ชาวพุทธไม่รู้จักแม้สมาธิ

 
sutta
วันที่  28 พ.ย. 2561
หมายเลข  30278
อ่าน  1,992

สมาธิมี ๒ อย่าง มิจฉาสมาธิและสัมมาสมาธิ เพราะฉะนั้นปัญญาไม่ได้เกิดจากมิจฉาสมาธิแน่นอน ขณะนี้ก็มีสมาธิเกิดกับจิตทุกขณะ แต่ยังไม่ปรากฏลักษณะที่ตั้งมั่นคงที่จะปรากฏว่าเป็นลักษณะของสมาธิ มีจิตตั้งมั่นในอารมณ์หนึ่งอารมณ์ใดนานๆ ลักษณะของสมาธิก็ปรากฏ แต่ให้ทราบว่า ขณะใดที่ไม่ประกอบด้วยปัญญา ขณะนั้นเป็นมิจฉาสมาธิทั้งหมด เพราะฉะนั้นไม่ใช่ว่าปัญญาเกิดจากสมาธิ แต่ให้ทราบว่า ขณะใดก็ตามที่มีสมาธิ แต่ไม่ประกอบด้วยปัญญานั้นเป็นมิจฉาสมาธิ

จริงๆ แล้วขณะนี้ ถ้าย้อนไปถึงสมัย ๒,๕๐๐ กว่าปี สมมติว่าเป็นที่พระวิหารแห่งหนึ่งแห่งใด คนที่ไปฟังพระธรรมก็ยังมีโลภะ โทสะ โมหะเหมือนกับคนยุคนี้สมัยนี้ แต่ว่าในขณะที่ฟังมีการสะสมมาที่จะเข้าใจสิ่งที่พระผู้มีพระภาคตรัส และพิจารณารู้ความจริงในขณะนั้นได้ จิตในขณะนั้นสงบ ประกอบพร้อมทั้งศีล สมาธิ ปัญญา ไม่จำเป็นต้องไปรักษาศีลมาก่อน ซึ่งเมื่อไรจะได้ศีลครบก็ไม่ทราบ ไม่จำเป็นต้องไปทำอย่างอื่นมาก่อน แต่ในขณะนั้นเองเพราะมีความเข้าใจ ขณะใดที่เข้าใจ ขณะนั้นมีสมาธิด้วย ไม่ต้องไปทำสมาธิต่างหาก

จะเอาสมาธิที่ไม่มีความเข้าใจ หรือว่าจะเข้าใจ เพราะเหตุว่าในขณะนั้นก็มีสมาธิด้วย โดยที่ว่าไม่ใช่เราต้องไปทำ แต่ว่าเป็นสภาพธรรมที่เกิดพร้อมกันอยู่เอง เพราะถ้าไม่มีสมาธิ ไม่เข้าใจ ไม่พิจารณา ไม่ตั้งใจฟัง ปัญญาก็เกิดไม่ได้ แต่ว่าเวลาที่มีปัญญา ก็หมายความว่า ขณะนั้นต้องมีความสงบของจิตใจแล้ว ขณะที่เข้าใจ ขณะนั้นสงบจากอกุศล


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
ประสาน
วันที่ 28 พ.ย. 2561

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนา เห็นด้วยกับท่านอาจาร์ยครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
panasda
วันที่ 28 พ.ย. 2561

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
napapongsumran
วันที่ 28 พ.ย. 2561

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
Nataya
วันที่ 28 พ.ย. 2561

กราบอนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
Dechachot
วันที่ 29 พ.ย. 2561

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
สิริพรรณ
วันที่ 30 พ.ย. 2561

กราบนอบน้อมพระรัตนตรัยด้วยเศียรเกล้า

กราบบูชาพระคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์เป็นอย่างสูงยิ่ง

ถ้าไม่ได้ฟังคำที่ถูกต้องตรงตามพระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง ก็จะหลงผิด เดินทางผิด ประพฤติผิด ด้วยความรีบร้อน ความต้องการ และหลงเชื่อ คล้อยตามผู้ที่ไม่ได้ศึกษา เพียงต้องการความสุข โดยไม่รู้ว่า ความสุขก็เพียงชั่วคราวจึงเป็นความทุกข์เพราะแปรปรวน และไม่เข้าใจลักษณะของความต้องการนั้น ไม่รู้ว่า ความต้องการนั้น ก็คือสิ่งที่ทำให้ยึดติดต่อไป ไม่สามารถหลุดพ้นจากวัฎฎสงสารได้เลย การศึกษาพระธรรม จึงจำเป็นอย่างยิ่งในหนทางเริ่มต้นที่จะเข้าใจความจริง และละคลายความไม่รู้ ความยึดติด ที่เป็นต้นเหตุนำมาซึ่งกิเลสอื่นๆ อีกมากมาย

กราบอนุโมทนาขอบพระคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์เป็นอย่างสูง พร้อมทั้งท่านวิทยากร เจ้าหน้าที่มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา ทุกท่านด้วยค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
ธนฤทธิ์
วันที่ 30 พ.ย. 2561

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
chatchai.k
วันที่ 25 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ