การปลงอาบัติ

 
email
วันที่  22 ก.พ. 2550
หมายเลข  2890
อ่าน  83,551

พระภิกษุที่บวชใหม่ ไม่รู้พระวินัย ๒๒๗ ข้อ ถ้าทำผิดด้วยความไม่รู้จะอาบัติหรือไม่ และ ถ้ารู้แล้วปลงอาบัติจะได้หรือไม่ จะปลงอาบัติทีเดียวตอนลาสิกขาจะได้หรือไม่ มีพระวินัยบัญญัติอย่างไรครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 23 ก.พ. 2550

สิกขาบทที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติไว้ในพระวินัยมีมากกว่า ๒๒๗ ข้อ พระภิกษุแม้ไม่รู้สิกขาบท ล่วงละเมิดย่อมต้องอาบัติ เหมือนกฎหมายทางโลก แม้ไม่รู้ข้อกฎหมาย เมื่อทำผิดย่อมต้องโทษเช่นกัน ในทางพระวินัยเมื่อต้องโทษแล้ว มีวิธีแก้ไขหลายอย่างตามสมควรแก่โทษ คือ เมื่อต้องอาบัติหนัก (ปาราชิก) ขาดจากความเป็นพระภิกษุทันที แก้ไขไม่ได้ อยู่เป็นพระภิกษุอย่างเดิมไม่ได้ ต้องแก้ไขโดยการเปลี่ยนเพศจากเพศภิกษุเป็นคฤหัสถ์ อาบัติบางข้อเมื่อต้องเข้าแล้วแก้ไขโดยวิธีอยู่กรรม คือ อาบัติสังฆาทิเสส อาบัติหนักแต่แก้ไขได้โดยอาศัยสงฆ์ ส่วนอาบัติเบาแก้ไขได้โดยแสดง (ปลง) กับพระภิกษุรูปหนึ่งก็ได้ เมื่อต้องอาบัติแล้วต้องแสดงเลยทันที ถ้าเก็บปกปิดไว้มีโทษคือ มีอาบัติเพิ่มอีก

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
email
วันที่ 23 ก.พ. 2550
ขออนุโมทนา
 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
เจตสิก
วันที่ 23 ก.พ. 2550
ขออนุโมทนา
 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
wannee.s
วันที่ 23 ก.พ. 2550

อาบัติที่ปลงไม่ได้ เช่น เสพเมถุน ลักทรัพย์ ฆ่ามนุษย์ อวดคุณธรรมว่าได้บรรลุ (แต่จริงๆ ยังไม่บรรลุ) ปาราชิกปลงไม่ได้ แต่สึกแล้วบวชเป็นสามเณรได้ ถ้าปาราชิกแล้วไม่สึก เป็นเครื่องกั้นมรรคผลนิพพาน แต่ถ้าสึกเป็นคฤหัสถ์ยังมีโอกาสบรรลุได้ถ้าเหตุปัจจัยพร้อม ส่วนอาบัติสังฆาทิเลสต้องอยู่กรรมจึงจะพ้นได้ สังฆาทิเลส คือการไปถูกต้องกายของผู้หญิงแล้วยินดี อาบัติที่ปลงได้กับภิกษุด้วยกัน เช่น เคี้ยวข้าวดังๆ แล้วบอกกับเพื่อนภิกษุด้วยกันว่าได้อาบัติข้อนี้ ต่อไปจะสำรวมระวัง เป็นต้น

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
PUM
วันที่ 23 ก.พ. 2550

การปลงอาบัติหรือแก้อาบัติ ทำอย่างไรครับ?

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
study
วันที่ 24 ก.พ. 2550

เชิญคลิกอ่านได้ที่...

วิธีแสดงอาบัติ [มหาวิภังค์]

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
PUM
วันที่ 24 ก.พ. 2550

กราบขอบพระคุณครับ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
shumporn.t
วันที่ 25 ก.พ. 2550

อ่านความเห็นข้อที่ ๖ แล้ว รู้สึกถึงความอ่อนน้อมความมีหิริโอตตัปปะของพระภิกษุจริงๆ เป็นความงามที่หาได้ยากยิ่งในสังคมที่เรียกหาความสมานฉันท์

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
หมาย
วันที่ 1 มี.ค. 2550

พระวินัยทำให้หมู่แห่งสงฆ์อยู่อย่างสงบสุข เพื่อให้พระภิกษุมีความเป็นหนึ่งเดียวกัน จะเห็นว่าในพระวินัยปิฎกมีภิกษุทำสิ่งที่ไม่ควรต่างๆ ซึ่งเป็นเหตุให้ถูกติเตียนจากผู้รู้ ก็จะเป็นเหตุให้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าต้องบัญญัติพระวินัยขึ้น เพื่อไม่ให้ภิกษุอื่นทำอย่างนั้นอีก เพราะในสมัยนั้นมีผู้เข้ามาบวชมาจากวรรณะต่างๆ กัน จากวรรณะสูงสุดจนถึงต่ำสุด จึงมีความประพฤติต่างกัน เมื่ออยู่รวมกันจึงมีต้องเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเพื่อความผาสุกแห่งหมู่สงฆ์ เมื่อทรงบัญญัติพระวินัยข้อใด แล้วภิกษุทำผิดข้อเดียวกันต้องอาบัติตามแต่ความหนักเบาของข้อนั้นๆ

ในปัจจุบันอาจมีปัจจัยที่จะทำให้ผิดวินัยได้ง่าย สมควรที่จะปลงอาบัติทุกวันก่อนทำวัตรสวดมนต์ (อาบัติเล็กน้อย ยกเว้นปาราชิกและสังฆาฑิเสส) เพื่อจะได้สำรวมต่อไป แต่จุดประสงค์ของพระวินัยคือ การสำรวมระวังกายวาจาให้สงบเรียบร้อย ให้สมกับความเป็นสมณะผู้สืบทอดพระพุทธศาสนาเพื่อยังบุคคลที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส เพื่อยังความเลื่อมใสแล้วไม่ให้เสื่อมไป

อนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
pornpaon
วันที่ 2 มี.ค. 2550
ขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
chatchai.k
วันที่ 11 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
Danadech
วันที่ 11 ก.ค. 2564

ขออนุญาตสอบถามเรื่องการทำวัตรเช้า-เย็นของพระสงฆ์ครับ ขณะที่พระพุทธเจ้ายังไม่ปรินิพพานมีการทำวัตรเช้า-เย็นหรือไม่ ใครเป็นผู้กำหนดให้มีการทำวัตรเช้าเย็น ในพระไตรปิฎกมีส่วนไหนบัญญัติไว้ให้ต้องทำวัตรทุกเช้าเย็นบ้างครับ

ขออนุญาตสอบถามอีกหนึ่งเรื่องครับ ในเรื่องการปลงอาบัติ หากมีการกล่าวหาพระภิกษุในเรื่องการกระทำผิดพระวินัยเรื่องใดเรื่องหนึ่ง หากพระภิกษุมีข้อโต้แย้งในการกล่าวหา และมิได้ยอมรับในการกระทำผิดวินัยตามที่มีการกล่าวหา จะมีขั้นตอนดำเนินการอย่างไรต่อบ้างครับ ตรงตามที่บัญญัติในพระไตรปิฎกส่วนใดบ้างครับ

ขอบคุณครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
khampan.a
วันที่ 12 ก.ค. 2564

เรียน ความคิดเห็นที่ 13 ครับ

-การทำวัตรเช้า ทำวัตรเย็น ไม่ได้มีในสมัยพุทธกาล สำหรับในยุคนี้ การทำวัตรเช้า ทำวัตรเย็น คือ การสวดมนต์เช้า สวดมนต์เย็น ซึ่งตามความเป็นจริงแล้ว พระธรรม สำหรับศึกษาด้วยความเคารพ แต่ละคำ ละเอียดลึกซึ้งอย่างยิ่ง แม้แต่ข้อความพระธรรมที่เป็นภาษาบาลีที่นำมาสวดกัน เช่น มงคลสูตร รัตนสูตร เมตตสูตร เป็นต้น ล้วนเป็นพระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง ที่จะสามารถเข้าใจได้ ต้องศึกษา เท่านั้น ในภาษาของตนๆ จะเห็นได้ว่า พระสูตรต่างๆ ตลอดจนถึงพระธรรมทั้ง ๓ ปิฎก พร้อมทั้งอรรถกถาที่อธิบายพระพุทธพจน์แต่ละคำ ได้มีการแปลเป็นไทยหมดแล้ว ซึ่งจะต้องศึกษาด้วยความเคารพจริงๆ จึงจะมีความเข้าใจที่ถูกต้องได้ สำหรับการทำวัตร ที่แทัจริง ในพระธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คือ การทำกิจที่ควรทำแก่กันและกัน เช่น อาจารย์มีกิจที่จะต้องทำต่อศิษย์ ศิษย์มีกิจที่จะต้องทำต่ออาจารย์ เป็นต้น ล้วนเป็นประพฤติปฏิบัติที่ดีงามที่ควรทำ

-การปลงอาบัติ เป็นการแสดงโทษ เปิดเผยโทษของตน ต่อหน้าภิกษุ หรือ คณะ หรือ สงฆ์ พร้อมทั้งมีความจริงใจที่จะไม่กระทำผิดอย่างนั้นอีก ถ้าไม่เห็นโทษ ไม่สำนึก ไม่จริงใจ แม้จะเปล่งคำปลงอาบัติ ก็ไม่พ้นจากอาบัติ

ภิกษุที่ท่านล่วงละเมิดพระวินัย แม้จะไม่มีผู้ใดทักท้วง หรือ แม้แต่ เมื่อท่านล่วงละเมิดพระวินัยแล้ว บอกว่า ไม่ได้ล่วงละเมิด ก็เป็นอาบัติตั้งแต่ที่ได้ล่วงละเมิดแล้ว มีโทษหนักเบาตามสิกขาบทนั้นๆ อีกทั้งยังมีอาบัติเพิ่มอีก ในข้อกล่าวเท็จ ถ้าหากว่า ภิกษุ เป็นผู้ว่ายากสอนยาก ภิกษุอื่นห้ามไม่ฟัง สามารถเป็นเหตุนำไปสู่การต้องอาบัติที่หนักได้ คือ สังฆาทิเสส สิกขาบทที่ ๑๒ ในข้อ "ความเป็นภิกษุผู้ว่ายาก" เป็นต้น มีแต่โทษเท่านั้นจริงๆ ภิกษุผู้มีอาบัติที่ไม่ได้แก้ไข เมื่อมรณภาพไป ชาติถัดไปต่อจากชาตินี้เลย ต้องไปเกิดในอบายภูมิ เท่านั้น จะเห็นว่าเป็นเรื่องเล็กน้อยไม่ได้เลย ครับ

...ยินดีในความดีของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
chatchai.k
วันที่ 13 ก.ค. 2564

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 16  
 
Jarunee.A
วันที่ 23 ม.ค. 2567

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ