เหตุที่บัญญัติลักทรัพย์ ให้ปาราชิก อรรถกถาจารย์ ท่านอธิบายไว้บ้างเปล่าครับ

 
DjPut
วันที่  28 เม.ย. 2561
หมายเลข  29699
อ่าน  774

เหตุที่บัญญัติลักทรัพย์ ให้ปาราชิก เทียบกับ ฆ่าคน ซึ่งเป็นกรรมหนัก และเสพเมถุน ซึ่งเป็นข้าศึกต่อพรหมจรรย์ อรรถกถาจารย์ ท่านอธิบายไว้บ้างเปล่าครับ

* อธิบาย * ขยายความ * สาธยาย


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
khampan.a
วันที่ 10 พ.ค. 2561

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

เป็นคฤหัสถ์ ลักทรัพย์ ผิดศีลข้อ ๒ เป็นการกระทำอกุศลกรรมบถ และยังผิดกฏหมายบ้านเมืองด้วย รับโทษตามความผิดที่ได้กระทำ ยิ่งถ้าเป็นพระภิกษุอันเป็นเพศที่สูงยิ่งกว่าเพศคฤหัสถ์แล้ว ยิ่งจะต้องขัดเกลายิ่งขึ้น ถ้าประพฤติผิด ลักทรัพย์เมื่อใด ต้องอาบัติ (ล่วงละเมิดสิกขาบท มีโทษ) เมื่อนั้น ตามราคาค่าวัตถุสิ่งของนั้น ถ้ามีราคาตั้งแต่ มาสกขึ้นไป ต้องขาดจากความเป็นพระภิกษุทันที และเป็นการกระทำอกุศลกรรมบถ ด้วย เป็นโทษโดยส่วนเดียว เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำอย่างยิ่ง การลักทรัพย์ แสดงถึงความประพฤติอันไม่ใช่สมณะผู้สงบเลย แม้แต่น้อย

ข้อความบางตอนจากอรรถถถาพระวินัยปิฎก มีว่า
คำว่า เป็นปาราชิก มีอธิบายว่า ใบไม้เหลืองหล่นจากขั้วแล้ว ไม่อาจจะเป็นของเขียวสดขึ้นได้ แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแหละ ถือเอาทรัพย์อันเขาไม่ได้ให้ ด้วยส่วนแห่งความ
เป็นขโมย หนึ่งบาทก็ดี ควรแก่หนึ่งบาทก็ดี เกินกว่าหนึ่งบาทก็ดี แล้วไม่เป็นสมณะ ไม่เป็น
เชื้อสายพระศากยบุตร เพราะเหตุนั้นจึงตรัสว่า เป็นปาราชิก

สามารถศึกษารายละเอีดยของสิกขาบทนี้ได้จาก

[เล่มที่ 2] พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ ๑ เป็นต้นไป ครับ.

...อนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ