ทุกข์อริยสัจ กับ ทุกข์ในไตรลักษณ์
ทุกข์อริยสัจ กับ ทุกข์ในไตรลักษณ์ ใช่นัยเดียวกันหรือไม่ ทุกข์ในไตรลักษณ์ ใน จิต เจตสิก และรูป มีลักษณะทุกข์ที่แสดงออกต่างกันหรือไม่
ทุกข์อริยสัจ กับ ทุกขลักษณะในไตรลักษณ์ มีอรรถต่างกัน คือ
ทุกขอริยสัจ ได้แก่ สภาพธรรมที่ผู้เจริญอริยมรรคควรกำหนดรู้เป็นโลกียธรรม มี ๑๖๐ คือ โลกียจิต ๘๑ เจตสิก ๕๑ รูป ๒๘ เป็นธรรมที่น่าเกลียด ว่างเปล่า
ส่วน ทุกขลักษณะ เป็นลักษณะของสภาพธรรมที่เป็นไปในภูมิ ๔ ได้แก่ จิต ๘๙ เจตสิก ๕๒ รูป ๒๘ รวมโลกุตตรจิตและเจตสิกที่ประกอบด้วย
สรุป คือ ทุกขอริยสัจ ได้แก่ สภาพธรรม แต่ทุกขลักษณะ เป็นลักษณะของสภาพธรรมที่เกิดดับ
ทุกข์อริยสัจ คือ คือ สิ่งที่เป็นความจริงเป็นสิ่งที่ควรกำหนดรู้ เป็นสภาพธรรมะที่ว่างเปล่าจากความเป็นตัวตนสัตว์บุคคล ได้แก่ รูปทั้งหมด จิต ๘๑ เว้นโลกุตตรจิต ๘ และเจตสิก ๕๑ เว้น โลภะ เพราะโลภะเป็นทุกขสมุทัยอริยสัจ สำหรับทุกขลักษณะ หมายถึง ลักษณะของสภาพธรรมะที่เป็นสังขารธรรม ได้แก่ จิต เจตสิก รูป ที่เกิดดับ
ที่กล่าวว่า "ทุกขอริยสัจจ์ คือ สิ่งที่เป็นความจริง เป็นสิ่งที่ควรกำหนดรู้" ไม่ใช่ทุกข์ในขณะอื่น แต่คือขณะนี้ มีสิ่งที่กำลังปรากฎ ไม่ว่าทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ล้วนแต่เป็นสภาพธรรม ที่เกิดขึ้น แล้วก็ดับไป ไม่เที่ยงจึงเป็นทุกข์ ต้องอบรมจนกว่าปัญญาจะมั่นคงจนเป็น สัจจญาณ เมื่อนั้นสติสัมปชัญญะจะกระทำกิจพิจารณาและระลึกลักษณะของสภาพธรรมต่างๆ ตรงตามความเป็นจริง จนถึงความสมบูรณ์พร้อมที่จะประจักษ์เป็นวิปัสสนาญานขั้นต่างๆ เป็นกิจญานและกตญานตามลำดับ