การละความเห็นผิดว่าเป็นตัวตน

 
ckitipor
วันที่  25 ก.พ. 2550
หมายเลข  2904
อ่าน  2,747

ความเห็นผิดว่าเป็นตัวตน คน สัตว์ สิ่งของ กับ การละคลายโลภะความติดข้อง อย่างไหนต้องละได้ก่อนกรุณาแสดงข้อความจากพระไตรปิฎกที่กล่าวถึงเรื่องนี้ด้วยครับ ขออนุโมทนา


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 26 ก.พ. 2550
 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
wannee.s
วันที่ 26 ก.พ. 2550

กิเลส ๑๐ คือ

โลภะ พระอรหันต์ละได้เด็ดขาด

โทสะ พระอนาคามีละได้เด็ดขาด

โมหะ พระอรหันต์ละได้เด็ดขาด

มานะ พระอรหันต์ละได้เด็ดขาด

ทิฏฐิ ความเห็นผิด และ

วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย

ระโสดาบันละได้เด็ดขาด

ถีนะ ความท้อแท้

อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่าน

หิริกะวามไม่ละอายต่ออกุศล

โนตตัปปะวามไม่เกรงกลัวต่ออกุศล

ระอรหันต์ละได้เด็ดขาด

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
PUM
วันที่ 26 ก.พ. 2550

ขึ้นชื่อว่า อกุศล แล้วควรละทันที ที่สติระลึกได้เมื่ออกุศลเกิด เพื่อเป็นการขัดเกลาและสร้างสมอุปนิสัยแต่จะละได้เด็ดขาดด้วย วิปัสนาปัญญา

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
PUM
วันที่ 26 ก.พ. 2550

๒. สัพพาสวสังวรสูตร

ว่าด้วยการสังวรในอาสวะทั้งปวง

[๑๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จประทัยอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า พระเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงปริยายว่าด้วยการสังวรอาสวะทั้งปวงแก่พวกเธอ พวกเธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

[๑๑] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นอาสวะของภิกษุผู้รู้อยู่ เห็นอยู่ เราไม่กล่าวความสิ้นอาสวะของภิกษุผู้ไม่รู้อยู่ ไม่เห็นอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความสิ้นอาสวะจะมีได้แก่ภิกษุผู้รู้อะไร เห็นอยู่อะไร ความสิ้นอาสวะจะมีได้แก่ภิกษุผู้รู้เห็นโยนิโสมนสิการและอโยนิโสมนสิการ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุมนสิการโดยไม่แยบคายอาสวะทั้งหลายที่ยังไม่เกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเจริญขึ้น เมื่อภิกษุมนสิการโดยแยบคาย อาสวะทั้งหลายที่ยังไม่เกิดขึ้น ย่อมไม่เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเสื่อมสิ้นไปดูกรภิกษุทั้งหลาย อาสวะที่จะพึงละได้เพราะการเห็นมีอยู่ ที่จะพึงละได้เพราะการสังวรก็มี ที่จะพึงละได้เพราะเสพเฉพาะก็มี ที่จะพึงละได้เพราะความอดกลั้นก็มี ที่จะพึงละได้เพราะเว้นรอบก็มีที่จะพึงละได้เพราะบรรเทาก็มี ที่จะพึงละได้เพราะอบรมก็มี.ว่าด้วยการละอาสวะได้เพราะการเห็น

[๑๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อาสวะเหล่าไหน ที่จะพึงละได้เพราะการเห็น? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนในโลกนี้ ผู้ไม่ได้สดับ ไม่ได้เห็นพระอริยะทั้งหลาย ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้รับแนะนำในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็นสัปบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของสัปบุรุษไม่ได้รับแนะนำในธรรมของสัปบุรุษ ย่อมไม่รู้ทั่วถึงธรรมอันตนควรมนสิการ ย่อมไม่รู้ทั่วถึงธรรมอันตนไม่ควรมนสิการ เมื่อเขาไม่รู้ทั่วถึงธรรมที่ควรมนสิการ ไม่รู้ทั่วถึงธรรมที่ไม่ควรมนสิการย่อมมนสิการธรรมที่ไม่ควรมนสิการ ย่อมไม่มนสิการธรรมที่ควรมนสิการ.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่ไม่ควรมนสิการ ที่ปุถุชนมนสิการอยู่เป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อปุถุชนนั้นมนสิการธรรมเหล่าใดอยู่ กามาสวะก็ดี ภวาสะก็ดี อวิชชาสวะก็ดี ที่ยังไม่เกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเจริญขึ้น ธรรมที่ไม่ควรมนสิการเหล่านี้ ที่เขามนสิการอยู่

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรมนสิการที่ปุถุชนไม่มนสิการอยู่ เป็นไฉน? เมื่อปุถุชนนั้นมนสิการธรรมเหล่าใดอยู่ กามาสวะก็ดี ภวาสวะก็ดี อวิชชาสวะก็ดีที่ยังไม่เกิดขึ้น ย่อมไม่เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเสื่อมสิ้นไป ธรรมที่ควรมนสิการเหล่านี้ ที่เขาไม่มนสิการอยู่ อาสวะทั้งหลายที่ยังไม่เกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเจริญแก่ปุถุชนนั้น เพราะมนสิการธรรมที่ไม่ควรมนสิการ และเพราะไม่มนสิการธรรมที่ควรมนสิการ

ปุถุชนนั้นมนสิการอยู่โดยไม่แยบคายอย่างนี้ว่า เราได้มีแล้วในอดีตกาลหรือหนอ เราไม่ได้มีแล้วในอดีตกาลหรือหนอ ในอดีตกาลเราได้เป็นอะไรหนอ ในอดีตกาลเราได้เป็นอย่างไรหนอ ในอดีตกาลเราได้เป็นอะไรแล้วจึงเป็นอะไรหนอ ในอนาคตกาลเราจักมีหรือหนอ ในอนาคตกาลเราจักไม่มีหรือหนอ ในอนาคตกาลเราจักเป็นอะไรหนอ ในอนาคตกาลเราจักเป็นอย่างไรหนอในอนาคตกาลเราจักเป็นอะไรแล้วจึงจักเป็นอะไรหนอ หรือว่า ปรารภกาลปัจจุบันในบัดนี้มีความสงสัยขึ้นภายในว่า เรามีอยู่หรือ เราไม่มีอยู่หรือ เราเป็นอะไรหนอ เราเป็นอย่างไรหนอ สัตว์นี้มาแต่ไหนหนอ และมันจักไป ณ ที่ไหน.

เมื่อปุถุชนนั้นมนสิการอยู่โดยไม่แยบคายอย่างนี้ บรรดาทิฏฐิ ๖ ทิฏฐิอย่างใดอย่างหนึ่งย่อมเกิดขึ้น ทิฏฐิโดยจริงโดยแท้ย่อมเกิดขึ้นแก่ปุถุชนนั้นว่า ตนของเรามีอยู่ หรือว่า ตนของเราไม่มีอยู่ หรือว่า เราย่อมรู้ชัดตนด้วยตนเอง หรือว่า เราย่อมรู้ชัดสภาพมิใช่ตนด้วยตนเอง หรือว่าเราย่อมรู้ตนด้วยสภาพมิใช่ตน อีกอย่างหนึ่ง ทิฏฐิย่อมเกิดมีแก่ปุถุชนนั้นอย่างนี้ว่า ตนของเรานี้เป็นผู้เสวย ย่อมเสวยวิบากแห่งกรรมทั้งดีทั้งชั่วในอารมณ์นั้นๆ ก็ตนของเรานี้นั้นเป็นของแน่นอนยั่งยืนเที่ยงแท้ ไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา จักตั้งอยู่อย่างนั้นเสมอด้วยสิ่งยั่งยืนแท้ ข้อนี้เรากล่าวว่าทิฏฐิ ชัฏคือทิฏฐิ กันดารคือทิฏฐิ เสี้ยนหนามคือทิฏฐิ ความดิ้นรนคือทิฏฐิ สิ่งที่ประกอบสัตว์ไว้คือทิฏฐิ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับผู้ประกอบด้วยทิฏฐิสังโยชน์ย่อมไม่พ้นจากชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส ย่อมไม่พ้นจากทุกข์.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนอริยสาวกผู้สดับแล้ว ผู้เห็นพระอริยะทั้งหลาย ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ได้รับแนะนำด้วยดีในธรรมของพระอริยะ ผู้เห็นสัปบุรุษ ฉลาดในธรรมของสัปบุรุษได้รับคำแนะนำด้วยดีในธรรมของสัปบุรุษ ย่อมรู้ทั่วถึงธรรมที่ควรมนสิการ และไม่ควรมนสิการเมื่ออริยสาวกนั้นรู้ทั่วถึงธรรมที่ควรมนสิการ และไม่ควรมนสิการ ย่อมไม่มนสิการธรรมที่ไม่ควรมนสิการ และมนสิการธรรมที่ควรมนสิการ.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ไม่ควรมนสิการเหล่าไหน ที่อริยสาวกไม่มนสิการ? เมื่ออริยสาวกนั้นมนสิการธรรมเหล่าใดอยู่ กามาสวะก็ดี ภวาสวะก็ดี อวิชชาสวะก็ดี ที่ยังไม่เกิดขึ้นย่อมเกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเจริญขึ้น ธรรมที่ไม่ควรมนสิการเหล่านี้ ที่อริยสาวกไม่มนสิการ.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่ควรมนสิการเหล่าไหน ที่อริยสาวกมนสิการอยู่? เมื่ออริยสาวกนั้นมนสิการธรรมเหล่าใดอยู่ กามาสวะก็ดี ภวาสวะก็ดี อวิชชาสวะก็ดี ที่ยังไม่เกิดขึ้น ย่อมไม่เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเสื่อมสิ้นไป ธรรมที่ควรมนสิการเหล่านี้ ที่อริยสาวกมนสิการอยู่อาสวะทั้งหลายที่ยังไม่เกิดขึ้น จะไม่เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้ว จะเสื่อมสิ้นไปแก่อริยสาวกนั้นเพราะไม่มนสิการธรรมที่ไม่ควรมนสิการ และเพราะมนสิการธรรมที่ควรมนสิการ.

อริยสาวกนั้น ย่อมมนสิการโดยแยบคายว่า นี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ความดับทุกข์นี้ปฏิปทาให้ถึงความดับทุกข์ เมื่ออริยสาวกนั้นมนสิการอยู่โดยแยบคายอย่างนี้ สังโยชน์ ๓ คือสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ย่อมเสื่อมสิ้นไป ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาสวะเหล่านี้เรากล่าวว่า จะพึงละได้เพราะการเห็น

[๑๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อาสวะเหล่าไหน ที่จะพึงละได้เพราะการสังวร? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาโดยแยบคายแล้วเป็นผู้สำรวมแล้วด้วยความสำรวมในจักขุนทรีย์อยู่ ก็อาสวะและความเร่าร้อนอันกระทำความคับแค้นเหล่าใด พึงเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้นผู้ไม่สำรวมจักขุนทรีย์ อาสวะและความเร่าร้อนอันกระทำความคับแค้นเหล่านั้น ย่อมไม่มีแก่ภิกษุนั้น ผู้สำรวมจักขุนทรีย์อยู่อย่างนี้.

ภิกษุพิจารณาโดยแยบคายแล้ว เป็นผู้สำรวมด้วยความสำรวมในโสตินทรีย์อยู่ ...

ภิกษุพิจารณาโดยแยบคายแล้ว เป็นผู้สำรวมด้วยความสำรวมในฆานินทรีย์อยู่ ...

ภิกษุพิจารณาโดยแยบคายแล้ว เป็นผู้สำรวมด้วยความสำรวมในชิวหินทรีย์อยู่ ...

ภิกษุพิจารณาโดยแยบคายแล้ว เป็นผู้สำรวมด้วยความสำรวมในกายินทรีย์อยู่ ...

ภิกษุพิจารณาโดยแยบคายแล้ว เป็นผู้สำรวมด้วยความสำรวมใน

มนินทรีย์อยู่ ก็อาสวะและความเร่าร้อนอันกระทำความคับแค้นเหล่าใด พึงบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ไม่

สำรวมในมนินทรีย์อยู่ อาสวะและความเร่าร้อนอันกระทำความคับแค้นเหล่านั้น ย่อมไม่มีแก่ภิกษุผู้สำรวมในมนินทรีย์อยู่อย่างนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาสวะเหล่านี้ เรากล่าวว่า จะพึงละได้เพราะการสังวรว่าด้วยละอาสวะได้เพราะการพิจารณาเสพ

[๑๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อาสวะเหล่าไหน ที่จะพึงละได้เพราะการพิจารณาเสพ?ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาโดยแยบคายแล้ว เสพจีวรเพียงเพื่อกำจัดหนาว ร้อน สัมผัส แห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลาน เพียงเพื่อจะปกปิดอวัยวะที่ให้ความละอายกำเริบ พิจารณาโดยแยบคายแล้ว เสพบิณฑบาตมิใช่เพื่อจะเล่น มิใช่เพื่อมัวเมา มิใช่เพื่อประดับ มิใช่เพื่อตบแต่ง เพียงเพื่อให้กายนี้ดำรงอยู่ เพื่อให้เป็นไปเพื่อกำจัดความลำบาก เพื่ออนุเคราะห์แก่พรหมจรรย์ ด้วยคิดว่า จะกำจัดเวทนาเก่าเสียด้วยจะไม่ให้เวทนาใหม่เกิดขึ้นด้วย ความเป็นไป ความไม่มีโทษ และความอยู่สบายด้วย จักมีแก่เราฉะนี้ พิจารณาโดยแยบคายแล้ว เสพเสนาสนะ เพียงเพื่อกำจัดหนาวร้อน สัมผัสแห่งเหลือบยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลาน เพียงเพื่อบรรเทาอันตรายแต่ฤดู เพื่อรื่นรมย์ในการหลีกออกเร้นอยู่ พิจารณาโดยแยบคายแล้ว เสพบริขาร คือ ยาอันเป็นปัจจัยบำบัดไข้ เพียงเพื่อกำจัดเวทนาที่เกิดแต่อาพาธต่างๆ ที่เกิดขึ้นแล้ว เพื่อความเป็นผู้ไม่มีอาพาธเบียดเบียนเป็นอย่างยิ่ง.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาสวะและความเร่าร้อนอันกระทำความคับแค้นเหล่าใด พึงบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้นผู้ไม่พิจารณาเสพปัจจัยอันใดอันหนึ่ง อาสวะและความเร่าร้อนอันกระทำความคับแค้นเหล่านั้น ย่อมไม่มีแก่ภิกษุนั้น ผู้พิจารณาเสพอยู่อย่างนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาสวะเหล่านี้เรากล่าวว่า จะพึงละได้เพราะการพิจารณาเสพ.

[๑๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อาสวะเหล่าไหน ที่จะพึงละได้เพราะความอดกลั้น? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาโดยแยบคายแล้วเป็นผู้อดทนต่อหนาว ร้อน หิวระหาย สัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลาน เป็นผู้มีชาติของผู้อดกลั้นต่อถ้อยคำที่ผู้อื่นกล่าวชั่ว ร้ายแรงต่อเวทนาที่มีอยู่ในตัว ซึ่งบังเกิดขึ้นแล้ว เป็นทุกข์ กล้า แข็งเผ็ดร้อน ไม่เป็นที่ยินดี ไม่เป็นที่ชอบใจ อาจพล่าชีวิตเสียได้.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อาสวะและความเร่าร้อนอันกระทำความคับแค้นเหล่าใด พึงบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้นผู้ไม่อดกลั้นอยู่ อาสวะและความเร่าร้อนอันกระทำความคับแค้นเหล่านั้น ย่อมไม่มีแก่ภิกษุนั้น ผู้อดกลั้นอยู่อย่างนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาสวะเหล่านี้ เรากล่าวว่า จะพึงละได้เพราะความอดกลั้น.

[๑๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อาสวะเหล่าไหนที่จะพึงละได้เพราะความเว้นรอบ? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาโดยแยบคายแล้วเว้นช้างที่ดุร้าย ม้าที่ดุร้าย โคที่ดุร้ายสุนัขที่ดุร้าย งู หลักตอ สถานที่มีหนาม บ่อ เหว แอ่งน้ำครำ บ่อน้ำครำ เพื่อนพรหมจรรย์ผู้เป็นวิญญูชนทั้งหลาย พึงกำหนดลงซึ่งบุคคลผู้นั่ง ณ ที่มิใช่อาสนะเห็นปานใด ผู้เที่ยวไปณ ที่มิใช่โคจรเห็นปานใด ผู้คบมิตรที่ลามกเห็นปานใด ในสถานทั้งหลายอันลามก ภิกษุนั้นพิจารณาโดยแยบคายแล้ว เว้นที่มิใช่อาสนะนั้น ที่มิใช่โคจรนั้น และมิตรผู้ลามกเหล่านั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย จริงอยู่ อาสวะและความเร่าร้อนอันกระทำความคับแค้นเหล่าใด พึงบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น ผู้ไม่เว้นสถานหรือบุคคลอันใดอันหนึ่ง อาสวะและความเร่าร้อนอันกระทำความคับแค้นเหล่านั้น ย่อมไม่มีแก่ภิกษุนั้น ผู้เว้นรอบอยู่อย่างนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาสวะเหล่านี้ เรากล่าวว่าจะพึงละได้เพราะการเว้นรอบ

[๑๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อาสวะเหล่าไหนที่จะพึงละได้เพราะความบรรเทา? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาโดยแยบคายแล้วย่อมอดกลั้น ย่อมละ ย่อมบรรเทากามวิตกที่เกิดขึ้นแล้ว ทำให้สิ้นสูญ ให้ถึงความไม่มี ย่อมอดกลั้น ย่อมละ ย่อมบรรเทา พยาบาทวิตกที่เกิดขึ้นแล้ว ทำให้สิ้นสูญ ให้ถึงความไม่มี ย่อมอดกลั้น ย่อมละ ย่อมบรรเทา วิหิงสาวิตกที่เกิดขึ้นแล้ว ทำให้สิ้นสูญ ให้ถึงความไม่มี ย่อมอดกลั้น ย่อมละ ย่อมบรรเทาธรรมที่เป็นบาปอกุศลที่บังเกิดขึ้นแล้ว ทำให้สิ้นสูญ ให้ถึงความไม่มี ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อาสวะและความเร่าร้อนอันกระทำความคับแค้นเหล่าใด พึงบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น ผู้ไม่บรรเทาธรรมอันใดอันหนึ่งอาสวะและความเร่าร้อนอันกระทำความคับแค้นเหล่านั้น ย่อมไม่มีแก่ภิกษุผู้บรรเทาอยู่อย่างนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาสวะเหล่านี้ เรากล่าวว่า จะพึงละได้เพราะความบรรเทา.ว่าด้วยละอาสวะได้เพราะการอบรม

[๑๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อาสวะเหล่าไหนที่จะพึงละได้เพราะอบรม ดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาโดยแยบคายแล้ว เจริญสติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในความสละลง เจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ... เจริญวิริยสัมโพชฌงค์ ...เจริญปิติสัมโพชฌงค์ ... เจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ... เจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ ... เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในความสละลง ดูกรภิกษุทั้งหลายก็อาสวะและความเร่าร้อนอันกระทำความคับแค้นเหล่าใด พึงเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น ผู้ไม่อบรมธรรมอันใดอันหนึ่ง อาสวะและความเร่าร้อนอันกระทำความคับแค้นเหล่านั้น ย่อมไม่มีแก่ภิกษุนั้นผู้อบรมอยู่อย่างนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาสวะเหล่านี้ เรากล่าวว่า จะพึงละได้เพราะอบรม.

[๑๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะเหตุว่า อาสวะเหล่าใด อันภิกษุใดพึงละได้เพราะการเห็น อาสวะเหล่านั้น อันภิกษุนั้นได้แล้วเพราะการเห็น อาสวะเหล่าใดอันภิกษุใดพึงละได้เพราะการสังวร อาสวะเหล่านั้น อันภิกษุนั้นละได้แล้วเพราะการสังวร อาสวะเหล่าใด อันภิกษุใดพึงละได้เพราะการพิจารณาเสพ อาสวะเหล่านั้น อันภิกษุนั้นละได้แล้วเพราะการพิจารณาเสพอาสวะเหล่าใด อันภิกษุใด พึงละได้เพราะความอดกลั้น อาสวะเหล่านั้น อันภิกษุนั้นละได้แล้วเพราะความอดกลั้น อาสวะเหล่าใด อันภิกษุใดพึงละได้เพราะการเว้นรอบ อาสวะเหล่านั้นอันภิกษุนั้นละได้แล้ว เพราะการเว้นรอบ อาสวะเหล่าใด อันภิกษุใด พึงละได้เพราะการบรรเทาอาสวะเหล่านั้น อันภิกษุนั้นละได้แล้วเพราะการบรรเทา อาสวะเหล่าใด อันภิกษุใดพึงละได้เพราะการอบรม อาสวะเหล่านั้น อันภิกษุนั้นละได้แล้วเพราะการอบรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้เรากล่าวว่า เป็นผู้สำรวมด้วยความสังวรในอาสวะทั้งปวงอยู่ ตัดตัณหาได้แล้ว ยังสังโยชน์ให้ปราศไปแล้ว ได้ทำที่สุดแห่งทุกข์เพราะความตรัสรู้ ด้วยการเห็นและการละมานะโดยชอบ.

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสสังวรปริยายนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นชื่นชมยินดีภาษิตของพระผู้มีพระภาค ฉะนี้แล.

จบ สัพพาสวสังวรสูตร ที่ ๒

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
อิคิว
วันที่ 3 มี.ค. 2550

ควรละความเห็นผิดก่อนเป็นเบื้องต้นครับ ด้วยเหตุผลว่า หลักธรรมคำสั่งสอนของพระสัมมสัมพุทธเจ้านั้นเป็นมัชเฌนธรรม เป็นหลักธรรมทางสายกลาง ดูๆ ก็น่าจะเข้าใจง่ายๆ ว่าอะไรเป็นทางสายกลาง แต่อาจจะไม่ง่ายอย่างที่คิด พระธรรมของพระพุทธเจ้า ลึกซึ้งเข้าใจยาก และมักจะกล่าวว่าทางสายกลางคือ ไม่ตึงไม่หย่อน พอดีพอเหมาะแล้วอย่างไรจึงจะเรียกได้ว่าพอดีพอเหมาะ เพราะความพอดีพอเหมาะของแต่ละคน มีคำจำกัดความต่างกัน จนยากที่จะหาข้อสรุปได้

มีพุทธพจน์ตรัสเตือนไว้ ไม่ให้ประมาทหลักปฏิจจสมุปบาทนี้ว่า เป็นหลักเหตุผลที่เข้าใจง่าย เพราะเคยมีเรื่องพระอานนท์เข้าไปกราบทูลพระองค์ และได้ตรัสตอบดังนี้ น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมาเลย พระเจ้าข้า หลักปฏิจจสมุปบาทนี้ ถึงจะเป็นธรรมลึกซึ้ง และปรากฏเป็นของลึกซึ้ง ก็ยังปรากฏแก่ข้าพระองค์ เหมือนเป็นธรรมง่ายๆ

อย่ากล่าวอย่างนั้น อย่ากล่าวอย่างนั้น อานนท์ ปฎิจจสมุปบาทนี้ เป็นธรรมลึกซึ้งและปรากฏเป็นของลึกซึ้ง เพราะไม่รู้ ไม่เข้าใจ ไม่แทงตลอดหลักธรรมข้อนี้แหละ หมู่สัตว์นี้จึงวุ่นวายเหมือนเส้นด้ายที่ขอดกันยุ่ง จึงขมวดเหมือนกลุ่มเส้นด้ายที่เป็นปม จึงเป็นเหมือนหญ้ามุงกระต่าย และหญ้าปล้อง จึงผ่านพ้น อบาย ทุคติ วินิบาตสังสารวัฏฏ์ ไปไม่ได้

ภิกษุทั้งหลาย ในเรื่องนั้น อริยสาวกผู้ได้เรียนรู้แล้ว ย่อมพิจารณาสืบสาว (โยนิโสมนสิการ) เป็นอย่างดี ถึงการที่สิ่งทั้งหลายอาศัยกันและกัน จึงเกิดขึ้น (ปฏิจจสมุปบาท) ว่า“เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้ก็ดับ กล่าวคือ เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมีเพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี ฯลฯ เพราะอวิชชาสำรอกดับไปไม่เหลือ สังขารจึงดับเพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ ฯลฯ”

ถ้าไม่พิจารณาในคำสอนของพระองค์ให้ดีก็จะเห็นผิดได้ว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยตัณหา โลภะ ฯลฯ จึงมีเพราะอวิชชาสำรอกดับไปไม่เหลือ ตัณหา โลภะ จึงดับ เมื่อเป็นเช่นนั้นเราจึงต้องหาวิธีดับอวิชชาไปเสียจากตัวเราให้จงได้ ถ้าตั้งต้นเช่นนี้ก็ทำให้มีความเห็นผิดได้เพราะเห็นผิดว่ามีตัวตนที่จะมาดับ อวิชชาตัณหาได้ แต่ในความเป็นจริงที่เป็นความเห็นชอบนั้น ต้องเห็นว่าสภาพธรรมทั้งหลายไม่ใช่ตัวตน ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่งาม น่าเกลียดไม่เป็นไปในอำนาจบังคับบัญชาของใคร

อีกประการ ไตรลักษณ์ นี้ก็คือ หลักการของทางสายกลางเช่นเดียวกับปฏิจจสมุปบาทแม้จะไม่เหมือนปฏิจจสมุปบาทก็ตาม อีกประการ แม้ใน อริยสัจ ๔ ที่เป็นมัชฌิมาปฏิปทา มีมรรคองค์ ๘ ข้อแรกก็เริ่มด้วย สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ

อีกประการ เมื่อครั้งที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ได้ไม่นาน ได้เดินทางไปโปรดปัญจวคี เมื่อแรกปัญจวคีก็ไม่เชื่อ ด้วยเห็นผิดว่าพระพุทธเจ้าได้เวียนไปสู่ความมักมากแล้ว เพราะเห็นผิดว่า ต้องด้วยวิธีการทรมานสังขารเท่านั้นจึงจะสู่ความหลุดพ้นได้ พระพุทธเจ้ายังไม่แสดงธรรมก่อน แต่ทรงถอนทิฏฐิความเห็นที่สุดโต่งของปัญจวคีก่อนว่าที่สุดของสองสิ่งที่ไม่ควรข้องแวะ คือ

๑. กามสุขัลลิกานุโยค การหมกมุ่นอยู่ด้วยกามสุข

๒. อัตตกิลมถานุโยค การประกอบความลำบากเดือดร้อนแก่ตนเอง

แต่ให้ยึดหลักความเป็นทางสายกลาง (the Middle Path หรือ Middle Way แต่ไม่ใช่อยู่กลางระหว่างที่สุดทั้งสอง) ด้วยเหตุผลที่กล่าวมาแล้วนั้น จึงเห็นว่า ควรละความเห็นผิดก่อน

ขอเจริญในธรรม

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
praisin
วันที่ 11 มี.ค. 2550

พระราธเถระ พระพุทธองค์แสดงธรรมแต่โดยย่อว่า.....

ราธะสิ่งใดเป็น “มาร” รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นสิ่งไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตนมีความสิ้นไป เกิดขึ้นแล้วดับไปเป็นธรรมดา ชื่อว่ามาร ท่านจงละความพอใจในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นั้นเสีย เมื่อได้เจริญสมณธรรมด้วยความไม่ประมาทไม่นานก็ได้สำเร็จพระอรหันต์

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
Guest
วันที่ 11 มี.ค. 2550

พระผู้มีพระภาคทรงแสดงหนทางอบรมเจริญปัญญาอย่างละเอียด ทรงแสดงเหตุ และ ปัจจัยที่ทำให้การอบรมปัญญาเจริญขึ้น ซึ่งโดยย่อ ก็คือ การฟังธรรมและเห็นประโยชน์ของ การศึกษาธรรม เมื่อปัจจัยทั้งสองนี้เกิดขึ้นบ่อยๆ เนืองๆ ปัญญาก็ย่อมอบรมเจริญขึ้นได้

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
chatchai.k
วันที่ 18 พ.ย. 2563

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ