ทำไมต้องเป็นธรรม ไม่ใช่เรา

 
ฉีฟ่งจื้อ
วันที่  7 ก.พ. 2562
หมายเลข  30459
อ่าน  789

เรียน ท่านวิทยากร

1. เป็นธรรมไม่ใช่เรา หมายถึงอย่างไร ข่วยขยายความด้วยครับ

2. เมื่อสติปัฎฐานเกิดก็พิจารณาว่าเป็นธรรมไม่ใช่เราหรือไม่

3. ถ้าจะกล่าวว่าเป็นเพียงรูปธรรมและนามธรรมอย่างหนึ่งที่ปรากฎทั้ง ๖ ทวาร ทวารใดทวารหนึ่งไม่ใช่สัตว์ บุคคล ไม่มีต้ัวตน ได้หรือไม่

4. เป็นธรรมไม่ใช่เรามีในพระไตรปิฏกและอรรถกถาหรือไม่

ขออนุโมทนาครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
khampan.a
วันที่ 8 ก.พ. 2562

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

-ธรรมไม่ใช่เรา หมายความว่า ธรรม เป็นสิ่งที่มีจริงแต่ละหนึ่ง เช่น เห็น เป็น เห็น ได้ยิน เป็นได้ยิน โกรธ เป็นโกรธ ปัญญา เป็นปัญญา รูป เป็น รูป เป็นต้น เมื่อเป็นธรรม เป็นสิ่งที่มีจริงแต่ละหนึ่ง จึงไม่ใช่เรา ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตนหรือสิ่งหนึ่งสิ่งใด ไม่มีใครเป็นเจ้าของ และไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใครทั้งสิ้น

-ขณะที่สติปัฏฐานเกิด ระลึกรูลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏตามความเป็นจริงว่าเป็นธรรม ไม่ใช่เรา เป็นกิจหน้าที่ของธรรมฝ่ายดี คือ สติและปัญญา เป็นต้น

-ไม่ใช่อยู่ที่การกล่าว แต่อยู่ที่ความเข้าใจถูกเห็นถูกตรงตามความเป็นจริง เพราะธรรมเป็นจริงอย่างไร ก็เป็นจริงอย่างนั้น เปลี่ยนแปลงความจริงไม่ได้

-มีข้อความมากมายในพระไตรปิฎก ที่แสดงถึงความเป็นจริงของธรรมที่ไม่ใช่เรา เป็นอนัตตา ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใครทั้งสิ้น

[เล่มที่ 77] พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ ๑๗๒

อนึ่ง จักขุ นั้น ชื่อว่า เป็นอนัตตา ด้วยอรรถว่าไม่เป็นไปในอำนาจ. อีกอย่างหนึ่ง ความที่จักขุนั้นเป็นไปในอำนาจของใครๆ ในฐานะ ๓ เหล่านี้ คือ จักขุนี้เกิดขึ้นแล้ว ขอจงอย่าถึงการตั้งอยู่ ถึงการตั้งอยู่แล้ว จงอย่าแก่ ถึงการแก่แล้ว จงอย่าแตกดับ ดังนี้ หามีได้ไม่ เป็นของสูญ ไปจากอาการที่เป็นไปในอำนาจนั้น เพราะฉะนั้น จักขุ นั้น จึงชื่อว่า เป็นอนัตตา เพราะเหตุ ๔ เหล่านั้น คือ โดยความเป็นของสูญ ๑ โดยความไม่มีเจ้าของ ๑ โดยเป็นสิ่งที่ควรทำตามชอบใจไม่ได้ ๑ โดยปฏิเสธต่ออัตตา ๑

ขอเชิญศึกษาเพิ่มเติมได้ที่หัวข้อด้านล่างนี้ ครับ

ไม่ใช่เรา

...อนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
chatchai.k
วันที่ 4 ม.ค. 2564

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ