ผู้ที่เป็นปุถุชนย่อมมีศีลไม่สมบูรณ์
ผู้ที่เป็นปุถุชนย่อมมีศีลไม่สมบูรณ์เหมือนพระอริยะ บางครั้งศีลเศร้าหมองหรือล่วงได้บ้างถ้าเหตุปัจจัยพร้อม แต่ศีลก็ควรรักษาตามกำลังและการสะสม และศีลก็ยังไม่มั่นคง จนกว่าจะเป็นพระอริยะบุคคลขั้นต่างๆ แต่การเจริญภาวนาย่อมเจริญได้ ถ้ามีความเข้าใจพระธรรมอย่างถูกต้อง ส่วนผู้ที่ไม่มีความเข้าใจ แม้พยายามที่จะรักษาศีล แต่ภาวนาก็เจริญไม่ได้ที่ท่านกล่าวถึงศีลเป็นเบื้องต้น เป็นพื้นฐานของพรหมจรรย์ หมายถึง ศีลของผู้มีความเข้าใจถูกต้อง องค์ประกอบที่สำคัญในการเจริญภาวนาคือปัญญา ไม่ใช่ศีล เพราะศีลเป็นเพียงข้อประพฤติทางกาย วาจา
ที่ท่านกล่าวถึงศีลเป็นเบื้องต้น เป็นพื้นฐานของพรหมจรรย์ หมายถึง ศีลของผู้มีความเข้าถูกต้อง
ซึ่งก็หมายถึงผู้รักษาศีลผู้นั้น มีปัญญา เข้าใจลักษณะของสภาวธรรมที่กำลังปรากฏ เข้าใจเรื่องสติปัฏฐาน ด้วย กุศลทุกประการก็จะเกื้อกูลต่อการอบรมเจริญปัญญา เ พื่อพ้นวัฏฏทุกข์ และ สติปัฎฐาน ก็จะเกื้อกูล ต่อ กุศล ขั้น ทาน ศีล และสมถในชีวิตประจำวันให้เจริญขึ้นด้วย ซึ่งจุดหมายก็คือ พ้นวัฏฏทุกข์ เช่นเดียวกัน
ขอเรียนถามเพื่อความเข้าใจ ได้ฟังอยู่เสมอว่า ต้องศีล สมาธิ ปัญญา ไม่ทราบว่า
เป็นลำดับอย่างไร
ในพระสูตรบางสูตรพระพุทธองค์ทรงแสดงตามอัธยาศัยของผู้ฟังในยุคนั้น ลำดับการศึกษาอบรมเจริญปัญญาของบางท่านจึงเป็นไปตามลำดับ แต่ใช่ว่าทุกคนจะต้องมีการอบรมตามลำดับเหมือนกันทุกคน เมื่อกล่าวถึงขณะที่สติปัฏฐานเกิดขึ้น ขณะนั้นองค์ของศีล สมาธิ และปัญญา มีพร้อมกันในขณะจิตเดียวกัน โดยไม่มีการไปทำเป็นลำดับดังนั้น ผู้ที่ศึกษาพระธรรมคำสอนจนเข้าใจ ย่อมเป็นผู้เจริญกุศลทุกประการ พร้อมทั้ง
เจริญ สติปัฏฐาน ชื่อว่าเป็นผู้เจริญศีล สมาธิ ปัญญา (มรรคมีองค์ ๕)