ภิกษุกับกิจนิมนต์

 
che2017
วันที่  24 ก.ค. 2561
หมายเลข  29941
อ่าน  2,920

กราบเรียถาม คณะวิทยากร

เมื่อวันก่อนได้ไปงานทำบุญเพื่ออุทิศส่วนกุศลแก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว ไปถึงที่บ้านที่จัดงานก็เกิดความสงสัยหลายๆ อย่าง

ข้อ 1 คือ การสวดมนต์พอสวดเสร็จก็ฉันเพลจากนั้นก่อนพระภิกษุจะกลับวัด ทางเจ้าภาพก็ถวายเงินใส่ซองไปพร้อมกับเครื่องดื่มต่างๆ ถวายแก่ ถ้าพระรูปนั้นมีอาวุโสหน่อยก็จะได้มากกว่ารูปอื่นๆ ได้ถ้าไม่ถวายเงิน อาจจะนิมนต์แล้วไม่มาบ้านที่จัดงานและก็อยากทราบว่าถ้าทำอย่างนี้แล้ว ผู้ล่วงรับจะได้อานิสงค์ในการทำบุญครั้งนี้หรือไม่ครับ

ข้อที่ 2 คือ พระภิกษุสามารถปฏิเสธกิจนิมนต์ได้มั๊ย? ครับ

ข้อ 3 คือ ทางบ้านเจ้าภาพที่จัดงานได้ถวายเงินกับพระภิกษุ เป็นการกระทำที่เหมาะสมหรือไม่ ครับ ข้อสุดท้ายตามประเพณีและวัฒนธรรมไทยเวลามีงานมงคลก็ นิยมนิมนต์พระมาสวดมนต์ เช่น งานแต่งงาน - งานทำบุญบ้าน ถ้าไม่มีการนิมนต์พระมาสวดมนต์จะเป็นอะไรมั๊ย? ครับและข้อ ปฏิบัติที่ถูกต้องควรทำอย่างไร ครับ

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
khampan.a
วันที่ 30 ก.ค. 2561

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

-การให้เงินแก่พระภิกษุ เป็นการกระทำที่ผิด ไม่ถูกต้อง ทำให้ภิกษุผู้รับ ต้องอาบัติมีโทษ ส่วนผู้ให้ ก็เท่ากับส่งเสริมให้ภิกษุท่านล่วงละเมิดพระวินัย ไม่ถูกทั้งผู้ให้ และ ผู้รับ เมื่อทำในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ก็ไม่มีใครชื่นชมสรรเสริญในสิ่งที่ผิด นี้

-ภิกษุที่รับเงินทอง ยินดีในเงินและทอง ไม่ใช่สมณะเชื้อสายพระศากยบุตร คือ ไม่ใช่ภิกษุในพระธรรมวินัย ยิ่งบอกว่า นิมนต์แล้วจะไม่มา เพราะมาแล้วไม่ได้เงิน ก็ยิ่งชัดว่า แสดงถึงความเป็นผู้ไม่ละอาย ไม่เคารพยำเกรงในพระวินัยบัญญัติที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงบัญญัติด้วยพระองค์เอง เพื่อขัดเกลากิเสส แต่ภิกษุผู้ไม่ละอาย กลับทำในสิ่งที่ผิด ไม่เป็นไปตามคำสอน ถ้าคฤหัสถ์รู้ว่า ภิกษุใด รับเงินทอง ยินดีในเงินและทอง ก็ไม่ส่งเสริมสนับสนุน เพราะไม่เกิดประโยชน์ใดๆ ทั้งสิ้น

-ถ้าเป็นพระภิกษุที่เคารพในพระธรรมวินัย ท่านจะอนุเคราะห์คฤหัสถ์ ด้วยความเข้าใจธรรม เมื่อได้รับการบำรุงด้วยปัจจัย ๔ มีอาหารบิณฑบาต เป็นต้น ก็จะอนุเคราะห์ด้วยการแสดงธรรม เพื่อให้คฤหัสถ์ซึ่งมีเวลาน้อยกว่า ได้เข้าใจพระธรรมตรงตามความเป็นจริง ท่านจะไม่ปฏิเสธการนิมนต์หรือเชื้อเชิญของคฤหัสถ์ผู้ประสงค์จะถวายทาน ยกเว้นพระภิกษุรูปนั้น สมาทานการถือบิณฑบาตเป็นวัตร ก็สามารถปฏิเสธกิจนิมนต์ ได้ หรือ ถ้าคฤหัสถ์ นิมนต์ให้ทำในสิ่งที่ผิดพระวินัย ก็สามารถปฏิเสธได้เช่นเดียวกัน

-การถวายเงินแก่พระภิกษุ ไม่ถูกต้องโดยประการทั้งปวง การถวายเงินแก่พระภิกษุเท่ากับผลักท่านลงอบายภูมิเลยทีเดียว เพราะทำให้ท่านต้องอาบัติ ถ้าหากท่านไม่ได้ปลงอาบัติ แล้วท่านมรณภาพไปในขณะที่ยังมีอาบัติอยู่ ก็เกิดในอบายภูมิ เท่านั้น

-ทำในสิ่งที่ถูกต้อง ดีงาม เท่านั้นที่เป็นมงคล เป็นบุญ จริงๆ แม้ไม่ได้ถวายทานแก่พระภิกษุ การเจริญกุศลยังมีอีกมาก เช่น สงเคราะห์ผู้ยากไร้ เป็นต้น และ ที่สำคัญคือ การฟังธรรม สนทนาธรรม เป็นมงคล เป็นเหตุแห่งความเจริญ เป็นไปเพื่อความเข้าใจถูกเห็นถูก ที่จะอุปการะเกื้อกูลให้คุณความดีทั้งหลายเจริญขึ้นในชีวิตประจำวัน ไม่ทำในสิ่งที่ผิด เมื่อได้ทำในสิ่งที่ถูกต้อง มั่นคงในเหตุในผล ก็ไม่ต้องหวั่นเกรงอะไรเลย สิ่งใดที่เคยทำตามๆ กันแบบผิดๆ เมื่อได้เข้าใจแล้ว ก็ยืนหยัดมั่นคงที่จะไม่ทำในสิ่งที่ผิดนั้นๆ อีกต่อไป ครับ

...อนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
dhita
วันที่ 1 ส.ค. 2561

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
chatchai.k
วันที่ 23 ต.ค. 2565

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ