ความหมายของธรรม,จิต,เจตสิก

 
praisin
วันที่  12 มี.ค. 2550
หมายเลข  3040
อ่าน  4,245

เรียนถาม ในความหมายของธรรมคืออะไร จิต เจตสิกคืออะไร

เพราะเริ่มงงว่าตนเองเข้าใจธรรมถูกหรือไม่


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 13 มี.ค. 2550

จิต คือ สภาพรู้ เป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้แจ้งอารมณ์ เจตสิก คือ สภาพธรรมที่เกิดกับจิต ดับพร้อมจิต รู้อารมณ์เดียวกับจิต อาศัยวัตถุเดียวกันเกิด

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
shumporn.t
วันที่ 13 มี.ค. 2550

ธรรม หมายถึง สภาวะที่ทรงไว้ซึ่งลักษณะของตนๆ เป็นสภาพที่มีลักษณะเฉพาะแต่

ละอย่างๆ ไม่มีใครเปลี่ยนแปลงลักษณะของสภาพธรรมนั้นๆ ได้ ไม่ว่าใครจะรู้หรือ

ไม่รู้ก็ตาม ใครจจะเรียกสภาพธรรมนั้นด้วยคำใดภาษาใดหรือไม่เรียกสภาพธรรมนั้น

ด้วยคำใดๆ เลยก็ตาม สภาพธรรมนั้นก็เป็นสภาพที่ไม่มีใครเปลี่ยนแปลงบังคับ

บัญชาได้ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับไป ตามเหตุปัจจัย ธรรมมี ๔ อย่าง คือ

จิต ๑เจตสิก ๑ รูป ๑ และนิพพาน ๑

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
pornchai.s
วันที่ 13 มี.ค. 2550

ปรมัตถธรรม มี 4 คือ

จิตปรมัตถ์ มี 89 หรือ 121 ประเภท ,

เจตสิกปรมัตถ์ มี 52 ประเภท ,

รูปปรมัตถ์ มี 28 ประเภท

และ นิพพานปรมัตถ์

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
praisin
วันที่ 13 มี.ค. 2550

จากการอธิบายผมเข้าใจว่า "เจตสิก" คือ สิ่งที่จิตรู้ในสิ่งที่เกิดขึ้น สิ่งที่เกิดขึ้นในจิตนั้น คือ "เจตสิก" ใช่หรือไม่

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
praisin
วันที่ 13 มี.ค. 2550

เรียนถามคุณshumporn.t ...ถ้าผมจะพูดว่า....."มีสภาวธรรมเกิดขึ้นในจิต."...อย่าง

นี้ถือว่าผิดหรือไม่โดยความหมายผมต้องการจะสื่อว่า เรามีจิตน้อมในธรรมและธรรม

ปรากฎในจิต (คืออารมณ์ที่อ่อนโยนหรืออ่อนน้อมเกิดขึ้นในจิตนั่นเอง)

ขอขอบคุณในความกรุณา

และขอบคุณคุณ pornchai.s ความจริงจะขอให้อธิบายเพิ่มว่ามีอะไรในราย

ละเอียดบ้างก็เกรงใจขอคำแนะนำว่าจะไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้จากไหนครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
wannee.s
วันที่ 13 มี.ค. 2550

ความอ่อนโยนอ่อนน้อมเป็นเจตสิกฝ่ายดีเกิดพร้อมกับจิต รู้อารมณ์เดียวกับจิต

โสภณเจตสิกมี 25 อัญญสมานาเจตสิกมี 13 อกุศลเจตสิกมี 14

ความขุ่นใจ ความริษยา เป็นอกุศลเจตสิกที่เกิดกับอกุศลจิต

จิตเป็นสภาพรู้ เจตสิกเป็นตัวปรุงแต่งให้จิตดีหรือไม่ดี เป็นต้น

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
shumporn.t
วันที่ 13 มี.ค. 2550

เรียนสมาชิกคุณ praisin สภาวะ หมายถึง อาการหรือลักษณะของสภาพธรรมะ จิต

เป็นสภาวธรรม จิตเกิดขึ้นต้องมีสภาพธรรมอีกชนิดหนึ่งเกิดพร้อมกับจิต เรียกว่าเจตสิก เจตสิกเป็นนามธรรมเกิดพร้อมกับจิต ดับพร้อมกับจิต รู้อารมณ์เดียวกับจิตและอาศัยวัตถุเดียวกันเกิด จิตมี ๔ ชาติ คือ กุศล ๑ อกุศล ๑ กิริยา ๑ และ

วิบาก ๑ ขณะที่กุศลจิตเกิด เพราะจิตประกอบด้วยโสภณเจตสิก จึงเป็นกุศลจิต

เพราะความไม่รู้จึงยึดถือสภาพธรรมที่เกิดว่าเป็นเรา จริงๆ แล้วเป็นจิตและเจตสิกที่

เกิด จะเป็นจิตชนิดไหนที่เกิด ก็เรียกจิตนั้นตามความเป็นจริง คือ กุศลจิต ๑อกุศลจิต ๑ กิริยาจิต ๑ และวิบากจิต ๑

ขออนุโมทนาค่ะ รายละเอียดมีกล่าวไว้ใน หนังสือปรมัตถธรรมสังเขป ขอรับได้

จากมูลนิธิฯ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
TSP
วันที่ 14 มี.ค. 2550

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
praisin
วันที่ 14 มี.ค. 2550

ขอบคุณในความกรุณาครับ.......

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ