เย็น ร้อน อ่อน แข็ง ตึง ไหว มีปรากฎในพระไตรปิฏกและอรรถกถาหรือไม่
เรียน ท่านวิทยากร
เย็น ร้อน อ่อน แข็ง ตึง ไหว ไฉนถึงได้อยู่ในหมวดธรรมมานุปัสนา ทำไมจึงไม่อยู่ในกายานุปัสนา อริยาบถบรรพ ทั้งๆ ที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหว และกระทบกับทางกาย และมีปรากฎในพระไตรปิฏกและอรรถกถาหรือไม่
ขออนุโมทนาครับ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
สำคัญอยู่ที่ความเข้าใจถูกเห็นถูกตรงตามความเป็นจริงว่าเป็นธรรม แม้แต่ที่กล่าวถึง เย็นหรือร้อน (ธาตุไฟ- เตโชธาตุ) อ่อนหรือแข็ง (ธาตุดิน-ปฐวีธาตุ) ,ตึงหรือไหว (ธาตุลม-วาโยธาตุ) นั้น เป็นสภาพธรรมที่มีจริง เป็นรูปธรรม และเป็นรูปธรรมที่รู้ได้ทางกาย เรียกรูปทั้ง ๓ นี้ ว่า เป็นโผฏฐัพพะ เมื่อเป็นรูปธรรม ก็ไม่ใช่สิ่งหนึ่งสิ่งใด ปัญญาสามารถเข้าใจถูกเห็นถูกตรงตามความเป็นจริงได้ ครับ
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ ๒๕๗
แม้ในโผฏฐัพพารมณ์ มหาภูตรูป ๓ คือ ปฐวีธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ ชื่อว่า โผฏฐัพพารมณ์
ข้อความบางตอนจากคำบรรยายของอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์
สภาพของรูปที่รู้ได้ทางกาย ไม่ว่าจะเป็นกายานุปัสสนาสติปัฏฐานหรือว่าธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานก็ตาม ก็คือ เย็น ร้อนอ่อน แข็ง ตึง ไหว ถูกไหมเจ้าคะ.?สภาพของรูปใดๆ ก็ตาม...เรายังไม่พูดถึงชื่อ ว่าเป็น อนุปัสสนา บรรพไหนพูดถึงสภาพธรรมที่รู้ได้ทางกายไม่ว่าจะ ใช้คำว่า กายายุปัสสนาสติปัฏฐานหรือใช้คำว่า รูปขันธ์ ในธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ... ก็ตามแต่จะใช้คำว่า อายตนะ คือ เย็น-ร้อน อ่อน-แข็ง ตึง-ไหว คือโผฏฐัพพะอายตนะ ... ก็แล้วแต่เราจะไม่พูดถึงชื่อ ... แต่จะพูดถึงสภาพธรรม ว่าขณะใดที่มีการระลึกที่กาย ... ที่กายประสาท ขณะนั้นสิ่งที่มีจริงๆ ที่ปรากฏ คือ เย็น ร้อน อ่อน แข็ง ตึงไหว เรียกว่า เป็นกายานุปัสสนาสติปัฏฐานโดยนัย ... ที่เมื่อยึดถือที่กาย ก็ระลึกที่กาย สภาพธรรมที่กายก็ปรากฏ แต่สิ่งอื่นที่ไม่ใช่กาย ... แต่มีลักษณะที่ เย็น- ร้อน อ่อน -แข็ง ตึง-ไหว ขณะนั้นไม่ต่างจากรูปที่กายเลย คือ เย็น-ร้อน อ่อน-แข็ง ตึง-ไหว นั้นเอง แต่เป็นธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานเมื่อระลึกรู้ลักษณะธรรมตรงอื่นซึ่งไม่ใช่ตรงกาย
...อนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
อบรมปัญญาให้เข้าใจความจริง จะเป็นประโยชน์ทั้งชาตินี้ และชาติต่อๆ ไป กุศลที่ทำได้เสมอๆ คือ การฟังพระธรรมที่พระอรหันตสัมมาสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง มีคุณค่ามหาศาลสำหรับชีวิตที่ต้องเดินทางต่อไป อีกแสนไกล และกันดาร
ขอเชิญศึกษาพระธรรม...
รวมลิงก์เมนูต่างๆ ในเว็บไซต์