ปาราชิกข้อลักทรัพย์

 
Tanagon
วันที่  23 มี.ค. 2560
หมายเลข  28707
อ่าน  1,773

กราบเรียนถามท่านวิทยากร

สงสัยว่า พระภิกษุหากลักขโมยทรัพย์ของผู้อื่น โดยปรกตินั่นแหละ มีราคาเกินกว่า 5 มาสก แต่เมื่อท่านขโมยแล้ว อุบาสกผู้เป็นเจ้าของทรัพย์ ไม่ปราถนาให้ท่านต้องปาราชิก เมื่อมีการสอบสวน อุบาสกผู้เจ้าของทรัพย์ก็กล่าวว่า ทรัพย์นี้ธรรมดาราคาเท่านี้ๆ แต่ในเวลาอันภิกษุนี้ลักแล้ว ข้าพเจ้าตีค่าราคาทรัพย์ว่า นี้ไม่ถึง 5 มาสก ภิกษุผู้ลักทรัพย์ ยังจะต้องปาราชิกอยู่ไหมครับ? หรือเป็นปาราชิกหาสังวาสมิได้ ยังรักษาเพศภิกษุได้อยู่

ขออนุโมทนา


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 28 มี.ค. 2560

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ปาราชิก คือประเภทของโทษที่เกิดจากการล่วงละเมิดสิกขาบทประเภท ครุกาบัติ อาบัติหนักที่สุด ที่เรียกว่า อาบัติปาราชิก พระภิกษุต้องอาบัติปาราชิกสี่ข้อใดข้อหนึ่ง แม้จะไม่กล่าวลาสิกขาบท ก็ถือว่าขาดจากความเป็นพระภิกษุทันที เมื่อความผิดสำเร็จ ปาราชิก มี 4 ข้อ อยู่ใน ศีล 227 ได้แก่

1.เสพเมถุน แม้กับสัตว์เดรัจฉานตัวเมีย (ร่วมสังวาสกับคนหรือสัตว์)

2.ถือเอาทรัพย์ที่เจ้าของไม่ได้ให้ มาเป็นของตน จากบ้านก็ดี จากป่าก็ดี (ขโมย)

3.พรากกายมนุษย์จากชีวิต (ฆ่าคน) หรือแสวงหาศาสตราอันจะนำไปสู่ความตายแก่ร่างกายมนุษย์

4.กล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรม อันเป็นความเห็นอย่างประเสริฐ อย่างสามารถ น้อมเข้าในตัวว่า ข้าพเจ้ารู้อย่างนี้ ข้าพเจ้าเห็นอย่างนี้ (ไม่รู้จริง แต่โอ้อวดความสามารถของตัวเอง)

ซึ่ง ในข้อปาราชิก ในการถือเอาทรัพย์ที่เจ้าของไม่ได้ให้ ก็ดูมูลค่าปัจจุบัน ตอนที่ลักเขามา มูลค่าในขณะที่ขโมย ไม่ใช่ มูลค่าหลังจากขโมย ถ้าตอนลักเขามา มูลค่าในตอนนั้นเกิน 5 มาสก ก็ชื่อว่า ต้องอาบัติปาราชิก ครับ ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
ํํญาณินทร์
วันที่ 31 มี.ค. 2560

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
ประสาน
วันที่ 6 เม.ย. 2560

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ