พระอริยะ จะทำกฐินทองคำช่วยชาติไหม?

 
DjPut
วันที่  28 ส.ค. 2560
หมายเลข  29109
อ่าน  1,305

ขึ้นชื่อว่าพระอริยะ ไม่ต้องถึงขั้นพระอรหันต์ เอาแค่ พระโสดาบัน ซึ่งกรณีท่านเป็นเพศบรรพชิต คือ เป็นภิกษุ แม้บรรลุแล้วซึ่งพระโสดาบัน ท่านจะละเมิดพระวินัย แม้เพียงเล็กน้อยหรือไม่ เช่น การทำกฐินทองคำช่วยชาติ

และผู้ที่บรรลุธรรม ย่อมไม่คลาดเคลื่อนสำคัญตนผิดว่า บรรลุธรรมขั้นสูงกว่า ผิดไปจากความจริง เช่น ตนบรรลุพระโสดาบัน แต่เข้าใจตนเองผิด ว่าบรรลุพระอรหันต์ จบกิจแล้ว สิ่งนี้ย่อมเป็นไปไม่ได้เลย ใช่หรือไม่ ดังนั้น ผู้ที่ยังเข้าใจผิดอยู่ ย่อมไม่ถึงฟากแห่งอริยะแม้เพียงขั้นต้น ยังเป็นเพียงปุถุชนปัญญาทรามอยู่ แม้แต่วิปัสสนาก็ยังอ่อนมาก เพราะขึ้นชื่อว่า ยังไม่เห็นสภาพธรรมตามความเป็นจริง

(เพื่อการศึกษา ในสิ่งที่ศึกษาทั่วๆ ไปไม่ได้ครับ)

ขออนุโมทนา กับพระธรรมและกุศลจิตทุกๆ ดวง


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 29 ส.ค. 2560

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

เรื่องของกฐินเป็นเรื่องที่ละเอียดและพระภิกษุและคฤหัสถ์ควรปฏิบัติอย่างถูกต้องในเรื่องของกฐินด้วยการศึกษาพระธรรมวินัย เพื่อเป็นการดำรงรักษาพระศาสนาไว้ครับ

คำว่า กฐิน มี ๒ ความหมาย คือ กฐินเป็นชื่อไม้สะดึงสำหรับขึงผ้าให้ตึงเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยในการเย็บผ้า และ กฐินตามพระวินัยหมายถึงผ้า ซึ่งเป็นผ้าสำหรับครองของพระภิกษุ เป็นผ้าผืนใดผืนหนึ่งในบรรดา ๓ ผืน

กฐิน เป็นการทำสังฆกรรมของพระภิกษุสงฆ์ทั้งหลาย ที่มาของกฐินนั้น คือพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปรารภภิกษุชาวเมืองปาฐา ๓๐ รูป ซึ่งมีความประสงค์จะมาเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าที่วิหารพระเชตวัน ตอนนั้นจวนเข้าสู่ช่วงเข้าพรรษา ไม่สามารถเดินทางให้ทันวันเข้าพรรษาในพระนครสาวัตถี ก็เลยอยู่จำพรรษาตามพระวินัย ณ เมืองสาเกต เมื่อออกพรรษาแล้ว ท่านเหล่านั้นก็เดินทางต่อทันที ในช่วงนั้นฝนยังไม่หมดทำให้จีวรเปียกชุ่มด้วยน้ำ เกิดความลำบาก พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปรารภในเรื่องนี้จึงทรงอนุญาตให้ภิกษุที่อยู่จำพรรษาครบ ๓ เดือนแล้ว ทำการกรานกฐิน เพื่อเปลี่ยนผ้าในช่วงจีวรกาล ระยะเวลา ในการถวายกฐินนั้น มีระยะเวลา ๑ เดือน คือ หลังออกพรรษาแล้ว ตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำเดือน ๑๑ ถึง วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒

จะเห็นนะครับว่า เรื่อง กฐินเป็นเรื่องของผ้าเท่านั้น ไม่เกี่ยวกับเงินทองเลย เพราะเหตุว่า เงินทองเป็นสิ่งที่เป็นอกัปปิยะ คือ สิ่งไม่เหมาะสมกับเพศบรรพชิตครับ

กฐิน เป็นสังฆกรรมของพระภิกษุทั้งหลาย โดย บริษัททั้ง 4 หรือ แม้แต่เทวดา ก็ถวายผ้ากับสงฆ์และก็มีการทำกรานกฐิน โดยเป็นวินัยของสงฆ์ครับ

ดังนั้น การแจกซองกฐิน หรือ กฐินทองคำช่วยชาติ จึงไม่ถูกต้องตามกฐินในพระธรรมวินัย ที่เป็นเรื่องของการถวายผ้ากับพระภิกษุเท่านั้นครับ ไม่มีเงินและทองมาร่วมด้วย ไม่มีบริวารกฐินที่เป็นเงินทองเลยครับ และการสร้างศาสนาวัตถุ ก็ไม่ควรนำกฐินมาเกี่ยวข้องเพราะกฐินเป็นเรื่องของผ้าเท่านั้น ดังนั้นถ้าจะให้สร้างศาสนาวัตถุ ก็บอกไปโดยตรงว่า ร่วมเรี่ยไรกันสร้างศาสนาวัตถุ แต่ไม่ใช่นำเอาเรื่องกฐิน มาปนโดยการเรี่ยไรเงิน ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับกฐินและไม่ตรงเลยครับ ดังนั้นเมื่อคฤหัสถ์มีการเรี่ยไรด้วยการอ้างกฐินก็เท่ากับมีความเข้าใจผิดในพระธรรม พระศาสนาก็เสื่อมไปเรื่อยๆ เพราะผิดพระวินัยที่พระองค์บัญญัติไว้นั่นเองครับ และหากพระภิกษุในวัด ขอให้การทำกฐิน โดยไปบอกกับคฤหัสถ์ก็ผิดเช่นกัน ไม่เป็นกฐิน เพราะกฐินไม่ใช่การรวบรวมเงินมาทำที่วัด เพราะเงินไม่ใช่สิ่งที่สมควรกับพระภิกษุ และแม้พระภิกษุจะขอผ้าจากคฤหัสถ์โดยไม่มีเรื่องเงินทองก็ตามก็เป็นกฐินไม่ถูกต้องเช่นกัน เพราะภิกษุสงฆ์ไม่ควรขอผ้า เพราะผ้าได้ด้วยการขอไม่บริสุทธิ์ ต้องคฤหัสถ์หรือบริษัท 4 มีความประสงค์จะถวายผ้าเองครับ ผ้านั้นจึงบริสุทธิ์เป็นผ้าที่ทำกฐินได้ครับ ธรรมจึงเป็นเรื่องละเอียดจริงๆ ครับ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
khampan.a
วันที่ 29 ส.ค. 2560

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ความเป็นพระอริยะ (ผู้ประเสริฐซึ่งห่างไกลจากกิเลสที่ดับได้แล้ว) ไม่ใช่ใครมาบอกว่าเป็นพระอริยะก็จะเป็นพระอริยะ หรือ แม้ผู้นั้นป่าวประกาศว่า เป็นพระอริยะ ก็ไม่ใช่พระอริยะ แต่เป็นการหลอกลวง ไม่เป็นความจริง เพราะความเป็นพระอริยะ เป็นได้ด้วยการอบรมเจริญปัญญา ตามหนทางที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ เป็นการรู้สภาพธรรมตามความเป็นจริง ดับกิเลสตามขั้น และ สำหรับพระอริยบุคคล ท่านจะไม่ป่าวประกาศให้คนอื่นรู้ว่า ท่านเป็นพระอริยบุคคล มีแต่มีความปรารถนาดีที่จะให้ผู้อื่นได้รู้ความจริงเช่นกับที่ตนเองได้รู้ และ ปกปิดคุณความดีของตนเอง

จำเป็นอย่างยิ่ง ที่พุทธศาสนิกชน หรือ ชาวพุทธ จะได้ฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง เพราะถ้าได้ฟัง ได้ศึกษา ด้วยความละเอียด มีการพิจารณาไตร่ตรองในสิ่งที่ได้ฟัง ได้ศึกษา พิจารณาในความเป็นเหตุเป็นผลของธรรม ก็จะทำให้มีความเข้าใจที่ถูกต้องตรงตามพระธรรม เมื่อมีความเข้าใจอย่างถูกต้องแล้ว ทั้งผู้ที่เป็นบรรพชิต และ ผู้ที่เป็นคฤหัสถ์ ก็จะมีความประพฤติที่คล้อยตามพระธรรม (คล้อยไปตามความเข้าใจที่เจริญขึ้น) ไม่กระทำในสิ่งที่ผิด ที่ไม่ถูกต้องตามพระธรรม จะเห็นได้ว่า พระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง นั้นทั้งหมดทั้งปวง เป็นไปเพื่อละกิเลส (ไม่ใช่เป็นไปเพื่อเพิ่มกิเลส) เป็นไปเพื่อความเจริญขึ้นของกุศลธรรรม ซึ่งถ้าได้ศึกษาไปตามลำดับแล้ว ก็จะรู้ได้ว่า อะไรคือสิ่งที่ถูกต้อง อะไร คือ สิ่งที่ผิดไม่เป็นไปตามพระธรรมวินัยที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง เมื่อได้เข้าใจแล้วว่าอะไรผิด อะไรถูก ก็พร้อมที่จะสละการกระทำที่ผิด ที่ไม่ตรง แล้วน้อมประพฤติแต่สิ่งที่ถูกต้อง เท่านั้น แม้แต่ในเรื่องกฐิน ก็ไม่ได้เกี่ยวกับเรื่องเงินโดยประการทั้งปวง และไม่ใช่กิจของภิกษุที่จะหาเงินเพื่อช่วยเหลือประเทศชาติ เพราะนั่นเป็นกิจของชาวบ้าน ไม่ใช่กิจของพระภิกษุ ครับ

...อนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
ํํญาณินทร์
วันที่ 29 ส.ค. 2560

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
ธนฤทธิ์
วันที่ 29 ส.ค. 2560

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
วิริยะ
วันที่ 31 ส.ค. 2560

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
Mayura
วันที่ 31 ส.ค. 2560

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
apichet
วันที่ 1 ก.ย. 2560

อนุโมทนาสาธุครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
wannee.s
วันที่ 8 ก.ย. 2560

ต้องมั่นคงในพระธรรมวินัย กิจของสงฆ์มี 2 อย่างเท่านั้น

1. คันถะธุระ

2. วิปัสสนาธุระ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
Tommy9
วันที่ 28 ต.ค. 2560

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
Witt
วันที่ 30 ก.ย. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
chatchai.k
วันที่ 3 ต.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ