การฉันของภิกษุในพระธรรมวินัยนี้

 
moostpackage
วันที่  24 มิ.ย. 2561
หมายเลข  29849
อ่าน  8,167

กราบเรียนถามท่านอาจารย์ และผู้มีความรู้ครับ

รบกวนสอบถามเพื่อเป็นความรู้ครับ เกี่ยวกับการฉันอาหารของพระภิกษุในธรรมวินัยนี้ พระศาสดาท่านทรงมีข้อบัญญัติของการฉันไว้อย่างไรบ้างครับ เราจะได้บอกต่อคนที่ยังไม่รู้เพื่อให้เกิดรู้ แลจะได้ปฏิบัติได้อย่างถูกต้องเวลานำอาหารไปถวายภิกษุ ครับ

ด้วยความขอบคุณอย่างยิ่ง

สมควร ศรีสันติสุข


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
khampan.a
วันที่ 25 มิ.ย. 2561

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

มารยาทอันดีงามในการฉันภัตตาหารของพระภิกษุ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้ เรียกว่า เสขิยวัตร (ข้อประพฤติที่ดีงาม ที่จะต้องศึกษาและน้อมประพฤติตาม) มีทั้งหมด ๓๐ ข้อ ดังนี้
๑. พึงศึกษาว่า “เราจักรับบิณฑบาตโดยเอื้อเฟื้อ.”
๒. พึงศึกษาว่า “เราจักจ้องดูอยู่ในบาตรรับบิณฑบาต.”
๓. พึงศึกษาว่า “เราจักรับบิณฑบาตมีสูปะเสมอกัน.”
๔. พึงศึกษาว่า “เราจักรับบิณฑบาตเสมอขอบ.”
๕. พึงศึกษาว่า “เราจักฉันบิณฑบาตโดยเอื้อเฟื้อ.”
๖. พึงศึกษาว่า “เราจักจ้องดูอยู่ในบาตรฉันบิณฑบาต.”
๗. พึงศึกษาว่า “เราจักฉันบิณฑบาตไม่แหว่ง.”
๘. พึงศึกษาว่า “เราจักฉันบิณฑบาตมีสูปะเสมอกัน.”
๙. พึงศึกษาว่า “เราจักไม่ขยุมลงแต่ยอดฉันบิณฑบาต.”
๑๐. พึงศึกษาว่า “เราจักไม่กลบแกงก็ดี กับข้าวก็ดี ด้วยข้าวสุก อาศัยความอยากได้มาก.” ๑๑. พึงศึกษาว่า “เราไม่อาพาธ จักไม่ขอสูปะก็ดี ข้าวสุกก็ดี เพื่อประโยชน์แก่ตนฉัน.”
๑๒. พึงศึกษาว่า “เราจักไม่เพ่งโพนทะนาแลดูบาตรของผู้อื่น.”
๑๓. พึงศึกษาว่า “เราจักไม่ทำคำข้าวให้ใหญ่นัก.”
๑๔. พึงศึกษาว่า “เราจักทำคำข้าวให้กลมกล่อม.”
๑๕. พึงศึกษาว่า “เมื่อคำข้าวยังไม่นำมาถึง เราจักไม่อ้าช่องปาก.”
๑๖. พึงศึกษาว่า “เราฉันอยู่ จักไม่สอดมือทั้งนั้นเข้าในปาก.”
๑๗. พึงศึกษาว่า “ปากยังมีคำข้าวเราจักไม่พูด.”
๑๘. พึงศึกษาว่า “เราจักไม่ฉันเดาะ คำข้าว.”
๑๙. พึงศึกษาว่า “เราจักไม่ฉันกัดคำข้าว.”
๒๐. พึงศึกษาว่า “เราจักไม่ฉันทำให้ตุ่ย.”
๒๑. พึงศึกษาว่า “เราจักไม่ฉันสลัดมือ.”
๒๒. พึงศึกษาว่า “เราจักไม่ฉันทำเมล็ดข้าวตก.”
๒๓. พึงศึกษาว่า “เราจักไม่ฉันแลบลิ้น.”
๒๔. พึงศึกษาว่า “เราจักไม่ฉันทำเสียงจับๆ .”
๒๕. พึงศึกษาว่า “เราจักไม่ฉันทำเสียงซูดๆ ”
๒๖. พึงศึกษาว่า “เราจักไม่ฉันเลียมือ.”
๒๗. พึงศึกษาว่า “เราจักไม่ฉันขอดบาตร.”
๒๘. พึงศึกษาว่า “เราจักไม่ฉันเลียริมฝีปาก.”
๒๙. พึงศึกษาว่า “เราจักไม่รับโอน้ำด้วยมือเปื้อนอามิส.”
๓๐. พึงศึกษาว่า “เราจักไม่เทน้ำล้างบาตรมีเมล็ดข้าวในละแวกบ้าน.”

...อนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
วิริยะ
วันที่ 26 มิ.ย. 2561

เรียนถามอาจารย์คำปั่นค่ะว่า คำว่า สูปะ แปลว่าอะไรคะ และในข้อ 7 เราจักฉันบิณฑบาตไม่แหว่ง หมายความว่าอย่างไรคะ ส่วนข้ออื่นๆ พอจะเดาความหมายได้ค่ะ

ขอบพระคุณอย่างสูงค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
khampan.a
วันที่ 26 มิ.ย. 2561
อ้างอิงจาก ความคิดเห็นที่ 2 โดย วิริยะ

เรียนถามอาจารย์คำปั่นค่ะว่า คำว่า สูปะ แปลว่าอะไรคะ และในข้อ 7 เราจักฉันบิณฑบาตไม่แหว่ง หมายความว่าอย่างไรคะ ส่วนข้ออื่นๆ พอจะเดาความหมายได้ค่ะ

ขอบพระคุณอย่างสูงค่ะ

-คำว่า สูปะ หมายถึง แกงประเภทต่างๆ ครับ
-จากสิกขาบทที่ว่า เราจักฉันบิณฑบาตไม่แหว่ง ก็แสดงถึงกิริยาที่งดงามในการบริโภคอาหาร คือ ภิกษุ พึงฉันบิณฑบาตเกลี่ยให้เสมอกัน หากภิกษุใดไม่เคารพในพระวินัย ฉันบิณฑบาตเจาะลงในที่นั้นๆ ต้องอาบัติทุกกฏ ครับ.

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
วิริยะ
วันที่ 27 มิ.ย. 2561

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
moostpackage
วันที่ 30 มิ.ย. 2561

กราบขอบพระคุณครับ ที่ได้เข้ามาตอบ จะได้ศึกษาไว้เป็นความรู้ครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ