ตอบจดหมายกรณีภิกษุวัดลำนาว ขอเงินจากคฤหัสถ์เพื่อนำไปจ่ายค่าไฟของวัดที่ติดค้างชำระ ๔ เดือน

 
มศพ.
วันที่  1 ส.ค. 2561
หมายเลข  29968
อ่าน  10,023

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

สืบเนื่องจาก จดหมายฉบับนี้ที่พระครูปลัดวรวงศ์มุนี ธมฺมโชติ เจ้าอาวาสวัดลำนาว เลขที่ ๑๑๒ หมู่ ๑๔ ต. บ้านลำนาว อ.บางขัน จ. นครศรีธรรมราช ส่งถึงอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ประธานมูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา เมื่อวันที่ ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๖๑ เพื่อให้อาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ช่วยมารับผิดชอบค่าไฟของวัดลำนาว รวมถึงวัดอื่นๆ ด้วย ดังข้อความที่ปรากฏในจดหมาย ด้านล่างนี้

จึงมีการตอบจดหมายฉบับดังกล่าว ดังต่อไปนี้

ตอบจดหมายกรณีภิกษุวัดลำนาว

ขอเงินจากคฤหัสถ์เพื่อนำไปจ่ายค่าไฟของวัดที่ติดค้างชำระ ๔ เดือน

--------------------------------

ภิกษุ คือ ผู้ที่เห็นโทษเห็นภัยของกิเลส เป็นผู้มีความละอายต่ออกุศลยิ่งกว่าคฤหัสถ์ สะสมอัธยาศัยใหญ่ที่จะสละทุกอย่างที่เคยติดข้อง สละหมดไม่เหลือเลย ทั้งครอบครัว วงศาคณาญาติ และทรัพย์สมบัติ ไม่ผูกพันไม่ติดข้องในสิ่งเหล่านั้น เพื่อเข้าใกล้ความสงบจากกิเลส นี้คือจุดประสงค์ของการเป็นภิกษุ ไม่ใช่เพื่อจุดประสงค์อื่นใดทั้งสิ้น ภิกษุทุกรูปในสมัยพุทธกาล ทุกยุคทุกสมัยต้องเคารพในพระธรรมวินัยที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้ด้วยพระองค์เอง ฉะนั้น ภิกษุจึงต้องศึกษาพระธรรมวินัยด้วยความเคารพอย่างละเอียดรอบคอบจึงจะประพฤติตามพระธรรมวินัยได้ แต่ถ้าไม่มีความเข้าใจในพระธรรมวินัยก็จะประพฤติในสิ่งที่ผิด ล่วงละเมิดสิกขาบทต่างๆ ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้ อย่างเช่น กรณีภิกษุรับเงินและทอง ยินดีในเงินและทอง ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ สิกขาบทที่ ๘ แห่งโกสิยวรรค ว่า “อนึ่ง ภิกษุใด รับก็ดี ให้รับก็ดี ซึ่งทอง เงิน หรือ ยินดีทอง เงิน อันเขาเก็บไว้ให้ เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์” แม้จะรับแต่น้อยก็ไม่พ้นจากอาบัติข้อนี้ ต้องสละเงินนั้นให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัยจึงจะแสดงอาบัติ (ปลงอาบัติ) ได้ และทำให้เป็นผู้พ้นจากโทษนั้นได้ แต่ถ้าภิกษุรูปใดมีเงินและทอง รับเงินและทอง ยินดีในเงินและทองแม้ที่เขาเก็บไว้ให้เพื่อตน ไม่เห็นโทษของการล่วงละเมิดพระวินัย ภิกษุนั้นไม่ใช่ภิกษุในพระธรรมวินัย

แม้แต่ภิกษุขอเงินจากชาวบ้านก็ไม่ได้โดยประการทั้งปวง เป็นสิ่งที่ไม่เหมาะควร เพราะภิกษุจะขอสิ่งของจากคฤหัสถ์ผู้ไม่ใช่ญาติ หรือไม่ใช่บุคคลผู้ปวารณาไว้ไม่ได้ ถ้าเป็นญาติหรือเป็นบุคคลผู้ปวารณาไว้ ภิกษุจะขอได้ก็เฉพาะสิ่งของที่เหมาะควรแก่เพศบรรพชิตเท่านั้น เช่น จีวร อาหาร เป็นต้น แต่จะขอเงินไม่ได้โดยประการทั้งปวง เพราะเงินทองเป็นวัตถุที่ไม่ควรแก่เพศบรรพชิต เงินทองเป็นเครื่องเศร้าหมองของบรรพชิต นำมาซึ่งความไม่สงบอันแสดงถึงชีวิตของคฤหัสถ์ ไม่ใช่บรรพชิต

สำหรับกรณีของวัดลำนาวนั้น หากภิกษุได้ประพฤติปฏิบัติตามพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด โดยไม่รับและไม่ยินดีในเงินและทองตามพระวินัยบัญญัติ เป็นต้น ย่อมทำให้เกิดความเลื่อมใสศรัทธาแก่พุทธบริษัท ดังที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงในพหุการสูตรว่า แม้ฆราวาส ไม่ใช่ญาติ ไม่ใช่มิตร ไม่ใช่ลูกหนี้ของเธอทั้งหลาย โดยที่แท้เขาต้องการผลวิเศษ โดยเข้าใจว่า สมณะเหล่านี้เป็นผู้ประพฤติชอบปฏิบัติชอบ บุญที่เราทั้งหลายทำให้สมณะเหล่านี้ จักมีผลานิสงส์มาก ดังนี้ จึงทะนุบำรุงเธอทั้งหลายด้วยปัจจัย ๔ มีจีวร เป็นต้น เมื่อเป็นเช่นนี้ภิกษุทั้งหลายก็ไม่ต้องกังวลเดือดร้อนในความเป็นอยู่แต่อย่างใด ปัญหาของวัดลำนาวนี้สมควรใช้เป็นอุทาหรณ์ เพื่อให้ภิกษุได้เข้าใจพระธรรมวินัยอย่างถูกต้อง สามารถดำรงสมณเพศอยู่ได้อย่างผาสุก และจะเป็นแบบอย่างให้แก่วัดอื่นๆ ได้ต่อไป ซึ่งสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ มาตรา ๖๗ วรรคสอง ที่บัญญัติให้ รัฐพึงส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาและการเผยแผ่หลักธรรมของพระพุทธศาสนาเถรวาท เพื่อให้เกิดการพัฒนาจิตใจและปัญญา และต้องมีมาตรการและกลไกในการป้องกันมิให้มีการบ่อนทำลายพระพุทธศาสนาไม่ว่าในรูปแบบใด และพึงส่งเสริมให้พุทธศาสนิกชนมีส่วนร่วมในการดำเนินมาตรการหรือกลไกดังกล่าวด้วย

ในฐานะพุทธศาสนิกชน มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนาเห็นสมควรที่จะให้มีการดำเนินการให้เป็นไปตามพระธรรมวินัย ดังนี้

๑. ภิกษุทุกรูปทั่วประเทศต้องสละเงิน ทอง และทรัพย์สินที่ได้รับมาเป็นของส่วนตัวในระหว่างที่อยู่ในสมณเพศ ไม่ว่าจะเก็บไว้ในที่ใดก็ตาม เนื่องจากเงินทองและทรัพย์สินเป็นสิ่งที่ไม่เหมาะควรแก่เพศบรรพชิตโดยประการทั้งปวง เงินทองและทรัพย์สินส่วนที่ได้สละแล้วนี้ รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถดำเนินการใช้จ่ายเพื่อสาธารณประโยชน์ได้ และภิกษุที่รับเงินทองและทรัพย์สินนั้นมาก็ต้องแสดงอาบัติ จึงจะเป็นผู้ที่บริสุทธิ์ พ้นจากอาบัติในส่วนนี้ ซึ่งจะเป็นผู้ปลอดโปร่ง สามารถดำรงเพศบรรพชิตต่อไปได้ แต่ถ้าเป็นเงินทองหรือทรัพย์สินที่มีผู้ถวายให้เป็นของสงฆ์ก็จะต้องจัดให้มีคฤหัสถ์หรือไวยาวัจกรเป็นผู้ดูแลให้เป็นไปตามพระธรรมวินัยต่อไป เนื่องจากภิกษุจะยุ่งเกี่ยวหรือจัดการเรื่องทรัพย์สินเงินทองไม่ได้ และรัฐบาลหรือผู้ใดจะนำทรัพย์สินเงินทองที่มีผู้ถวายเป็นของสงฆ์ไปใช้ในกิจการอื่นไม่ได้

๒. ภิกษุรูปใดยังไม่มีความละอาย ไม่ยอมสละเงิน ทอง และทรัพย์สินที่ได้รับมาเป็นของส่วนตัวในระหว่างที่อยู่ในสมณเพศ สมควรที่จะต้องลาสิกขา เพราะไม่ใช่ภิกษุในพระธรรมวินัย

การที่พุทธบริษัทกล่าวตามพระธรรมวินัยที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงแสดงไว้ดีแล้ว นั้น ไม่ใช่อุดมการณ์ของบุคคลหนึ่งบุคคลใด แต่ด้วยความเคารพยิ่งในพระธรรมวินัย ซึ่งทั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์ควรอย่างยิ่งที่จะได้ศึกษาและน้อมประพฤติตาม

ถ้าไม่มีใครกล่าวคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วใครจะรู้ว่าอะไรถูกอะไรผิด พระธรรมวินัยที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงจึงเป็นประโยชน์เกื้อกูลสำหรับผู้ที่ได้ฟังได้ศึกษาอย่างแท้จริง ทำให้เป็นผู้มีเหตุมีผล ไม่ทำอะไรตามๆ กันโดยไม่ได้พิจารณาในความถูกต้อง เพราะพุทธบริษัทได้อาศัยคำจริงในแต่ละคำที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง จึงมีพระองค์เป็นที่พึ่งด้วยการตั้งใจฟังและศึกษาให้เข้าใจ จึงเกิดปัญญาความเห็นที่ถูกต้องซึ่งไม่เคยมีมาก่อน เมื่อปัญญาค่อยๆ เจริญขึ้นก็จะปรุงแต่งให้เกิดความคิด การกระทำและคำพูดเป็นไปในทางที่ถูกต้อง ดีงาม เป็นประโยชน์ยิ่งๆ ขึ้นทั้งแก่ตนเองและผู้อื่น.

--------------------------------

...ขอความเจริญมั่นคงในกุศลธรรมจงมีแด่ทุกท่าน...


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
Nataya
วันที่ 1 ส.ค. 2561

กราบอนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
papon
วันที่ 1 ส.ค. 2561

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
ปลากริม
วันที่ 1 ส.ค. 2561

สาธุ สาธุ สาธุ ขอกราบอนุโมทนาคำตอบที่ตรงตามพระธรรมวินัยครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
chatchai.k
วันที่ 1 ส.ค. 2561

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ 

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
มกร
วันที่ 1 ส.ค. 2561

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ 

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
panasda
วันที่ 1 ส.ค. 2561

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ 

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
peem
วันที่ 1 ส.ค. 2561

กราบขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ 

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
isme404
วันที่ 1 ส.ค. 2561

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ 

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
abhirak
วันที่ 1 ส.ค. 2561

สาธุ สาธุ สาธุ

การช่วยกันรักษาพระธรรมวินัยในบทบาทของฆราวาสประการหนึ่งคือ การช่วยกันเปิดเผยความถูกต้องของพระธรรมวินัยให้ชัดเจน เพราะเหตุว่าพระธรรมยิ่งเปิดเผยยิ่งรุ่งเรืองครับ

กรณีของการขอ"เงิน"จากผู้ที่มิใช่ญาติและไม่เคยปวารณาย่อมไม่ถูกต้องและไม่สมควรเป็นอย่างยิ่งไม่ว่าจะมองมุมไหน ผู้บวชแล้วเป็นอนาคาริกแล้วยังต้องมากังวลการใช้น้ำใช้ไฟอยู่อีก จะต้องหาเงินมาจ่ายค่าน้ำค่าไฟ จะมีอะไรต่างไปจากคฤหัสถ์ผู้ครองเรือนเล่าครับ หากยังปลิโพธ(กังวล)กับเรื่องแค่นี้แล้วจะบวชอยู่ทำไม ก็ในเมื่อไม่มีสำนึกแห่งความเป็นพระซึ่งเป็นเพศที่ห่างไกลจากกิเลสเลยแม้แต่น้อย ไม่สมศักดิ์ศรีแห่งเพศบรรชิตเลย ก็นิมนต์สึกเถอะครับ จะได้ไม่เป็นภาระแก่พระศาสนา ไม่เป็นโทษเป็นบาปแก่ตัวท่านเองอีกด้วยครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
เจียมจิต สุขอินทร์
วันที่ 1 ส.ค. 2561

กราบอนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
rrebs10576
วันที่ 2 ส.ค. 2561

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ 

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
pulit
วันที่ 2 ส.ค. 2561

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ 

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
paengpuff
วันที่ 2 ส.ค. 2561

อนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
thilda
วันที่ 2 ส.ค. 2561

กราบอนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
meenalovechoompoo
วันที่ 2 ส.ค. 2561

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ 

 
  ความคิดเห็นที่ 16  
 
worrasak
วันที่ 2 ส.ค. 2561

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ 

 
  ความคิดเห็นที่ 17  
 
ปาริชาตะ
วันที่ 2 ส.ค. 2561

ขออนุโมทนาค่ะ 

 
  ความคิดเห็นที่ 20  
 
kullawat
วันที่ 3 ส.ค. 2561

งดงามตามพระธรรมวินัย
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ 

 
  ความคิดเห็นที่ 22  
 
wittawat
วันที่ 4 ส.ค. 2561

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น 

มหาวิภังค์ โกสิยวรรค สิกขาบทที่ ๘

พระบัญญัติ แสดงว่า “อนึ่ง ภิกษุใด รับก็ดี ให้รับก็ดีซึ่ง ทองเงิน หรือยินดีทองเงินอัน

เขาเก็บไว้ให้ เป็นนิสสัคคียปาจิตตีย์”

 

ขอให้ท่านได้ศึกษา จะทราบว่า นี่ไม่ใช่อุดมการณ์ขอผู้หนึ่ง ผู้ใด

นี่เป็นพระพุทธบัญญัติ

ทรงบัญญัติสิกขาบท โดยอาศัย อำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ ได้แก่

เพื่อความรับว่าดีแก่สงฆ์ ๑

เพื่อความสำราญแก่สงฆ์ ๑

เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก ๑

เพื่ออยู่สำราญแก่ภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑

เพื่อกำจัดอาสวะอันจะบังเกิดในปัจจุบัน ๑

เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑

เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ๑ 

เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑

เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม ๑

เพื่ออนุเคราะห์พระวินัย ๑

 

ทรงติเตียนภิกษุต้นเรื่องโดยเอนกปริยาย

ตรัสโทษของความเป็นคนเลี้ยงยาก บำรุงยาก มักมาก ไม่สัณโดษ

ความคลุกคลี ความเกียจคร้าน

ตรัสคุณของความเป็นคนเลี้ยงง่าย บำรุงง่าย มักน้อย สัณโดษ

ความขัดเกลา การกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส ความไม่สะสม

การปรารภความเพียรโดยอเนกปริยาย

 

แม้กระทั่ง สังยุตตินิกาย สฬายตนวรรค คามณิสังยุต มณิจูฬกสูตร

ก็มีความสอดคล้องกันกับ พระวินัยที่ทรงบัญญัติไว้ ทรงแสดงว่า

”ทองและเงินควรแก่ผู้ใด เบญจกามคุณก็ควรแก่ผู้นั้น

เบญจกามคุณควรแก่ผู้ใด ทองและเงินก็ควรแก่ผู้นั้น”

 

”เรามิได้กล่าวว่า สมณศากยบุตรพึงยินดี

พึงแสวงหาเงินและทองโดยปริยายอะไรเลย”

 

นายบ้านมณีจูฬกะพยากรณ์ว่า

“ทองและเงินย่อมไม่ควรแก่สมณศากยบุตร สมณศากยบุตรย่อมไม่ยินดี

ทองและเงิน ย่อมไม่รับทองและเงิน สมณศากยบุตรห้ามแก้วและทอง

ปราศจากทองและเงิน” ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงรับรองว่านายบ้านนั้น

พยากรณ์ธรรมสมควรแก่ธรรมแล้ว

 

ปัญหาทั้งหมด และที่ตามมามากมายเกิดจากความไม่รู้ ไม่ได้ศึกษาพระธรรมวินัย

พระธรรมคืออะไร พระวินัยคืออะไร ภิกษุคือใคร โทษของการก้าวล่วงพระวินัยคืออะไร

ถ้าไม่รู้อะไรเลย จะประพฤติปฏิบัติถูกตามพระธรรมวินัยได้อย่างไร

เพราะฉะนั้นเป็นสิ่งสำคัญที่บรรพชิต และคฤหัสถ์ควรศึกษาพระธรรมวินัยให้ละเอียด

ประพฤติตามคำสอนของพระศาสดา ถ้าภิกษุเป็นผู้รู้ทั้งรู้อยู่ ก็จงใจละเมิด

ก็เป็นบุคคลผู้ต้องอาบัติตามพระวินัยของพระศาสดาแน่นอน และเป็นผู้ว่ายาก

และแน่นอน ว่าทรงแสดงเรื่องโทษของภิกษุผู้ต้องอาบัติไว้แล้ว

ซึ่งท่านสามารถศึกษาได้ในเรื่องอันตรายิกธรรม [ธรรมที่ทำอันตรายแก่สวรรค์และนิพพาน]

ในคัมภีร์มหาวิภังค์ เล่ม ๒ หรือ อลคัททูปมสูตร

เมื่อเป็นภิกษุโดยปฏิญญา บวชอุทิชแก่พระพุทธศาสนา

ควรศึกษาสิกขาบทบัญญัติของพระพุทธเจ้าและ ประพฤติปฏิบัติให้ถูกต้อง

แม้คฤหัสถ์เอง ก็ควรศึกษาพระธรรมวินัย

และไม่ควรสนับสนุน ให้ภิกษุประพฤติละเมิดสิกขาบท

เช่นเดียวกับ นายบ้านมณีจูฬกะ ซึ่งเป็นคฤหัสถ์ในพุทธกาล

ซึ่งท่านได้กล่าวความเห็นแย้งกับราชบริษัท เห็นได้ชัดเจนว่า

คนหมู่ใหญ่ที่พูดว่าพระรับเงินได้ การอ้างตามคนหมู่ใหญ่

ไม่ใช่เรื่องที่ถูกต้องเสมอไป ควรต้องสอบทานกับพระธรรมวินัย

ขออนุโมทนา และแสดงความคิดเห็นแต่เพียงเท่านี้ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 23  
 
Selaruck
วันที่ 5 ส.ค. 2561

กราบอนุโมทนาสาธุกับท่านอาจารย์สุจินต์และ มศพ ที่กล้าหาญและ "ตรง" ต่อความจริง

ไม่น่าเชื่อว่าผู้เป็นภิกษุระดับเจ้าอาวาสที่สามารถเขียนจดหมายออกมาในที่สาธารณะแสดงความไม่ละอาย แสดงความไม่รู้หรือไม่เคารพในพระธรรมวินัยได้ขนาดนี้ ถ้าภาษาชาวบ้านก็เรียกว่าไร้ยางอาย ...

 
  ความคิดเห็นที่ 24  
 
jaturong
วันที่ 6 ส.ค. 2561

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ 

 
  ความคิดเห็นที่ 25  
 
yanong89
วันที่ 6 ส.ค. 2561

เป็นหัวข้อที่ควรศึกษาอย่างละเอียด 

 
  ความคิดเห็นที่ 26  
 
Jans
วันที่ 13 ส.ค. 2561

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ 

 
  ความคิดเห็นที่ 27  
 
2491surin
วันที่ 13 ส.ค. 2561

 ขอบพระคุณและขออนุโมทนา ครับ.

 
  ความคิดเห็นที่ 28  
 
thongkhun1937
วันที่ 14 ส.ค. 2561

ขออนุโมทนาครับ 

 
  ความคิดเห็นที่ 29  
 
sumek
วันที่ 14 ส.ค. 2561

ถ้าเป็นชาวพุทธจะมีความเคารพพระธรรมวินัย

เมื่อรู้ตัวว่าบวชแล้วทำตัวขูดเกลากเลสอย่างเพศนักบวชไม่ได้  ก็ต้องมีความละอาย  และจะไม่บวชให้เสื่อมเสียต่อศาสนา

เพราะผู้ไม่ได้มีอัธยาศัยที่จะบวช  ปัญญายังไม่เข้าใจพอที่จะเข้าใจความประพฤติของเพศบรรพชิตได้  บวชไปแล้วทำผิดต่อพระวินัย เท่ากับ เป็นผู้ทำลายศาสนาแท้จริง

ผู้เคารพพระธรรมวินัยย่อมละอายที่จะฝ่าฝืนพระวินัยบัญญัติ  รู้ว่าประพฤติไม่ได้  ก็ไม่บวช เป็นคฤหัสถ์ก็สามารถ ศึกษาพระธรรมเพื่ออบรมสติ เจริญปัญญาได้  และยังสามารถประพฤติได้อย่างคฤหัสถ์ ทุกอย่าง เช่น ค้าขายแลกเปลี่ยน สะสมทรัพย์สินเงินทองเป็นต้น

กราบขอบพระคุณและอนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 30  
 
ธนฤทธิ์
วันที่ 15 ส.ค. 2561

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ 

 
  ความคิดเห็นที่ 31  
 
Dechachot
วันที่ 20 ส.ค. 2561

สาธุ 

 
  ความคิดเห็นที่ 32  
 
Arthikant
วันที่ 22 ส.ค. 2561

สาธุครับอาจารย์ ท่านทำให้กระจ่างในธรรม และผมขอขอบพระคุณในความเมตตาของท่านอาจารย์กรณีการใช้ข้อความ ไม่ใช่การตีสำนวนโวหารเพื่อเอาชนะคะคาน แต่เพื่อให้เกิดมิตรไมตรีที่ดีขอบคุณครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 33  
 
ํํญาณินทร์
วันที่ 29 ส.ค. 2561

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ 

 
  ความคิดเห็นที่ 35  
 
anuraks168
วันที่ 16 ต.ค. 2561

ชัดเจนแล้วครับ กราบอนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 36  
 
arin
วันที่ 16 ต.ค. 2561

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ 

 
  ความคิดเห็นที่ 38  
 
ํํญาณินทร์
วันที่ 4 มิ.ย. 2562

ขออนุโมทนาครับ สาธุ สาธุ สาธุ ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 39  
 
talaykwang
วันที่ 21 ก.ค. 2562

สาธุ สาธุ สาธุค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 40  
 
teep703
วันที่ 4 ส.ค. 2562

ดีแล้วครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 41  
 
อนุชาติ
วันที่ 9 ก.ย. 2562

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 45  
 
apichet
วันที่ 23 ธ.ค. 2562

อนุโมทนาสาธุครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 46  
 
Witt
วันที่ 7 ก.พ. 2563

อนุโมทนาในกุศลจิตครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 47  
 
ธีรพันธ์
วันที่ 24 มี.ค. 2563

ภิกษุในธรรมวินัย ไม่รับและไม่ยินดีในเงินและทอง

ภิกษุที่ต้องอาบัติ(โทษที่ล่วงละเมิดพระธรรมวินัย) ไม่แสดงอาบัติให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัย ในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ ถ้าเกิดมรณภาพ(สิ้นชีวิต)ในเพศบรรพชิตก็เป็นปัจจัยให้เกิดในอบายภูมิ ได้แก่ นรก เปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน แต่ถ้าลาสิกขา ออกมาเป็นคฤหัสถ์ก็จะพ้นจากอาบัติได้ แต่ถ้าบวชเข้าไปใหม่อาบัติเดิมที่เคยบวชมาก่อนก็ติดตัวอีก

การสละเงินทอง ของภิกษุที่ต้องอาบัติต้องสละท่ามกลางสงฆ์เท่านั้น ตามพระธรรมวินัยจึงจะพ้นจากอาบัติได้

 
  ความคิดเห็นที่ 48  
 
saman_pacific
วันที่ 14 มิ.ย. 2563

กราบขอบพระคุณ. และขออนุโมทนา ด้วยครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ