กรุณาอธิบาย เป็นเรา ด้วยตัญหา ทิฏฐิ มานะ
ปุถุชนทั้งหลายย่อมยึดถือขันธ์ห้าว่าเป็นเราด้วยอำนาจตัณหา คือ โลภะบ้าง มานะความถือตัวบ้าง ทิฏฐิ ความเห็นผิดบ้าง คือ ถ้าเพียงยินดีพอใจ ติดข้องชื่อว่า การยึดถือขันธ์ห้าด้วยความเป็นเรา (ไม่มีความเห็นผิด) ด้วยตัณหา และขณะใดที่สำคัญตัวเองว่าดีกว่าคนอื่น ต่ำกว่าคนอื่น เสมอกับคนอื่น ลักษณะนี้ชื่อว่า การยึดถือขันธ์ห้าว่าเป็นเราด้วยมานะ (ความถือตัว) และขณะใดที่สำคัญผิดว่าขันธ์ห้า เป็นตัวตนของเราจริงๆ เป็นของเที่ยง อย่างนี้ชื่อว่า ยึดถือด้วยทิฏฐิ แต่ความเป็นเราย่อมไม่มีทุกขณะจิต เพราะขณะที่กุศลเกิดขึ้นไม่มีการยึดถือว่าเป็นเรา
เชิญคลิกอ่านได้ที่ ... เป็นเรา ด้วยตัณหา ทิฏฐิ มานะ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 309
เหล่านั้น บทว่า ทิฏฺฐิฏฺฐานานิ ความว่า แม้ทิฏฐิ ก็ชื่อว่า ที่ตั้งแห่งทิฏฐิทั้งอารมณ์ของทิฏฐิ ทั้งปัจจัยของทิฏฐิ ก็ชื่อว่า ที่ตั้งของทิฏฐิ
ในบทว่า รูปํ เอตํ มม เป็นต้น การถือว่า นั่นของเรา เป็นตัณหาคาหะ การถือว่าเราเป็นนั่นเป็นมานคาหะ การถือว่า นั่นเป็นตัวของเราเป็นทิฏฐิคาหะ เป็นอันตรัส ตัณหา มานะ และทิฏฐิ ซึ่งมีรูปเป็นอารมณ์ด้วยประการฉะนี้
ตัณหา มานะ ทิฏฐิ เป็นธรรมเครื่องเนิ่นช้า ทำให้เราวนเวียนอยู่ในสังสารวัฏฏ์เพราะความยินดีติดข้อง ทำให้เราเกิดความทุกข์ กับสิ่งที่แปรเปลี่ยนไป ตัณหายึดขันธ์ ๕ เหมือนกำมือเปล่า ไม่มีสาระ มานะ ความสำคัญตนว่าดีกว่า เก่งกว่า หรือว่าเสมอกัน หรือสำคัญว่าเราต่ำกว่า เป็นต้น เพราะมานะทำให้เกิดกิเลส ทำให้เกิดในอบาย วิบากอย่างเบาภายหลังมาเป็นมนุษย์ก็ทำให้เกิดในตระกูลต่ำ ความเห็นผิดทำให้เกิดในอบาย สังสารวัฏฏ์ยาวอยู่แล้วก็ยิ่งยาวออกไปอีก