ปฐมโกธสูตร ... วันเสาร์ที่ ๒ กันยายน  ๒๕๖๐

 
มศพ.
วันที่  29 ส.ค. 2560
หมายเลข  29126
อ่าน  1,193

นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส

พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ
ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ
สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ

•••..... ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย .....•••

... สนทนาธรรมที่ ...

มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา (มศพ.)

พระสูตร ที่จะนำมาสนทนาที่มูลนิธิฯ
วันเสาร์ที่ ๒ กันยายน ๒๕๖๐

คือ

ปฐมโกธสูตร

...จาก...

[เล่มที่ 35] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ ๑๖๐


[เล่มที่ 35] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ ๑๖๐

๓. ปฐมโกธสูตร (ว่าด้วยบุคคล ๔ จำพวก)

[๔๓] ดูกร ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลกบุคคล ๔ จำพวกคือใคร คือ บุคคล หนักในความโกรธ ไม่หนักในพระสัทธรรม ๑ บุคคล หนักในความลบหลู่ท่าน ไม่หนักในพระสัทธรรม ๑ บุคคลหนักในลาภ ไม่หนักในพระสัทธรรม ๑ บุคคลหนักในสักการะ ไม่หนักในพระสัทธรรม ๑ นี้แล บุคคล ๔ จำพวกมีปรากฏอยู่ในโลก

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวก มีปรากฏอยู่ในโลก บุคคล ๔ จำพวกคือใคร คือ บุคคล หนักในพระสัทธรรม ไม่หนักในความโกรธ ๑ บุคคล หนักในพระสัทธรรม ไม่หนักในความลบหลู่ท่าน ๑ บุคคลหนักในพระสัทธรรม ไม่หนักในลาภ ๑ บุคคลหนักในพระสัทธรรม ไม่หนักในสักการะ ๑

ภิกษุผู้หนักในความโกรธและความลบหลู่ท่าน
หนักในลาภและสักการะ ภิกษุเหล่านั้น
ย่อมไม่งอกงามในพระธรรมที่พระสัมมา
สัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว ส่วนภิกษุเหล่าใด
หนักในพระสัทธรรมแล้ว และกำลังหนัก
ในพระสัทธรรมอยู่ ภิกษุเหล่านั้นย่อมงอกงาม
ในพระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว.

จบปฐมโกธสูตรที่ ๓.

อรรถกถาปฐมโกธสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในปฐมโกธสูตรที่ ๓ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า โกธครุ น สทฺธมฺมครุ ความว่า บุคคลถือความโกรธ เป็นสำคัญ ไม่ถือพระสัทธรรม ย่อมถือพระสัทธรรม แต่ทำให้ไม่สำคัญ. แม้ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้เหมือนกัน. บทว่า วิรูหนฺติ ได้แก่ ย่อมเจริญ หรือ ย่อมตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว ด้วยศรัทธาที่เป็นมูลเกิดพร้อมแล้ว.

จบอรรถกถาปฐมโกธสูตรที่ ๓


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
khampan.a
วันที่ 29 ส.ค. 2560

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

© ข้อความโดยสรุป ©

ปฐมโกธสูตร (ว่าด้วยบุคคล ๔ จำพวก)

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงบุคคล ๔ จำพวกที่มีปรากฏอยู่ในโลก คือ ผู้หนักในความโกรธ ไม่ได้หนักในพระสัทธรรม หนักในการลบหลู่ท่าน ไม่ได้หนักในพระสัทธรรม หนักในลาภ ไม่ได้หนักในพระสัทธรรม หนักในสักการะ ไม่ได้หนักในสัทธรรม ย่อมเป็นผู้ใม่เจริญในพระธรรมที่สัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว

ส่วน ผู้ที่หนักในพระสัทธรรม ไม่หนักในความโกรธ ไม่ได้หนักในความลบหลู่ท่าน ไม่ได้หนักในลาภ ไม่ได้หนักในสักการะ ย่อมเป็นผู้มีความจริญในพระธรรมที่สัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว.

ขอเชิญคลิกศึกษาเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ

โกรธ ดีไหม? ไม่ดี แต่ยังไม่รู้ว่า ความโกรธ เป็นธรรม ไม่ใช่เรา
ความลบหลู่
ลาภสักการะและความสรรเสริญ ทารุณ เผ็ดร้อน หยาบคาย
สัปบุรุษเป็นอย่างไร

...อนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
ประสาน
วันที่ 30 ส.ค. 2560

การศึกษาพระธรรมต้องเป็นผู้ละเอียด ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
ํํญาณินทร์
วันที่ 4 ก.ย. 2560

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ