อย่างไรจึงจะชื่อว่า วัดในพระพุทธศาสนา

 
JYS
วันที่  4 ธ.ค. 2559
หมายเลข  28400
อ่าน  1,878

ขอทราบความละเอียดครับ

ขอบคุณครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
khampan.a
วันที่ 4 ธ.ค. 2559

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

วัด หรือ อาราม เป็นสถานที่อยู่ของบุคคลต้องการความสงบ เป็นที่อยู่อาศัยของเพศบรรพชิต คือ พระภิกษุทั้งหลาย เพื่อศึกษาพระธรรมอบรมเจริญปัญญา ขัดเกลากิเลส และเป็นสถานที่ที่ชาวพุทธ ไปฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรมอบรมเจริญปัญญาและถวายสิ่งที่เหมาะควรแก่เพศบรรพชิต เหมือนอย่างอารามในสมัยพุทธกาล เช่น พระเชตวัน พระเวฬุวัน เป็นต้น ถ้าที่ใดก็ตามไม่เป็นอย่างนี้ มีการทำสิ่งอื่นที่เป็นความไม่สงบ เช่น มีดนตรีมหรสพ ขายของในวัด ไม่เป็นอารามในพระพุทธศาสนา ครับ

ขอเชิญคลิกชมวีดีโอสนทนาธรรมที่นี่ ครับ

บ้านธัมมะ ๙๓ __ อารามที่แท้จริง

...อนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
ํํญาณินทร์
วันที่ 5 ธ.ค. 2559

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
ปาริชาตะ
วันที่ 7 ธ.ค. 2559

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
jaturong
วันที่ 8 ธ.ค. 2559

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
จิรัฎฐ์
วันที่ 17 ธ.ค. 2559

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
chatchai.k
วันที่ 24 ม.ค. 2564

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
pomelo
วันที่ 19 เม.ย. 2564

ขออนุญาตถามคำถามค่ะ

การทำบุญกับวัดต้องทำแบบไหนหรอคะ

การสร้างซุ้มประตูวัดนี่ถือว่าทำบุญวัดไหม เพราะแต่ก่อนคิดรวมกันว่าใช่ จนกระทั่งได้ยินมาในหนหลังว่าซุ้มประตูเป็นเพียงวัตถุ สิ่งก่อสร้างค่ะ เลยสงสัยรวมไปถึงการปิดทองฝังลูกนิมิต ว่าสิ่งเหล่านั้นคือการทำบุญกับวัดแท้จริง หรือเป็นเพียงการทำบุญในวัตถุค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
khampan.a
วันที่ 20 เม.ย. 2564

เรียน ความคิดเห็นที่ 7 ครับ

บุญอยู่ที่สภาพจิต คือ ขณะที่ปราศจากโลภะ โทสะ โมหะ ถ้าทำอะไรด้วยความไม่รู้ อยากได้ผลของการกระทำ นั่น ไม่ใช่บุญ

ซุ้มประตูวัด ก็เป็นเขตที่บ่งบอกว่าจะเข้า/ออกวัด ก็ต้องเข้า/ออก ทางนี้ มีมาตั้งแต่สมัยครั้งพุทธกาล โดยมีคฤหัสถ์เป็นผู้สร้างถวาย ไม่ใช่กิจหน้าที่ของพระภิกษุ ส่วน ฝังลูกนิมิต ไม่มีในคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สำหรับ ในพระวินัย จะกล่าวถึงขอบเขตของสีมา อันเป็นสถานที่ทำสังฆกรรมของสงฆ์ มีนิมิต คือ เครื่องหมายของขอบเขตตามธรรมชาติ เช่น ภูเขา แม่น้ำ ต้นไม้ เป็นต้น ไม่ใช่ ลูกกลมๆ อย่างในยุคนี้สมัย ครับ

ข้อความบางตอนจากคำบรรยายของท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ มีดังนี้

(ชุด แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1591)

. การปิดทองฝังลูกนิมิต เป็นกุศลหรือเปล่า

สุ. กุศลไม่ใช่อยู่ที่ลูกนิมิต ไม่ใช่อยู่ที่ข้าว ไม่ได้อยู่ที่อาหาร กุศลอยู่ที่จิต

. เป็นประเพณีของคนไทยทั่วๆ ไป คือ การไปทำบุญ การปิดทอง ฝังลูกนิมิต คนไทยทั่วไปถือว่าเป็นกุศลอย่างสูงอยากจะเรียนถามอาจารย์

สุ. ไม่ใช่เป็นการฟังตาม แต่เป็นการพิจารณาว่า จิตที่ปราศจากโลภะ ปราศจากโทสะ ปราศจากโมหะขณะใด ขณะนั้นเป็นกุศล

ขณะที่ฝังลูกนิมิต ปิดทองลูกนิมิต ขณะนั้นเป็นจิตประเภทใด คนอื่นจะบอก ได้ไหม โลภมูลจิต โทสมูลจิต โมหมูลจิตเป็นอกุศลจิต และมหากุศลจิตเกิดสลับกันได้ โดยที่ถ้าสติปัฏฐานไม่เกิด ก็จะบอกได้โดยตำราเท่านั้นว่า ขณะใดที่โลภะ โทสะ โมหะไม่เกิด ขณะนั้นเป็นกุศล แต่ในขณะที่กำลังปิดทองลูกนิมิต ขณะนั้นจิตเป็นอะไร คนอื่นบอกไม่ได้


...ยินดีในความดีของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
chatchai.k
วันที่ 20 เม.ย. 2564

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
pomelo
วันที่ 15 มิ.ย. 2564

ขอบคุณค่ะ ได้ความกระจ่างชัดในข้อสงสัยอย่างแจ้มแจ้งเลย

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ