การเห็นหนึ่งขณะ

 
vilaiporn
วันที่  29 มิ.ย. 2561
หมายเลข  29864
อ่าน  1,019

ขอให้อาจารย์ช่วยให้ความรู้ ความเข้าใจ ของการเห็นหนึ่งขณะ ที่มีเจตสิกเกิดร่วมด้วย 7 ดวง ได้แก่เจตสิกอะไรบ้างคะ และเจตสิกเหล่านั้นเกิดร่วมเรียงลำดับกันอย่างไร และทุกๆ หนึ่งขณะ ของการได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส กระทบสัมผัส จะมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย 7 ดวง เหมือนกันหมดหรือเปล่าคะ หรือต่างกันอย่างไร


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 30 มิ.ย. 2561

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

จากคำถามที่ว่า

แล้วเห็นเกิดขึ้นหนึ่งขณะนี่มีเจตสิกเกิดร่วมทำงานอย่างไร

ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว เมื่อจิตเกิดขึ้นก็ต้องมีเจตสิกเกิดร่วมด้วยเสมอ ดังนั้น จักขุวิญญาณ จิตเห็น รวมทั้ง โสตวิญญาณจิต จิตได้ยิน ฆานวิญญาณ จิตได้กลิ่น ชิวหาวิญญาณ จิตที่รู้รส กายวิญญาณ จิตที่รู้กระทบสัมผัส อย่างละ 2 ดวง รวมเรียกว่า ทวิปัญญจวิญญาณ 10 ดวง จะต้องมีเจตสิกเกิดขึ้นอย่างน้อย 7 ดวง และเจตสิก 7 ดวงนั้น เกิดพร้อมกันกับจิตเห็นที่กำลังเกิดในขณะนั้น ซึ่ง ทวิปัญจวิญญาณ 10 ดวง มีเจตสิกเกิดร่วมด้วย 7 ดวง หรือ 7 ประเภท ดังนี้

๑. ผัสสเจตสิก เป็นสภาพที่กระทบอารมณ์

๒. เวทนาเจตสิก เป็นสภาพที่รู้สึก หรือเสวยอารมณ์

๓. สัญญาเจตสิก เป็นสภาพที่จดจำ หรือคุ้นเคยในอารมณ์

๔. เจตนาเจตสิก เป็นสภาพที่ตั้งใจ จงใจ

๕. เอกัคคตาเจตสิก เป็นสภาพที่ทำให้จิตตั้งมั่น เป็นหนึ่งในอารมณ์

๖. ชีวิตินทริยเจตสิก เป็นสภาพที่รักษาสัมปยุตธรรมให้มีชีวิตอยู่ได้

๗. มนสิการเจตสิก เป็นสภาพที่สนใจ ทำให้จิตมุ่งตรงต่ออารมณ์

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
vilaiporn
วันที่ 30 มิ.ย. 2561

ขอขอบคุณอาจารย์ผเดิม มากๆ คะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
khampan.a
วันที่ 30 มิ.ย. 2561

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ทุกขณะที่จิตเกิดขึ้นจะมีเจตสิก (สภาพธรรมที่เกิดร่วมกับจิต) เกิดร่วมด้วยเสมอตาม
ควรแก่จิตประเภทนั้นๆ สำหรับในขณะที่เห็น ก็เป็นจิตประเภทหนึ่ง คือ จักขุวิญญาณ
(จิตเห็น) เกิดขึ้นรู้สี หรือ รูปารมณ์ จักขุวิญญาณ มีเจตสิก เกิดร่วมด้วย ๗ ดวง
ได้แก่ ผัสสะ (สภาพธรรมที่กระทบอารมณ์) เวทนา (ความรู้สึก) สัญญา (ความจำ)
เจตนา (จงใจขวนขวายให้ธรรมที่เกิดร่วมกันทำกิจของตนๆ ) เอกัคคตา (ตั้งมั่นใน
อารมณ์) ชีวิตินทรีย์ (สภาพธรรมเป็นใหญ่ในการรักษาธรรมที่เกิดพร้อมกันให้ดำรงอยู่
จนกว่าจะดับไป) และ มนสิการะ (สภาพธรรมที่ใส่ใจในอารมณ์) เกิดพร้อมกับจักขุ-
วิญญาณ รู้อารมณ์เดียวกันกับจักขุวิญญาณ อาศัยที่เกิดที่เดียวกันกับจักขุวิญญาณ
และดับพร้อมกับจักขุิวิญญาณ

นี้คือ ความเป็นจริงของสภาพธรรม ที่เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ไม่มีใครบังคับ
บัญชาให้เกิดขึ้นได้ แม้แต่จักขุวิญญาณ ก็บังคับให้เกิดไม่ได้ ไม่มีใครทำเห็นให้เกิด
ขึ้นได้ แต่เห็นก็เกิดขึ้นเป็นไปตามเหตุตามปัจจัย เป็นธรรมที่มีจริง ไม่ใช่เราที่เห็น พระ
ธรรมทั้งหมดที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง ก็เพื่อความเข้าใจธรรมตามความ
เป็นจริง เป็นธรรมแต่ละอย่างๆ ไม่ใช่เรา

หลังจากเห็นแล้ว ก็ขึ้นอยู่กับการสะสมของแต่ละบุคคลว่า จะเป็นกุศลหรืออกุศล
ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใครทั้งสิ้น และถ้าเป็นอกุศล ก็ไม่พ้นไปจาก ความ
ติดข้องยินดีพอใจ ความโกรธความขุ่นเคืองใจ และถ้าไม่ใช่ความติดข้องยินดีพอใจ
ไม่ใช่ความโกรธความขุ่นเคืองใจ ก็เป็นความหลง ความไม่รู้ ซึ่งก็ต้องเข้าใจว่า
อกุศล นี้ มุ่งหมายถึง ทั้งอกุศลจิต และ เจตสิกที่เกิดร่วมด้วย ครับ

...อนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
peem
วันที่ 2 ก.ค. 2561

กราบขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
wannee.s
วันที่ 3 ก.ค. 2561

เราเรียนรู้เรื่องชื่อทั้งหมด แต่ความจริงแล้วการเห็นหนึ่งขณะ จิตเกิดดับรวดเร็วยิ่งกว่ากระพริบตา ก็ต้องฟังธรรมะจนกว่าจะเข้าใจสิ่งที่ปรากฏว่าเป็นธรรมะค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
ธนฤทธิ์
วันที่ 5 ก.ค. 2561

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
doungjai
วันที่ 5 ก.ค. 2561

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
วิริยะ
วันที่ 24 ก.ค. 2561

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ