การไม่ถูกชะตาคนบางคนที่เรายังไม่รู้จักเขาดีพอ

 
litarn
วันที่  28 ก.พ. 2550
หมายเลข  2935
อ่าน  10,038

เชื่อว่า คนส่วนใหญ่น่าจะเคยรู้สึกแบบนี้นะค่ะ คือ เกิดความรู้สึกไม่ถูกชะตากับคนบางคนทั้งที่ไม่รู้จักเขาดีพอ แค่เห็นครั้งแรกก็ไม่ชอบ ความรู้สึกนี้เกิดจากอะไรค่ะ เรื่องนี้เคยเป็นหัวข้อสนทนา ในหมู่เพื่อนดิฉันมาแล้ว ส่วนใหญ่ล้วนให้เหตุผลว่า เกิดจาก เมื่อในอดีตชาติ เคยไปทำไม่ดีกับเขาไว้ผลกรรมก็เลยตามทันในชาตินี้ ความจริงเป็นเช่นไร รบกวนให้ท่านผู้รู้ช่วยตอบข้อสงสัยนี้ด้วยค่ะ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 28 ก.พ. 2550

การที่เราพบเห็นใครบางคน บางครั้งอาจชอบหรือไม่ชอบ ตั้งแต่เห็นครั้งแรก อาจมีเหตุจากหลายสาเหตุ คือ ส่วนหนึ่งอาจมาจากกิริยาท่าทาง รูปร่าง หน้าตาการแต่งตัวของคนนั้นก็ได้ อีกส่วนหนึ่งอาจมีสาเหตุจากอดีตชาติเคยเกื้อกูล หรือเคยทำทุกข์ความเดือดร้อนความเสียหายแก่เรามาก่อนก็ได้ สรุปคือมีหลายสาเหตุ แต่ไม่ใช่ผลของกรรมอย่างที่กล่าวมา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
study
วันที่ 28 ก.พ. 2550

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 453

"ใจย่อมจดจ่อ แม้จิตก็เลื่อมใสในบุคคลใด, เขาย่อมสนิทสนมในบุคคลแม้นั้น ซึ่งตนไม่เคยเห็น โดยแท้ ความรักนั้นย่อมเกิด เพราะอาศัยเหตุ ๒ ประการอย่างนี้ คือ เพราะการอยู่ร่วมกันในกาลก่อน ๑ เพราะการเกื้อกูลกันในปัจจุบัน ๑ เปรียบเหมือน ดอกบัวเกิดในน้ำได้ (เพราะอาศัยเปือกตมและน้ำ) ฉะนั้น"

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
wannee.s
วันที่ 28 ก.พ. 2550

การไม่ถูกชะตากัน มี ๒ สาเหตุ

๑. มาจากกิเลสของเราเอง เช่น ไม่ชอบกิริยาท่าทางชองเขา ไม่ชอบหน้าตาของเขา หรือนิสัยเขา

๒. ในอดีตเคยมีเวรต่อกัน เช่น พระเทวทัต เกิดมาทุกชาติก็จองเวรกับพระพุทธเจ้า เป็นต้น

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
shumporn.t
วันที่ 28 ก.พ. 2550

พระพุทธเจ้ารักพระราหุลและพระเทวทัตเท่ากัน

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
หมาย
วันที่ 1 มี.ค. 2550

อาจจะเป็นเพราะว่าบางคนมีบุคลิกลักษณะทางกาย และใจที่ไม่ตรงกับความรู้สึกของเราไม่ตรงกับนิสัยของเรา เราจึงไม่ชอบในบุคคลนั้น คนเราเข้ากันได้โดยธาตุ คือมีนิสัยคล้ายกัน ก็ทำให้คบกันได้ ชอบพอกันในบางครั้ง อาจจะมองเผินๆ ภายนอกอาจยังไม่ชอบเสียที่เดียว แต่พอเรียนรู้นิสัยกันนานๆ กลับเปลี่ยนความรู้สึกไปเลยก็ได้ ทั้งนี้อาจเกิดจากองค์ประกอบหลายอย่าง แต่ที่แน่ๆ เกิดจากพื้นฐานของจิตของแต่ละบุคคลที่สั่งสมมา (จริต) ในด้านนั้นๆ ที่พอจะให้เกลียดหรือชอบ ในกิริยาท่าทาง คำพูดนิสัย แต่ก็ไม่เป็นไรครับ เพราะสภาวะจิตของแต่ละบุคคลนั้นย่อมแตกต่างกันออกไปต่างๆ ขอเพียงเราเข้าใจว่าสภาวะจิตหรือการแสดงออกนั้นๆ ย่อมมาจากเหตุๆ นั้นก็ตกอยู่ในสภาพไม่เที่ยง มาจากเหตุ อื่นๆ อีก สืบๆ กันมาครับ เมื่อเป็นเช่นนี้เราไม่ควรยึดมั่นในสิ่งที่ปรากฎครับ จะได้ไม่มีทุกข์ จะทำให้อยู่ด้วยความมีสติและปัญญา ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
Anutta
วันที่ 1 มี.ค. 2550

เรียนพี่ชุมพรค่ะ อยากทราบเรื่องที่พระพุทธเจ้ารักพระราหุลเท่ากับพระเทวทัตค่ะ ในพระไตรปิฏกทรงแสดงไว้อย่างไรคะ

ขอบพระคุณค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
study
วันที่ 2 มี.ค. 2550
 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
รังสิต
วันที่ 20 มี.ค. 2550

ไม่ควรใช้คำว่ารักนะครับ เพราะพระพุทธเจ้ากำจัดโลภ โกรธ หลง ได้แล้ว เป็นผู้ไม่มี ความรักแล้ว

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
ปุถุชนคนหนึ่ง
วันที่ 22 มี.ค. 2550

ท่านคงหมายถึงความเมตตาปรารถนาดีน่ะค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
Anutta
วันที่ 2 เม.ย. 2550

ขออนุโมทนาด้วยค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 13 ต.ค. 2550

กิเลสทั้งนั้นแหละ..

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
คุณ
วันที่ 26 ก.ย. 2552

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
เซจาน้อย
วันที่ 11 พ.ย. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
chatchai.k
วันที่ 7 เม.ย. 2564

อบรมปัญญาให้เข้าใจความจริง จะเป็นประโยชน์ทั้งชาตินี้ และชาติต่อๆ ไป กุศลที่ทำได้เสมอๆ คือ การฟังพระธรรมที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง มีคุณค่ามหาศาลสำหรับชีวิตที่ต้องเดินทางต่อไป อีกแสนไกล และกันดาร

ขอเชิญศึกษาพระธรรม ...

รวมลิงก์เมนูต่างๆ ในเว็บไซต์

พระไตรปิฎก

ฟังธรรม

วีดีโอ

ซีดี

หนังสือ

กระดานสนทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
yu_da2554hotmail
วันที่ 31 ต.ค. 2567

ยินดีในกุศลจิตค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ