ธรรมเดช อานุภาพของธรรมที่ทำให้ชีวิตเปลี่ยนไป
จะมากด้วยกุศลหรือจะน้อยด้วยกุศลก็เพราะเหตุว่ามีความเข้าใจธรรมะและขณะนั้นรู้ในความเป็นอนัตตา
ธรรมเดชสามารถทำให้ชีวิต ความคิดและปัญญาต่างจากเดิมได้ จากไม่เคยมีปัญญาก็มีปัญญา จากไม่เมตตาก็มีเมตตา จากไม่เคยช่วยเหลือแม้สิ่งเล็กๆ น้อยๆ ก็เริ่มช่วยเหลือเล็กๆ น้อยๆ ทั้งหมดนำไปสู่การค่อยๆ ละคลายอกุศลแต่ยังเป็นเรา กว่าจะค่อยๆ ละคลายอกุศลจนไม่ใช่เรา!!!!
เห็นโทษของอกุศล ขณะที่ไม่สงบเป็นเพราะอกุศล ไม่สงบจากอกุศลจึงได้ฟุ้งซ่าน ติดข้องในรูปรสต่างๆ ฟุ้งซ่านมากแค่ไหนแต่ไม่รู้เลย ธรรมเดชทำให้รู้ได้ว่าอกุศลมีโทษมากและกุศลแม้เพียงเล็กน้อนนั้นไม่ฟุ้งซ่าน คนที่เข้าใจความต่างของกุศลและอกุศลก็เจริญกุศลตามกำลังของปัญญา
ขณะนี้เองเป็นปัญญาเดช จากไม่เคยรู้เป็นความรู้ ฟังธรรมสามารถค่อยๆ เข้าใจในความละเอียด สะสมเป็นสังขารขันธ์
บุญญเดชขัดเกลากิเลสจนสามารถดับกิเลส ดับอนุสัยกิเลสที่ติดแน่นในจิตมากมายมหาศาล ไม่มีอะไรนำกิเลสออกจากจิตได้เลยนอกจากธรรมเดช คำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแต่ละคำทำให้เกิดปัญญาเดชซึ่งเป็นบุญญเดช ที่จะขัดเกลากิเลสให้ออกจากใจจนประจักษ์แจ้งลักษณะของสภาพธรรมตรงตามที่ได้ฟังด้วยตนเองขณะที่มรรคจิตเกิด กว่าจะถึงปัญญาระดับนั้น รู้แจ้งสภาพธรรมตามที่ได้ฟังตามขั้นของปัญญา
ถ้าจะละคลายต้องรู้ว่าไม่มีเรา ไม่มีตัวตนเลย ธรรมะทั้งหมดเกิดตามเหตุปัจจัย
ทำลายคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยการเข้าใจผิด พูดผิด ทำผิด ไม่ตรงตามที่พระองค์ทรงแสดงไว้
คุณความดีธรรมะฝ่ายกุศลที่เป็นเดช คือ เผาผลาญธรรมะฝ่ายตรงข้ามคืออกุศลธรรมตั้งแต่จรณเดช คุณความดีที่เป็นเครื่องเผาผลาญความทุจริตความเป็นผู้ทุศีลด้วยกุศลที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยธรรมเดชของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คุณเดช ธรรมที่เผาผลาญความไม่สงบของจิตคืออกุศลธรรมที่ทำให้จิตไม่สงบ ปัญญาเดช ปัญญาที่เกิดจากการได้ฟังธรรมเดชที่เป็นเหตุให้เผาผลาญอวิชชาคือความไม่รู้ จนถึงบุญญเดช อริยมรรคที่ประหารอกุศลทั้งหมดเป็นสมุจเฉท
กราบบูชาคุณท่านอ. สุจินต์ บริหารวนเขตต์ด้วยความเคารพยิ่งค่ะ
[เล่มที่ 68] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 911
บทว่า ธมฺมเตโช - ธรรมเดช คือ พุทธวจนเดช อันเป็นหลักแห่งเดช ๔.
[เล่มที่ 68] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 912
บทว่า อธมฺมเตช - เดชมิใช่ธรรม ได้แก่ เดช อันเป็นถ้อยคำแสดงลัทธิของพวกเดียรถีย์ต่างๆ
[เล่มที่ 68] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 906
[๒๓๕] คำว่า เตโช - เดช ความว่า เดชมี ๕ คือ จรณเดช คุณเดช ปัญญาเดช บุญญเดช ธรรมเดช บุคคลผู้มีจิตอันกล้าแข็ง ย่อมยังเดช คือความเป็นผู้ทุศีลให้สิ้นไปด้วยเดชคือศีลเครื่องดำเนินไป ย่อมยังเดชมิใช่คุณให้สิ้นไปด้วยเดชคือคุณ ย่อมยังเดชคือความเป็นผู้มีปัญญาทรามให้สิ้นไปด้วยเดชคือปัญญาย่อมยังเดชมิใช่บุญให้สิ้นไปด้วยเดชคือบุญ ย่อมยังเดชมิใช่ธรรมให้สิ้นไปด้วยเดชอันเป็นธรรม.
ขออนุโมทนาในกุศลวิริยะด้วยค่ะ