อนุพยัญชนะ ในรถสูตร

 
chut.roj
วันที่  27 ม.ค. 2562
หมายเลข  30423
อ่าน  673

หมายถึงอะไร ที่ว่า ไมถือนิมิต ไม่ถือ "อนุพยัญชนะ"


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
khampan.a
วันที่ 28 ม.ค. 2562

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

-คำว่า นิมิต หมายถึง ส่วนหยาบที่เป็นรูปร่าง สัณฐาน ความหมายที่จิตคิดถึงสภาพธรรม ที่ปรากฏทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ เช่น เห็นเป็นผู้หญิงหรือผู้ชายเป็นโต๊ะ เก้าอี้ ได้ยินเสียงผู้หญิงหรือผู้ชาย ได้กลิ่นดอกไม้ ลิ้มรสเป็ดไก่ ถูกต้องสัมผัสสำลี คิดนึกเรื่องราวต่างๆ ซึ่งเป็นไปด้วยอกุศลจิต เป็นการยึดนิมิต แต่ขณะที่รู้รูปร่างสัณฐาน ความหมายต่างๆ ด้วยกุศลจิต ขณะนั้นไม่ใช่เป็นการยึดนิมิต แต่เป็นบัญญัติอารมณ์ของกุศลจิตเท่านั้น

-อนุพยัญชนะ หมายถึง ส่วนละเอียดของรูปร่างสัณฐานหรือความหมาย ที่จิตคิดถึงจากสภาพธรรมที่ปรากฏทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เช่น ปาก คอ คิ้ว คาง ริ้วรอยของใบหน้าที่เป็นส่วนละเอียดของร่างกาย หรือส่วนปลีกย่อยของวัตถุสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ทำให้กิเลสเกิดขึ้น ในขณะนั้นเป็นการยึดอนุพยัญชนะ แต่ในขณะที่พิจารณาส่วนละเอียดด้วยกุศลจิต ไม่เป็นการยึดอนุพยัญชนะ เช่น พิจารณาความเหี่ยวย่นของผิวพรรณ และรู้ถึงความไม่เที่ยงของร่างกายซึ่งเป็นรูปธรรม เป็นต้น

ต้องมีความเข้าใจอย่างมั่นคงจริงๆ ว่า อะไร คือ สิ่งที่มีจริง สิ่งที่มีจริงๆ นั้นเป็นธรรม เป็นสิ่งที่มีจริงแต่ละหนึ่งๆ โดยไม่ปะปนกัน เห็นเป็นธรรม สีเป็นธรรมได้ยินเป็นธรรม เสียงเป็นธรรม เป็นต้น เพราะเป็นสิ่งที่มีจริงๆ ที่ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน นิมิต ก็คือการที่เห็นเป็นคน เป็นสัตว์ เป็นคนนั้นคนนี้ เป็นโต๊ะทั้งตัว เก้าอี้ทั้งตัวเป็นชาย เป็นหญิง เป็นต้น นี้เรียกว่าส่วนหยาบ คือ โดยรวม ส่วนอนุพยัญชนะเป็นส่วนละเอียดจากส่วนหยาบอีกที จริงๆ แล้ว นิมิต กับ อนุพยัญชนะ ก็คือบัญญัติเรื่องราวนั่นเอง ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่มีจริงๆ แต่เพราะมีสภาพธรรมที่มีจริงๆ เกิดขึ้นเป็นไป จึงมีนิมิต อนุพยัญชนะ มีบัญญัติเรื่องราวต่างๆ ครับ

ข้อความบางตอนจากคำบรรยายของท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ มีดังนี้

ขณะใดที่ "เห็น" แล้วสนใจ เพลิน ใน "นิมิต" คือ รูปร่าง สัณฐาน และ "อนุพยัญชนะ" คือ ส่วนละเอียด ของสิ่งที่ปรากฏให้ทราบว่าขณะนั้น เพราะ "สี" ปรากฏจึงเป็น "เหตุปัจจัย" ทำให้กิด "คิดนึก" เป็น รูปร่าง สัณฐาน และ ส่วนละเอียดของสิ่งต่างๆ ขึ้นเมื่อใดที่ "สติ" เกิด ระลึกรู้และ "ปัญญา" เริ่มศึกษา พิจารณาก็จะเริ่มรู้ว่านิมิต และอนุพยัญชนะ ทั้งหลายซึ่งเป็น "สี" ต่างๆ ก็เป็นเพียง "สิ่งที่ปรากฏทางตา" เท่านั้นนี้คือ "ปัญญา" ที่เริ่มเข้าถึง "ลักษณะของสภาพธรรม" ที่ไม่ใช่ตัวตน สัตว์ บุคคลเมื่อ "สติ" เกิดระลึกรู้สภาพธรรมที่กำลังปรากฏ เนืองๆ บ่อยๆ ก็จะเข้าใจ "อรรถ" ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า "ไม่ติด ในนิมิต อนุพยัญชนะ" (ด้วยการอบรมเจริญปัญญารู้สภาพธรรมที่ปรากฏตามความจริง) และเริ่ม ละคลาย "อัตตสัญญา" ในสิ่งที่ปรากฏทางตา ทางหู ทางจมูกทางลิ้น ทางกาย ทางใจ ตามระดับขั้นของ "ปัญญา" ที่ค่อยๆ เจริญขึ้นจากการอบรม.

...อนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
chatchai.k
วันที่ 19 ธ.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ