เหตุใดสมัยพุทธกาลไม่ต้องอาศัยกฎหมายในการป้องกันมิให้ภิกษุกระทำการขัดต่อพระธรรมวินัย

 
pdharma
วันที่  3 ก.พ. 2560
หมายเลข  28596
อ่าน  873

ในสมัยพุทธกาล มีภิกษุที่ไม่อยู่ในธรรมวินัยเช่นเดียวกับในปัจจุบัน แต่เหตุใดสมัยพุทธกาลไม่ต้องอาศัยกฎหมายบ้านเมืองในการป้องกันมิให้ภิกษุกระทำการขัดต่อพระธรรมวินัย

ขอขอบพระคุณ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
pdharma
วันที่ 4 ก.พ. 2560

เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนา หากทำใหกว้างขวางได้จะเพียงพอหรือไม่

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
paderm
วันที่ 4 ก.พ. 2560

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ในสมัยพุทธกาล ธรรมมีกำลัง อธรรม (ธรรมที่ไม่ดี) ยังไม่มีกำลัง ยังมีพระภิกษุผู้ทรงคุณและเคารพพระวินัยอยู่จำนวนมาก และ ก็ประพฤติปฏิบัติตาม มีการทำสังคายนาเมื่อมีอธรรมเกิดขึ้น และก็สามารถ ทำให้อธรรมเสื่อมถอยไป เช่น ภิกษุบางรูป บางกลุ่มกล่าวว่า รับเงินและทองได้ แต่ พระภิกษุผู้มีปัญญา ยึดตามพระธรรมวินัย จึงมีการทำสังคายนา และ ปฏิเสธ ข้อที่พระภิกษุรับเงินทองได้ เพราะฉะนั้น ในยุคสมัยพุทธกาล ยังมากด้วยพระเถระผู้ทรงคุณเป็นผู้กล้า และ ธรรมมีกำลัง แต่ปัจจุบัน สองพันกว่าปีผ่านไป อธรรมมีกำลัง พระภิกษุผู้บวชนาน มียศศักดิ์ ไม่ได้เคารพพระวินัย ปฏิบัติพระวินัยบัญญัติ และ พระภิกษุโดยมากในสมัยปัจจุบัน ยินดีและรับเงินและทอง อธรรมมีกำลัง ธรรมเสื่อมถอย เพราะฉะนั้น การช่วยพระพุทธศาสนา ก็เป็นหน้าที่ของพุทธบริษัทที่ไม่ใช่เพียง บริษัท ภิกษุเท่านั้น อุบาสก อุบาสิกา ผู้ยังมีความเห็นถูกอยู่ จึงช่วยกันทุกทาง รวมถึงเรื่องการร่างกฎหมาย ที่ป้องกันที่ไม่ให้พระภิกษุ รับเงินทอง และเป็นมรดกตกทอดเป็นของตัวเองที่แย้งกับพระธรรมวินัย รวมทั้งช่วยกันเผยแพร่ความจริงที่ถูกต้องโดยหลักธรรม เพราะฉะนั้น กฎหมายที่ไม่ตรงตามพระวินัย จึงควรแก้ให้ตรงตามพระวินัย ก็ช่วยเหลืออีกทาง ที่จะดำรงไว้ซึ่งพระพุทธศาสนา อย่างน้อยก็เป็นส่วหนึ่งที่ทำในสิ่งที่ถูกต้องในทุกช่องทาง ครับ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
khampan.a
วันที่ 4 ก.พ. 2560

ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม เพื่อความเห็นโทษโดยความเป็นโทษ สำหรับผู้หลงผิดจะได้เข้าใจอย่างถูกต้อง ทางดำเนินของผู้ที่เข้าใจความจริงจะทำทุกอย่างด้วยกุศลเพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องจะได้แพร่หลายกว้างขวางยิ่งขึ้น เนื่องจากผู้ไม่เข้าใจมีมากจริงๆ รวมถึงการผลักดันให้มีกฏหมายที่เอื้อเฟื้อต่อพระธรรมวินัยด้วย โดยเฉพาะการมีกฎหมายป้องกันไม่ให้ภิกษุรับเงินทอง ควรมีอย่างยิ่ง เพราะแม้คฤหัสถ์ผู้ร่างหรือแก้กฎหมายยังเข้าใจว่าภิกษุไม่สามารถรับเงินทองได้ ไม่ว่าจะในกรณีใดๆ ก็ตาม ก็คงจะเป็นเครื่องเตือนภิกษุ (ไม่ว่าจะเป็นรูปใดก็ตาม) ที่เคยรับเงินทองได้เป็นอย่างดี ซึ่งถ้าภิกษุเหล่านั้นไม่สละและแก้ไขให้ถูกต้องตามพระวินัย ชาติหน้า เกิดในอบายภูมิ เท่านั้น หรือ ผู้ที่จะบวชเพื่อหวังเงินทอง ลาภสักการะ ก็จะลดลงไปด้วย เพราะมีกฎหมายที่คล้อยตามพระธรรมวินัยคอยบังคับอีกทีหนึ่ง ครับ

...อนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
thilda
วันที่ 5 ก.พ. 2560

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
Tommy9
วันที่ 6 ก.พ. 2560

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
ํํญาณินทร์
วันที่ 8 ก.พ. 2560

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
jaturong
วันที่ 14 ก.พ. 2560

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
chatchai.k
วันที่ 18 ม.ค. 2564

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ