แบบนี้เรียกว่า เพ่งโทษผู้อื่น (พระภิกษุ) หรือเปล่า

 
แต้ม
วันที่  23 เม.ย. 2561
หมายเลข  29680
อ่าน  1,141

มีอยู่ช่วงหนึ่ง ที่มีข่าวพระภิกษุสงฆ์มีเรื่องราวเกี่ยวกับผลประโยชน์มาก ผมก็เลยลง พุทธทำนายไป ลงเฟชบุ๊ก ในสาธารณะไป ว่า "พระพุทธองค์ทรงทำนายว่า กาลภายหน้า พระภิกษุอลัชชีเห็นแก่ได้ทั้งหลาย แทนที่ จะนำธรรมะ ที่พระพุทธองค์สอน ไปสอนสั่งให้คนหลุดพ้นจากความทุกข์ และละความโลภ กลับใช้เป็นเครื่องมือเพื่อหากิน หาปัจจัยบริจาคเข้าตัวเอง เหมือนเอาแก่น จันทน์ (ธรรมะคำสอนที่ดี) ไปแลกเอาเถาวัลย์เน่า (ลาภอามิสที่ได้รับมา ซึ่งไม่จีรังและไม่ช่วย ให้พ้นทุกข์จริงๆ ได้) " มีคนมาแสดงความคิดเห็นว่า ผมเพ่งโทษผู้อื่น (พระภิกษุ) เป็นบาป ผมสงสัยว่า ผมนำมาจากพระไตรปิฎกมาเผยแพร่แล้วบาปหรือครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 23 เม.ย. 2561

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ผู้ที่เข้าใจพระธรรมถูกต้องตามความเป็นจริง ย่อมเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนา ด้วยจิตอนุเคราะห์ต่อบุคคลนั้น เพื่อให้เห็นโทษตามความเป็นจริง และเพื่อดำรงไว้ซึ่งคำสอนที่ถูกต้องในพระพุทธศาสนา ด้วยการแสดงสิ่งที่ถูกต้อง ปฏิเสธสิ่งที่บิดเบือนคำสอนและพระธรรมที่ผู้อื่นกล่าวแสดงผิด และ กระทำในสิ่งที่ผิด ส่วนบุคคลอื่น ภิกษุอื่นที่จะรับฟังแล้ว จะเกิด อกุศล กุศลนั้น ก็ตามแต่การสะสม อนัตตา เพราะเหตุว่า ไม่มีใครสามารถบังคับใจใครได้ ในสมัยพุทธกาล คฤหัสถ์ผู้มีปัญญา เป็นบัณฑิต เมื่อเห็นการกะทำของภิกษุไม่ดี ย่อมรู้ว่านั่นคือ ความไม่ดี จึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาด้วยจิตอนุเคราะห์ หวังดี เพื่อให้รู้ว่าเป็นโทษ ภิกษุนั้นจะได้ประพฤติสิ่งที่ถูกต้อง รวมทั้งพระพุทธเจ้า ก็เพ่งโทษ ติเตียน ภิกษุผู้กระทำไม่ดี ดั่งเช่น ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรม กล่าวติเตียน ท่านพระเทวทัต ว่า โมฆบุรุษ และ อื่นๆ แต่ พระเทวทัตเมื่อได้รับฟัง ก็เกิดความพยาบาท เกิด อกุศลร้ายแรง แม้แต่คำของพระพุทธเจ้าตักเตือน เพราะฉะนั้น ก็เป็นเรื่องของแต่ละใจ สำคัญที่ว่า จะดำรงพระพุทธศาสนา ชี้โทษด้วยจิตอนุเคราะห์และเพื่อรักษาพระธรรมวินัยไว้ ครับ

[เล่มที่ 41] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 290

วินิจฉัยในบทว่า วชฺชทสฺสิน ภิกษุผู้ชี้โทษมี ๒ จำพวก คือ ภิกษุคอยแส่หาโทษ ด้วยคิดว่า "เราจักข่มภิกษุนั้นด้วยมารยาทอันไม่สมควร หรือด้วยความพลั้งพลาดอันนี้ในท่ามกลางสงฆ์" ดังนี้ จำพวก๑, ภิกษุผู้ดำรงอยู่แล้วตามสภาพ ด้วยสามารถแห่งการอุ้มชูด้วยการแลดูโทษนั้นๆ เพื่อประโยชน์จะให้รู้สิ่งที่ยังไม่รู้ เพื่อต้องการจะได้ตามถือเอาสิ่งที่รู้แล้ว เพราะความเป็นผู้ปรารถนาความเจริญแห่งคุณมีศีล เป็นต้น แก่ผู้นั้น จำพวก๑

[เล่มที่ 59] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 319

ข้อความบางตอนจาก คันธารชาดก

[๑๐๔๗] ผู้ถูกตักเตือน จะแค้นเคืองหรือไม่แค้น เคืองก็ตามเถิด จะเขี่ยทิ้งเหมือนโปรยแกลทิ้งก็ตาม เมื่อเขากล่าวคำเป็นธรรมอยู่ ขึ้นชื่อว่าบาปย่อมไม่เปรอะเปื้อน.

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
แต้ม
วันที่ 23 เม.ย. 2561

เขายังกล่าวอีกว่า นี้คือเพ่งโทษคนอื่นที่เป็นพระ ดิฉันถึงบอกให้ท่านสละเรือน หน้าที่การงานมาบวช ให้เป็นแบบอย่างพระอลัชชี ค่ะ แล้วก็สนทนากันอยู่พักหนึ่ง ผมจึงเข้าใจคำว่า ผู้ศึกษากับผู้ปฏิบัติขึ้นมาเลยว่า ผู้ปฏิบัติเขาไม่สนใจศึกษา แต่จะพยายามทำสิ่งที่เขาเชื่อว่า ทำให้บรรลุธรรมได้ ขอขอบพระคุณที่ได้รับคำอธิบายจากท่านครับ ผมจะศึกษาธรรมให้ละเอียดรอบคอบและผมเชื่อว่า จะทำให้เกิดสัมมาทิฏฐิ

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
khampan.a
วันที่ 23 เม.ย. 2561

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

สิ่งสำคัญคือศึกษาพระธรรมวินัยให้เข้าใจ ถึงจะสามารถเข้าใจได้ว่า อะไรคือสิ่งที่ถูกต้องตามพระธรรมวินัย อะไรคือสิ่งที่ผิด ไม่เป็นไปตามพระธรรมวินัย เป็นกิจของปัญญาที่ทำหน้าที่เข้าใจถูกเห็นถูกตามความเป็นจริง เมื่อเข้าใจอย่างถูกต้องตามความเป็นจริงแล้ว ก็กล่าวประกาศความจริง กระจายในสิ่งที่ถูกต้องให้ได้ทราบโดยทั่วกันในทุกที่ทุกสถาน ว่า ความจริงเป็นอย่างไร ก็เป็นการช่วยให้ผู้อื่นได้เข้าใจอย่างถูกต้องด้วย การกล่าวตามพระธรรมวินัย อย่างถูกต้อง จะผิดได้อย่างไร ครับ

ขอเชิญคลิกฟังเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ

พระธรรมวินัย ๐๐๗

... อนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ ...

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
thilda
วันที่ 24 เม.ย. 2561

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
วิริยะ
วันที่ 24 เม.ย. 2561

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ