ภิกษุในพระธรรมวินัยจะไม่เกี่ยวข้องกับพิธีกรรมใดๆเลยใช่ไหมครับ

 
tact.a.cup.kafaelao
วันที่  25 มี.ค. 2560
หมายเลข  28711
อ่าน  1,589

จากการที่ได้มีโอกาสได้ฟังพระธรรมทำให้เห็นว่าภิกษุในพระธรรมวินัยจะไม่เกี่ยวข้องกับพิธีกรรมใดๆ ได้เลย ไม่ว่าจะเป็น การรับกิจนิมนต์ไปงานทำบุญบ้าน หรือทำการสวดพระอภิธรรมในงานศพ หรือแม้แต่การอวดอ้างใดไที่ตนไม่มีถือว่าไม่ใช่ภิกษุในพระธรรมวินัยใช่ไหมครับ กราบอนุโมทนาครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 25 มี.ค. 2560

พระภิกษุมีกิจสองอย่าง ครับ

กิจของพระภิกษุที่ถูกต้อง มี 2 อย่างตามที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ คือ คันถธุระ และ วิปัสสนาธุระ

คันถธุระ คือ กิจ หน้าที่ของพระภิกษุ ในการศึกษาพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าที่เป็นพระไตรปิฎก

วิปัสสนาธุระ คือ กิจ หรือ หน้าที่ของพระภิกษุ ที่จะต้องอบรมปัญญา เพื่อดับกิเลส อันอาศัยการศึกษาพระธรรม

ดังนั้นกิจอื่น ซึ่งเป็นการช่วยเหลือผู้อื่น ช่วยเหลือชาวบ้าน ไม่ใช่กิจของพระภิกษุ การช่วยเหลือวัดต่างๆ ด้วยปัจจัย สร้างศาสนาวัตถุ เป็นต้น ก็ไม่ใช่กิจของพระภิกษุ หากพระภิกษุเป็นผู้ทึ่ศึกษาพระธรรม ก็จะเข้าใจถูกว่า กิจที่ควรทำนั้นคืออะไร ดังนั้นมีกิจมาก ก็ไม่ถูกต้อง เพราะเป็นกิจที่ไม่สมควรสำหรับเพศพระภิกษุ พระภิกษุควรเป็นผู้มีกิจน้อย และหากเป็นผู้ที่ศึกษาพระธรรม อบรมกิจ 2 อย่าง คือ ศึกษาพระธรรม (คันถธุระ) และอบรมปัญญา (วิปัสสนาธุระ) ก็จะไม่มีการกล่าวได้เลยว่า ไม่มีเวลาละกิเลส เพราะขณะที่ศึกษาพระธรรม และเข้าใจพระธรรม ปัญญาเจริญ ขณะนั้นเป็นเวลาละกิเลส ละความไม่รู้แล้วในขณะนั้นครับ หากประพฤติตามคำสอนของพระพุทธเจ้าจริงๆ

พระธรรมของพระพุทธเจ้า เป็นพระธรรมที่เป็นไปเพื่อละกิเลสอยู่แล้วครับ ดังนั้นกิเลสเกิดได้ในชีวิตประจำวัน ก็สามารถละได้ในชีวิตประจำวัน ด้วยการศึกษา อบรมปัญญาตามที่กล่าวมาครับ พระธรรมไม่เปลี่ยนไปเลยตามกาลเวลา และไม่เปลี่ยนไปตามยุคสมัย แม้ในอดีต จนถึงปัจจุบัน สำคัญเพียงว่า สัตว์โลกจะศึกษาและเข้าใจในพระธรรมหรือไม่ เพราะหากไม่เข้าใจก็สำคัญกิจอื่นว่าเป็นกิจของตน และไม่สำคัญกิจที่ควรอบรม คือ การละกิเลสก็ด้วยการศึกษาพระธรรม อบรมปัญญานั่นเองครับ ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนา

เชิญคลิกอ่านที่นี่ครับ

กิจที่ถูกต้องของภิกษุ [มหาปาละบรรพชาอุปสมบท] ภิกษุพึงเป็นผู้มีกิจน้อย

มิใช่กิจของสงฆ์ [พรหมชาลสูตร]

กิจรีบด่วนของชาวนาและภิกษุ [อัจจายิกสูตร]

กิจที่ต้องทำคือสิกขา 3 [สมณสูตร]

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
khampan.a
วันที่ 25 มี.ค. 2560

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระภิกษุ เป็นเพศบรรพชิต ซึ่งเป็นเพศที่สูงกว่าคฤหัสถ์ ผู้ที่จะบวชเป็นพระภิกษุนั้น ท่านเป็นผู้ที่เห็นโทษเห็นภัยของอกุศล เห็นโทษเห็นภัยของการอยู่ครองเรือนว่าเป็นที่หลั่งไหลมาของอกุศลประการต่างๆ มากมาย เมื่อบวชแล้ว มีความจริงใจที่จะศึกษาพระธรรมวินัย ซึ่งเป็นคำสอนของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วน้อมประพฤติปฏิบัติตาม เพื่อขัดเกลากิเลสของตนเองให้ยิ่งๆ ขึ้นไป ความเป็นบรรพชิตรักษายากมาก ต้องเป็นผู้มีอัธยาศัยน้อมไปจริงๆ ถึงจะรักษาได้ทำให้ตนเองดำรงมั่นในพระธรรมวินัยและได้ประโยชน์สูงสุดคือ การรู้แจ้งอริยสัจจธรรมถึงความเป็นพระอริยบุคคลขั้นต่างๆ แต่ในทางตรงกันข้าม ถ้าไม่ประพฤติตามพระธรรมวินัย รักษาความเป็นบรรพชิตไม่ได้ หรือ รักษาไม่ดี ย่อมเป็นที่แน่นอนว่ามีแต่จะคร่าไปสู่นรก เท่านั้น ซึ่งเป็นอันตรายมาก

สิ่งใดที่ไม่เหมาะควร ภิกษุทำไม่ได้ แต่การรับนิมนต์เพื่อฉันภัตตาหาร ภิกษุรับได้ ซึ่งจะต้องไม่เกี่ยวกับการรับเงินทอง ครับ.

...อนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
tact.a.cup.kafaelao
วันที่ 25 มี.ค. 2560

ขอบพระคุณมากครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
che2017
วันที่ 25 มี.ค. 2560

สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
ประสาน
วันที่ 26 มี.ค. 2560

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
Tommy9
วันที่ 26 มี.ค. 2560

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
ํํญาณินทร์
วันที่ 31 มี.ค. 2560

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
2491surin
วันที่ 4 เม.ย. 2560

พระธรรมที่พระพุทธองค์ทรงแสดงเป็นไปเพื่อการ"ละ"โดยแท้ กราบขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ.

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
ssuwannasri
วันที่ 5 เม.ย. 2560

สาธุ สาธุ อนุโมทามิ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ