ลำดับการเกิดของโลกทั้ง 6 ทาง

 
JYS
วันที่  4 ต.ค. 2560
หมายเลข  29226
อ่าน  1,119

อยากทราบความละเอียดของก่อนจะเกิดเห็น เกิดเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส คิดนึก ว่ามีกระบวนการอย่างไร จิต เจตสิกอะไร ทำการงานของแต่ละทวารอย่างไร


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 4 ต.ค. 2560

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ยกตัวอย่างการเห็น เช่น เห็น สี และ เป็นดอกไม้สวย ที่เป็นทางจักขุทวาร ทางตา

วิถีจิตทางปัญจทวาร

รูป คือ สี กระทบปสาทรูป คือจักขุปสาทรูปมี อตีตภวังคค์ ภวังคจลนะ ภวังคุปัจเฉทะ เกิดขึ้น เป็นจิต ๓ ขณะ แต่ยังไม่ใช่วิถีจิต เพราะ เป็นจิตที่เกิดขึ้น ไม่อาศัยทวาร และเมื่อภวังคุปัจเฉทะ ดับไป วิถีจิตแรกเกิดขึ้น คือ

วิถีจิตที่ ๑ คือ อาวัชชนวิถี ได้แก่ ปัญจทวารวัชชนจิต ทางตา ก็คือ จักขุทวาราวัชชนจิต รู้ว่ามีสีมากระทบ

วิถีจิตที่ ๒ คือ ทวิปัญจวิญญาณจิตดวงหนึ่งดวงใด คือ จักขุวิญญาณ เห็น สี แต่ยังไม่เห็นเป็นดอกไม้ เป็นแต่เพียง สี หรือ สิ่งที่ปรากฏทางตา

วิถีจิตที่ ๓ คือ สัมปฏิจฉันนจิต เกิดขึ้นรับอารมณ์ต่อจากจักขุวิญญาณ

วิถีจิตที่ ๔ คือ สันตีรณจิต พิจารณาอารมณ์

วิถีจิตที่ ๕ คือ โวฏฐัพพนจิต ทำกิจกระทำทางให้กุศลจิต หรืออกุศลจิต หรือกิริยาจิต (เฉพาะพระอรหันต์) เกิดต่อ

วิถีจิตที่ ๖ คือ ชวนวิถีจิต โดยศัพท์ “ชวนะ” แปลว่า แล่นไป คือ ไปอย่างเร็วในอารมณ์ด้วยกุศลจิตหรืออกุศลจิตหรือกิริยาจิต (เฉพาะพระอรหันต์) ซึ่งขณะที่เห็นสี ที่ดี อาจจะเป็นกุศล หรือ อกุศล แต่โดยมากปุถุชน เห็นสีที่ดีแล้ว เป็นอกุศลส่วนมาก ซึ่ง ชวนจิตจะเกิด ๗ ขณะ

วิถีจิตที่ ๗ คือ ตทาลัมพนวิถี หรือตทารัมมณวิถี ตทาลัมพนวิถีจิตเกิดขึ้นกระทำกิจรับรู้อารมณ์ต่อจากชวนวิถีจิต เมื่ออารมณ์นั้นยังไม่ดับไป

วิถีจิตทางมโนทวาร

เมื่อตทาลัมพนะจิตดับไป ภวังคจิตเกิดขึ้น ๒ ขณะจิต คือ ภวังคจลนะจะต้องเกิดขึ้น ไหวตามอารมณ์นั้นแล้วดับไป แล้วภวังคุปัจเฉทะจึงเกิดขึ้นแล้วดับไป ต่อจากนั้นมโนทวาราวัชชนจิตจึงเกิดขึ้น เป็นมโนทวารวิถีจิตที่ ๑ มโนทวาราวัชชนจิต ทำกิจรู้อารมณ์เดียวกัน คือ อารมณ์ที่ปรากฏทางปัญจทวารวิถีจิตที่เพิ่งดับไป คือ รู้ สี เช่นเดียวกับทางปัญจทวาร แต่ยังไม่เห็นเป็นดอกไม้ เพราะเป็นวาระแรกของวิถีจิต และเมื่อ มโนทวาราวัชชนจิต ชวนจิต ๗ ขณะเกิดขึ้น เป็นกุศล อกุศล เป็นต้น ในสิ่งที่รู้คือ สี และถ้าอารมณ์นั้นมีกำลัง ปรากฏชัดก็มี วิถีจิต อีก ๒ ขณะ คือ ตทาลัมพณะจิตเกิดต่อครับ ๒ ขณะ ครับ ฉะนั้น วิถีจิตที่เกิดขึ้นรู้อารมณ์ทางมโนทวาร จึงมีเพียง ๓ วิถีเท่านั้น คือ ...

วิถีที่ ๑ เป็นอาวัชชนวิถี ๑ ขณะ

วิถีที่ ๒ เป็นชวนวิถี ๗ ขณะ

วิถีที่ ๓ เป็นตทาลัมพนวิถี ๒ ขณะ

และเมื่อ ตทาลัมพนจิตดับไป หากยังไม่ตาย ก็มีภวังคจิตเกิดขึ้น และอาจเป็น วิถีจิตทางมโนทวารสืบต่อ นึกคิดในรูปร่างสัณฐานของสี ทำให้รู้ว่าเป็นดอกไม้ในวาระวิถีจิตลำดับต่อไป ครับ และก็ชวนจิตเกิดต่อ เป็นกุศล หรือ อกุศลในดอกไม้ที่สวยครับ สำหรับผู้ที่ยังไม่ใช่พระอรหันต์

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
khampan.a
วันที่ 4 ต.ค. 2560

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

สภาพธรรม คือ จิต (และเจตสิกธรรมที่เกิดร่วมด้วย) เกิดดับสืบต่อกันอย่างไม่ขาดสาย จิตขณะหนึ่งเกิดแล้วดับไป เป็นปัจจัยให้จิตขณะต่อไปเกิดสืบต่อ ซึ่งเป็นปกติอย่างนี้ จะรู้หรือไม่รู้ก็ตาม ความจริงเป็นอย่างนี้ และเป็นอย่างนี้มานานแล้วในสังสารวัฏฏ์ ผ่านไปแล้วชาติแล้วชาติเล่า

จิต จะไม่เกิดพร้อมกัน ๒ - ๓ ขณะ แต่เกิดทีละขณะ เกิดขึ้นเป็นไปตามเหตุปัจจัย และเป็นลำดับด้วยดีตามความเป็นจริง

ประโยชน์จากการฟังพระธรรม คือ เข้าใจธรรมตามความเป็นจริง จิต มีจริง เจตสิก มีจริง เป็นธรรม ไม่ใช่เรา จากที่เคยไม่รู้มานานแสนนาน ไม่รู้เลยว่าขณะนี้เป็นธรรม พร้อมทั้งมีการยึดถือสิ่งที่กำลังปรากฏว่าเป็นตัวตนเป็นสัตว์เป็นบุคคล ก็จะค่อยๆ เข้าใจขึ้น มีความมั่นคงในความเป็นจริงของธรรมว่า ทุกขณะ ไม่ปราศจากธรรมเลย มีธรรมเกิดขึ้นเป็นไปอยู่ตลอด โดยไม่ต้องไปแสวงหาที่ไหน ก็ต้องอาศัยการอบรมจากการฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรมที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง ครับ

ขอเชิญคลิกศึกษาคำบรรยายของท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ได้ที่นี่ครับ

จิตมีจริง เกิดดับสืบต่อกันเร็วมาก

วิถีจิตตามลำดับเป็นจิตนิยาม

...อนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
ประสาน
วันที่ 5 ต.ค. 2560

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ การศึกษาพระธรรมต้องเป็นผู้ละเอียด

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
ํํญาณินทร์
วันที่ 7 ต.ค. 2560

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
p.methanawingmai
วันที่ 7 ต.ค. 2560

กราบอนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
peem
วันที่ 7 ต.ค. 2560

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
chatchai.k
วันที่ 31 ม.ค. 2564

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ