทางได้สะดวก ปรนนิบัติดูแลบิดามารดาได้อย่างเต็มที่ สำหรับในกรณีฉันอาหาร ก็อาศัยการบิณฑบาตเลี้ยงชีพ ถ้ามีผู้นิมนต์ถวาย ก็รับ และสามารถฉันได้ในเวลาเช้าถึงเที่ยง, การสะสมความดี ความเข้าใจพระธรรม อบรมเจริญปัญญา ขัดเกลากิเลส ไม่ได้จำกัดเฉพาะเพศหนึ่งเพศใดโดยเฉพาะ แม้เป็นคฤหัสถ์ ก็สามารถทำดี และ ศึกษาพระธรรมให้เข้าใจ ได้ ครับ

...อนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
ํํญาณินทร์
วันที่ 31 ต.ค. 2559

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
2491surin
วันที่ 1 พ.ย. 2559

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาเป็นอย่างสูงครับ.

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
Tommy9
วันที่ 3 พ.ย. 2559

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
chatchai.k
วันที่ 18 ก.พ. 2564

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ