กรรมฐาน 40 และ สติปัฏฐาน 4

 
kritsaphong
วันที่  10 ต.ค. 2560
หมายเลข  29240
อ่าน  16,492

สวัสดีครับ

ไม่ทราบว่ากรรมฐาน ๔๐ และ สติปัฏฐาน ๔ เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร

การปฏิบัติตามกรรมฐาน ๔๐ สามารถบรรลุธรรมสูงสุดได้ระดับใด ถือเป็นสมถหรือวิปัสสนากรรมฐาน

การปฏิบัติตามสติปัฏฐาน ๔ สามารถบรรลุธรรมสูงสุดได้ระดับใด ถือเป็นสมถหรือวิปัสสนากรรมฐาน

กราบขอบพระคุณครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 10 ต.ค. 2560

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

คำว่า กรรมฐาน หรือ กัมมัฏฐาน ก็มีคำสองคำรวมกัน คือ คำว่า "กัมม" ซึ่งหมายถึง การกระทำ รวมกับ "ฐาน" คือ ที่ตั้ง เมื่อแปลแล้วก็คือ ที่ตั้งแห่งการกระทำ

กรรมฐาน หมายถึง ที่ตั้งของการกระทำ มีสองอย่าง คือ สมถกรรมฐาน ๑ วิปัสสนากรรมฐาน ๑

สมถกรรมฐาน คือ การอบรมความสงบของจิต เพื่อข่มนิวรณ์ จนจิตสงบเป็นฌานขั้นต่างๆ เมื่อฌานไม่เสื่อมย่อมเกิดในพรหมโลก

วิปัสสนากรรมฐาน คือ การอบรมเจริญปัญญา เพื่อรู้แจ้งอริยสัจจธรรม ตามความเป็นจริง ดับกิเลสตามลำดับ เพื่อดับกิเลสทั้งหมดไม่ต้องเกิดอีกเลย การนั่งสมาธิไม่ ใช่การเจริญสมถ หรือการเจริญวิปัสสนา

อารมณ์ ๔๐ คือ เป็นอารมณ์ ของการเจริญสมถภาวนา ไม่ใช่การเจริญวิปัสสนา มีดังนี้

กสิณ ๑๐ มี ปฐวีกสิณ อาโปกสิณ เป็นต้น

อสุภ ๑๐ มี อุทธุมาตกะ วินีลกะ เป็นต้น คือ ซากศพที่ตายแล้วมีอาการต่างๆ

อนุสสติ ๑๐ มี พุทธานุสสติ ธรรมมานุสสติ เป็นต้น

อาหาเรปฎิกูลสัญญา ๑ คือ การพิจารณาความเป็นปฏิกูลของอาหาร

จตุธาตุววัฎฐาน ๑ คือ พิจารณา ธาตุ ๔ ดิน น้ำ ไฟ ลม

อรูปฌานอารมณ์ ๔ คือ อากาสานัญจายตนะ เป็นต้น

พรหมวิหาร ๔ คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

ผู้เจริญสมถภาวนา อารมณ์ ๔๐ สูงสุด คือ ได้อณูปฌาน แต่ไม่สามารถดับกิเลสได้

สติปัฏฐาน เป็นการเจริญวิปัสสนา สามารถทำให้ถึงการดับกิเลสได้หมดสิ้นถึงความเป็นพระอรหันต์

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
worrasak
วันที่ 11 ต.ค. 2560

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
khampan.a
วันที่ 11 ต.ค. 2560

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ก็ต้องเข้าใจไปทีละคำ คำว่า กรรมฐาน หรือ กัมมัฏฐาน ก็มีคำสองคำรวมกันคือ คำว่า "กัมม" ซึ่งหมายถึง การกระทำ รวมกับ "ฐาน" คือ ที่ตั้ง เมื่อแปลแล้วก็คือ ที่ตั้งแห่งการกระทำ แสดงให้เห็นถึงความเป็นจริงว่า มีที่ตั้งที่จะให้กุศลธรรมเจริญขึ้นทั้งในเรื่องของความสงบของจิต ทั้งในเรื่องของความเห็นแจ้งสภาพธรรม ตามความเป็นจริง เพราะฉะนั้น "กัมมัฏฐาน" จึงเป็นพระธรรมคำสอน ที่เป็นไปเพื่อความสงบระงับกิเลส และ เป็นไปเพื่อการเห็นธรรมตามความเป็นจริง

เพราะมีกรรมฐาน ๒ อย่าง คือ สมถกรรมฐาน เป็นไปเพื่อสงบระงับกิเลส เพียงข่มกิเลสไว้เท่านั้น ไม่สามารถดับกิเลสได้อย่างเด็ดขาด กับ วิปัสสนากรรมฐาน เป็นไปเพื่อการอบรมเจริญปัญญารู้สภาพธรรมตามความเป็นจริง สามารถดับกิเลสได้เป็นสมุจเฉท (ละได้อย่างเด็ดขาดไม่เกิดขึ้นอีก) ในเรื่องของ สมถกรรมฐาน กับวิปัสสนากรรมฐาน ก็จะต้องฟัง ต้องศึกษาให้ละเอียด ทรงมุ่งหมายถึงอะไรเป็นสำคัญ ทั้งหมดทั้งปวงนั้นเป็นเรื่องของความเข้าใจถูก เห็นถูก ทั้งหมดเลย ถ้าหากไม่มี ความเข้าใจ ก็จะไปทำอะไรด้วยความไม่เข้าใจ หรือว่า ด้วยความเป็นตัวตนซึ่งผิดคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง

การอบรมเจริญสมถกัมมัฏฐาน แม้ในกาลสมัยที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้ายังไม่เสด็จอุบัติขึ้นในโลก ก็มีการอบรมเจริญ สำหรับผู้ที่เห็นโทษเห็นภัยของอกุศลซึ่งทำให้จิตไม่สงบ แต่ เมื่อมีการตรัสรู้ของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วก็มีการอบรมเจริญปัญญา ที่เป็น วิปัสสนากัมมัฏฐาน หรือ "วิปัสสนาภาวนา" ที่จะเป็นไปเพื่อความเข้าใจสภาพธรรมที่กำลังปรากฏว่า เป็นธรรม ไม่ใช่ตัวตนอย่างถูกต้องตามความเป็นจริง การอบรมเจริญปัญญาจากการที่ได้ฟังพระธรรม และมีความเข้าใจขึ้นก็จะทำให้ มีการอบรมความเห็นถูก ในสิ่งที่กำลังปรากฏตามความเป็นจริง ครับ

ขอเชิญคลิกศึกษาเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ

ก่อนจะถึง ... สติปัฏฐาน

... อนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ ...

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
ํํญาณินทร์
วันที่ 12 ต.ค. 2560

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
p.methanawingmai
วันที่ 12 ต.ค. 2560

กราบอนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
chatchai.k
วันที่ 26 ม.ค. 2564

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ